ผมได้ขออนุญาตคุณkoknamนำข้อมูลทั้งหมดของ
koknamblogger.blogspot.com
ที่ถูกลบไปแล้วนำออกมาเผยแผ่
ด้วยเห็นว่าคุณ koknam ไม่ได้แพ้เลยแม้แต่น้อย
ความมุ่งมั่น และความเพียร ของคุณ koknam
ที่มีต่อการปฏิบัตินั้นได้นำพา คุณ koknam ได้รุดหน้า
ในหนทาง แห่งความรู้สึกตัว
และได้เกี่ยวคล้องพวกเราให้มาพบกัน
ตราบที่เรายังก้าวเดินบนหนทางแห่งความรู้สึกตัว
และ เห็นว่าบทความของคุณ koknam มีคุณค่าไม่น้อย
จึงขอเก็บไว้เป็นรอยจารึก และเป็นประโยชน์สืบไป
By ผู้รับเดิมพัน
เมื่อมีแสงจะไม่มีเงา
มุมมองของธรรมะนั้น บางคนกล่าวว่าเป็นเรื่องของความจริงที่มิอาจปฏิเสธได้ เป็นเรื่องธรรมชาติธรรมดาๆนี่เอง หากแต่ว่าถ้าคำกล่าวเหล่านี้เป็นจริง ทำไมผู้คนจึงมิได้เข้าใจในสิ่งเดียวกัน แม้แต่บุคคลจำนวนมากที่หลงไหลคลั่งไคล้ธรรมะ ก็ยังเดินทางกระทบกระทั้งขัดแย้งกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ต่อคำถามนี้ หากได้ตัดเรื่องทิฐิมานะออกไปจะมีคำตอบเพียงหนึ่ง นั้นคือ ความจริงหรือสัจจะแห่งธรรมชาตินี้ มีระดับชั้นของมัน ผู้เข้าถึงในระดับตื้นมีจำนวนมาก ในขณะที่ผู้เข้าถึงในระดับลึกมีจำนวนน้อย ผู้ที่อยู่ในระดับตื้นจะไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้เข้าถึงในระดับลึกกล่าวออกมา และมองว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งผิดธรรมชาติ เกินธรรมชาติ แต่ในมุมมองของผู้ที่สัมผัสระดับลึก มันไม่ได้เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติอะไร มันเพียงหนือไปกว่าความเข้าใจของผู้ที่อยู่ในระดับตื้นเท่านั้น
ผิดปรกติ
ถ้าพวกคุณได้ศึกษาคำสอนของหลวงพ่อเทียน คุณจะพบว่า มีคำหนึ่งที่ฟังดูเรียบง่าย คำคำนั้นคือคำว่า ปรกติ หรือศีล คือ ความปรกติ หรือคำกล่าวว่า ศีลนั้นรักษาคนมิใช่ว่าคนรักษาศีล คำพูดพวกนี้เป็นคำพูดที่สื่อตัวสภาวธรรม มิใช่คำสอนที่สื่อถึงข้อวัติปฏิบัติ
เงิน ทอง
ผมตั้งใจไว้ว่าจะใช้เวลาของชีวิตปฏิบัติธรรมให้มากที่สุดโดยไม่ต้องพึ่งพาการบวช ผมตัดสินใจอย่างนั้นเหตุผลหลักมาจากคนใกล้ตัว ผมต้องการแสดงให้เห็นว่า มันไม่จำเป็นที่จะต้องใส่จีวร ท่องมนต์ บิณฑบาท ทำวัตร ผมปฏิเสธไม่ได้ว่าสำหรับคนที่มุ่งจะฝึกกันแบบจริงจัง การบวชจะช่วยตัดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายพื้นฐานเท่าที่คุณจะนึกออกไปหลายอย่าง แล้วยังมีคนกราบไหว้ล้อมหน้าหลังเป็นของแถม
The Grandmaster Key
...
คำสอนที่ผมได้ฟังเสมอคือ จิตใจ ความคิดของคนเราเป็นสิ่งที่ควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ จงยอมรับความจริงข้อนี้แล้วปล่อยวางซะ แต่สิ่งที่มันเกิดกับผม คือ ความสามารถบังคับจิตใจและความคิดของตนเองได้ ผมเข้าใจเทคนิคการทำงานของมัน เมื่อผมทำได้ในขณะที่คนเกือบทั้งโลกบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ผมควรจะมีชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวโพทะนาถึงความจริงข้อนี้ หรือผมควรใช้ชีวิตเงียบๆดื่มด่ำกับความสามารถที่น้อยคนเป็นกัน มีคนจำนวนน้อยที่เข้ามาถึงจุดนี้ คนพวกนี้จึงถูกมองว่า โคตรโม้ สอนอะไรบ้าบอเลอะเทอะ
คำสอนที่ผมได้ฟังเสมอคือ จิตใจ ความคิดของคนเราเป็นสิ่งที่ควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ จงยอมรับความจริงข้อนี้แล้วปล่อยวางซะ แต่สิ่งที่มันเกิดกับผม คือ ความสามารถบังคับจิตใจและความคิดของตนเองได้ ผมเข้าใจเทคนิคการทำงานของมัน เมื่อผมทำได้ในขณะที่คนเกือบทั้งโลกบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ผมควรจะมีชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวโพทะนาถึงความจริงข้อนี้ หรือผมควรใช้ชีวิตเงียบๆดื่มด่ำกับความสามารถที่น้อยคนเป็นกัน มีคนจำนวนน้อยที่เข้ามาถึงจุดนี้ คนพวกนี้จึงถูกมองว่า โคตรโม้ สอนอะไรบ้าบอเลอะเทอะ
เล็งเป้า
สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้อาจสร้างความงุนงงและกลายมาเป็นความไม่เห็นด้วยให้กับคนหลายคน คุณกำลังจะได้อ่านเรื่องที่ไม่เหมือนชาวบ้าน ความเชื่ออันมีมาก่อน การจะตัดสินว่าสิ่งที่คุณจะได้อ่านถูกหรือผิดเป็นสิ่งที่คุณต้องพิสูจน์เอาเอง ยุคสมัยนี้ไม่ใช่ยุคที่มีตถาคตคอยบอกชี้ทางถูกผิดเอาไว้ตัดสิน แต่มันมีหลากหลายอาจารย์มากเสียจนสับสนงุนงงไปหมด แต่ละคนก็พูดเป็นนัยๆว่าของชั้นถูก โดยส่วนตัวผมมองว่าการพึ่งพาตำรามิอาจทำได้โดยสนิทใจ เพราะแต่ละคนที่อ้างตำรา มักตีความเข้าข้างด้านตน ข้อความเดียวกันจึงสะท้อนออกมาตามความเห็นที่ไม่เหมือนกัน และความจริงที่ปฏิเสธแทบไม่ได้เลยคือ คนเรามักจะเชื่อถืออะไรก็ตามที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราได้ร่ำเรียนมา
หัวใจโพธิสัตว์
ธรรมชาติอย่างหนึ่งของ ธรรม คือพูดออกมาด้วยภาษาไม่ได้ หลายคนคงเข้าใจความจริงเรื่องนี้เป็นอย่างดี เมื่อผมได้ฟังเรื่องเล่าต่างๆจากตำราหรือผู้คน ผมจึงเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้แปลเรื่องราวเหล่านั้นออกมาตรงๆตามเนื้อเรื่อง ผมได้ฟังมาว่า ถาดที่สิทธัทถะอธิฐานได้ลอยทวนกระแสน้ำ หรือพระองค์ไม่มีสภาพแก่ลงเลยหลังจากตรัสรู้ ผมรับรู้เรื่องราวแบบนี้ในลักษณะของการเปรียบเทียบ เนื่องจากสภาวะอันเป็นที่สุดนั้นกล่าวออกมาไม่ได้ เมื่อพูดไม่ได้การสอนตรงๆจึงเป็นเรื่องที่ลำบากมาก
การทวนกระแสน้ำของถาดหมายถึง การสวนกระแสของโทสะโมหะโลภะ ของอารมณ์ ของความคิด สิ่งที่ทวนกระแสนั้นมีแค่เพียงถาดแต่สายน้ำนั้นยังไหลตามวิถีของมัน และสิ่งที่เรียกว่าถาดคือ ความรู้สึกตัว สิ่งนี้นั้นโดยธรรมชาติของมันแล้วไม่แปรเปลี่ยนตามสิ่งใด เมื่อรู้สึกตัวเป็นจริงๆ การทวนกระแสของน้ำจะเกิดขึ้นเอง
เมื่อความรู้สึกตัวพัฒนามาได้ถึงระดับที่ไม่ไหลตาม โทสะโมหะโลภะ สิ่งนั้นเรียกว่า ศีล
เมื่อความรู้สึกตัวพัฒนามาถึงจุดที่ไม่ไหลตาม อารมณ์ สิ่งนั้นเรียกว่า สมาธิ
และเมื่อความรู้สึกตัวพัฒนามาถึงจุดที่ไม่ไหลตาม ความคิด สิ่งนั้นเรียกว่า ปัญญา
แต่โดยปรมัตถ์หาได้มีคำพูดบอกตัวเองอย่างนี้ไม่ มันเป็นเพียงความรู้สึกตัว ที่มีแต่ผู้ที่เข้าถึงมันเท่านั้นตระหนักได้ว่า ระดับความรู้สึกตัวในชั้นของศีลต่างจากระดับความรู้สึกตัวในชั้นสมาธิอย่างไร
ตัวผมเองพัฒนามาได้แค่ระดับสมาธิ จึงขอแบ่งปันเรื่องราวในส่วนของการไม่ไหลไปตามอารมณ์ ช่วงที่ผมฝึกอย่างเข้มข้นวันละประมาณสิบชั่วโมง ผมกินอาหารน้อยมากเพราะมันเสียเวลาฝึก ผมได้ยินบางคนสอนคนอื่นว่า อย่าไปคร่ำเคร่งเกินไป เราต้องฝึกด้วยการรู้สึกตัวอยู่กับการกับงานต่างหากถึงจะเป็นการฝึกที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาแต่นั่งกับเดิน ผมไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก (หลายคนอาจจะคิดว่าเอาอีกแล้วหมอนี่ไม่เห็นด้วยกับอะไรซักอย่าง)
ตอนที่ผมร่อนอยู่เมืองนอก ผมก็ฝึกอย่างจริงจังด้วยการรู้สึกตัวกับการกับงานเกือบจะทั้งวันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นล้างจาน ส่งหนังสือพิมพ์ ไปเรียนฟังเลกเชอร์ ขี่จักรยาน ความจริงที่ผมได้พบก็คือ การฝึกอย่างนั้นทำได้แค่รักษาระดับความรู้สึกตัวให้อยู่คงที่หรือพัฒนาไปแบบช้าๆ แต่ไม่สามารถพัฒนาความรู้สึกตัวแบบก้าวกระโดดได้ และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ผมยอมลาออกจากมหาวิทยาลัย ผมสังเกตหลายครั้งแล้วโดยเฉพาะช่วงที่ผมดร็อปเรียน ว่าความรู้สึกตัวที่เกิดขึ้นชนิดที่สามารถเปลี่ยนจิตใจสลัดสภาวะเดิมออกได้ ล้วนมาจากช่วงการฝึกเข้ารูปแบบนั่งสร้างจังหวะเดินจงกรมชนิดที่ติดกันเป็นวันวันเป็นอาทิตย์ทั้งสิ้น คำว่าฝึกอย่างต่อเนื่องตามความเข้าใจของผมไม่ได้วัดเป็นวัน อย่างที่ฝึกวันละชั่วโมงสองชั่วโมงทุกวัน แต่มันวัดกันทุกขณะเวลานาที
การฝึกแบบนอกรูปแบบที่สอดคล้องกับการงานนั้นเกิดปัญญาเหมือนกันแต่มันไม่ใช่ระดับความเข้าใจที่จะสามารถสลัดความรู้เก่าออกได้ ถ้าคุณเป็นคนนึงที่เน้นฝึกนอกรูปแบบมากกว่า ขอให้ลองสังเกตสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้นะครับว่าคุณเป็นอย่างนี้จริงหรือไม่
คุณจะค่อยๆรู้อะไรทีละนิดทีละหน่อยสะสมไปเรื่อยๆ แล้ววันนึงเมื่อคุณมานั่งประมวลดูจะพบว่า ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝนของคุณ มันลงตัวสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกันอย่างอัศจรรย์ใจไม่น่าเชื่อ คุณมั่นใจในความรู้ที่คุณมี หาข้อโต้แย้งหักล้างไม่ได้เลย ไม่ว่าอะไรก็มีคำตอบให้กับเรื่องชีวิตและการปฏิบัติธรรมเกือบทั้งหมด เข้าใจไปจนถึงกับมองออกว่าอะไรคือ พุทธศาสนากันแน่ (ผมเคยเป็นมาก่อนผมทราบจุดอ่อนของมันดี)
แต่สำหรับปัญญาที่เกิดจากการฝึกต่อเนื่องติดๆกันชนิดอัดจนกว่าจะสลบที่ผมเรียกว่าเข้ารูปแบบนั้น มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ปัญญาญาณ เมื่อความรู้ชนิดนี้เกิดขึ้น จิตใจคุณจะเปลี่ยนสภาพแบบทันที อะไรคือสาเหตุของการเปลี่ยนสภาพแบบฉับพลันนั้น นั่นคือ มันจะทำลายความรู้เดิมที่สะสมมาอย่างยากลำบากของคุณจนหมดสิ้น มันจะรู้ขึ้นมาแบบไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ว่าอะไรคือสิ่งที่เราเคยโง่ หรือเราเคยเข้าใจผิดอะไรบางอย่างอยู่ วิธีคิดอ่านของคุณจะเปลี่ยนไปทันที และจุดแรกของการเกิดปัญญาญาณคือ จุดที่เข้าใจเรื่อง ศีลปรมัตถ์
แต่บทความนี้ผมจะไม่กล่าวเรื่องศีลปรมัตถ์แล้ว ผมจะกล่าวเรื่องสมาธิที่เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง คำว่ากิเลสอย่างกลางตามที่ผมเข้าใจคือ อารมณ์ทุกประเภทของมนุษย์
อารมณ์ที่เป็นปัญหาคาราคาซังคือ ความง่วง ถ้าผ่านตัวนี้ไม่ได้การปฏิบัติจะชะงักทันที ผมได้ทราบว่า มันก่อให้เกิดปัญหาที่ขวางการปฏิบัติกับผู้อื่นอีกหลายคนเหมือนกัน สำหรับคนที่เน้นฝึกอยู่กับการกับงานคุณจะไม่ค่อยเจอปัญหาเรื่องความง่วงมากนัก แต่สำหรับคนประเภทที่ฝึกชนิดอัดจนกว่าหมดแรงจะเจออย่างแน่นอนและเจอแบบหนักด้วย (ง่วงอันนี้เป็นง่วงเพราะอารมณ์กรรมฐานไม่ใช่ง่วงตามธรรมชาติที่ร่างกายต้องการพักผ่อนนะครับ)
ผมจะสรุปวิธีที่ใช้ผ่านความง่วงจากประสบการณ์ ผมไม่สามารถบอกได้ว่านี่คือการแก้ที่ถูกต้องที่สุดสำหรับทุกคน เพียงผมผ่านมาได้ด้วยการทำอย่างนี้
ลำดับการผ่านอาการง่วง
หนึ่ง ง่วงก่อนระยะการเข้าใจรูปนาม
ให้ทำช้าๆ หรือช้ามากๆ จับความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ชัดมากๆ ทำจังหวะต้องตั้งใจทำ ความเร็วต้องสม่ำเสมอ
สอง ง่วงก่อนระยะการเข้าใจศีลปรมัตถ์
ให้อยู่กับความรู้สึกของกายล้วนๆเพียงอย่างเดียว ให้จับความรู้สึกตัวที่ตื่นขึ้นของกายให้ชัดเจน
สาม ง่วงก่อนระยะที่ความรู้สึกตัวจะหลุดจากการครอบงำของขันธ์ห้า
ให้เคลื่อนไหวช้าๆเบาๆรับรู้ความรู้สึกตัวเบาๆ เหมือนใบไผ่ต้องลม
สี่ ง่วงหลังจากเข้าใจต้นกำเนิดของความคิด
ให้ความรู้สึกตัวชัดกว่าความง่วง ต้องปล่อยให้ง่วงแต่ความรู้สึกตัวต้องชัดกว่า (ช่วงนี้ยากที่สุด)
ห้า เป็นระยะการเข้าใจกระบวนการการทำงานการก่อกำเนิดของความง่วง
อธิบายด้านล่างครับ
หก ซัดกับความง่วงยกสุดท้าย
เดิมพันชนิดไม่ชนะไม่เลิก
เจ็ด สมาธิเกิดขึ้นแล้ว
เอาชนะความง่วงได้อย่างเด็ดขาด
การแก้ที่ผมบอกนี้มิใช่ว่าคุณเอาไปใช้แล้วจะหายง่วงทันที มันเป็นเพียงตัวแก้ทางกัน ผมรับรองได้ว่ามันจะช่วยคุณบรรเทาอาการง่วงลงได้ เพื่อให้คุณฝืนฝึกต่อไปได้โดยไม่แพ้ความง่วง และคุณห้ามนอนอย่างเด็ดขาด ห้ามเอนหลัง ห้ามออเซอะ เวลาง่วงสมองจะเริ่มหาเหตุผลคิดเข้าข้างตัวเองอย่าไปฟังความคิด
เมื่อ สมาธิ เกิดขึ้นแล้ว ความง่วงจะไม่เกิดในขณะฝึกอีกต่อไป สมาธินั้นสามารถเอาชนะอารมณ์ต่างๆได้ก็จริง แต่ยังแพ้ทางความคิด นั่นหมายถึงยังแพ้การเข้าไปในความคิด ยังมีการเผลอถึงจะสั้นมากๆ เมื่อก่อนนั้นความคิดมันมีพรรคพวกมาก มันยำเราได้พราะพวกมันมากกว่า บางที่ก็ส่งอารมณ์มาร่วม บางทีส่งอดีตมา บางทีส่งอนาคตมา บางทีส่งเวทนามาล้อมหน้าล้อมหลัง เข้าไม่ถึงตัวบอสมันซักที พอมาถึงจุดนี้เหมือนกับการล้างไพ่ใหม่ จะมีสองตัวดวลกันตัวต่อตัวๆแล้วคือ ความรู้สึกตัวและความคิด จะไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวอีก (หมายถึงอารมณ์ยังเกิด แต่ดับลงทันที เพราะกำลังของสมาธิที่แน่วแน่มั่นคงในความรู้สึกตัวมันแข็งกว่า)
ต่อไปคือ กระบวนการของความง่วง ซึ่งจะทำให้คนที่มอง พุทธศาสนาในลักษณะการอธิบายด้วยเหตุผลล้วนๆ สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ
คนเรามีความคิดอยู่สองประเภทคือ คิดเป็นภาพและคิดเป็นเสียง
เมื่อคุณคิดเป็นเสียงชนิดที่ควบคุมไม่ได้คุณจะไม่มีวันง่วงเพราะมันจะฟุ้งซ่าน
แต่เมื่อเวลาคุณคิดเป็นภาพในขณะที่ความคิดเริ่มเนือยเชื่องช้า (เพราะความรู้สึกตัวในขณะที่ฝึกมันไปตัดกระแสของความคิด) คุณจะวูบหลับ และความคิดลักษณะเป็นภาพที่ทำให้ง่วง คือความคิดที่ไม่เกิดอารมณ์ คือความคิดที่โผล่ขึ้นมาเป็นภาพเฉยๆไม่มีอารมณ์ร่วม มันจะเกิดวูบเดียวเร็วๆ (พอสมองเริ่มมึนเพราะความง่วงมันจะจับความร็วตรงนี้ไม่ทัน)
อันนี้ต้องลงเวิร์คชอปกันหน่อย คุณลองคิดอะไรเป็นภาพถึงเรื่องที่คุณสะทือนใจเช่น ขับรถชนคน แฟนอยู่บนเตียงกับคนอื่น เจอแมลงสาปในชามก๋วยเตี๋ยว ความคิดเป็นภาพพวกนี้ไม่ทำให้ง่วงเพราะมันมีอารมณ์ร่วมวงด้วย ความคิดเป็นภาพที่จะทำให้คุณตาปรือ สมองเริ่มมึนคือ การคิดเป็นภาพที่ไม่มีอารมณ์และโผล่มาเป็นวูบๆถี่ๆ
และนี่คือเหตุผลที่ทำไมคนฟุ้งซ่านไม่สามารถนอนหลับลงได้ ทำไมเวลาที่เราฝันเรามักฝันเป็นภาพ และทำไมเมื่อเวลาที่เราหลับลงแล้วทำไมเราถึงไม่ง่วงขณะฝัน เพราะการฝันคือการเข้าไปในความคิดแบบสมบรูณ์ เมื่อความคิดทำงานเต็มที่มันจะไม่ง่วงอีก พอเราตื่นมันสลึมสลือเพราะความคิดมันทำงานยังไม่เต็มที่ มันพึ่งเริ่มสตาร์ทเครื่องใหม่
เพราะฉะนั้นวิธีที่โง่ที่สุดแต่ได้ผลในการแก้ปัญหาการง่วงคือ เมื่อคุณรู้ว่าจะแพ้ความง่วงแล้ว ให้คุณคิดครับ คิดอะไรก็ได้ จะด่าว่าตัวเอง บ่น ด่าทอใครในใจก็ได้ให้เกิดอารมณ์ แต่ให้ใช้เมื่อคุณจวนตัวเท่านั้น เพราะวิธีนี้ไม่ใช่การไปพ้นจากความคิด เพียงแต่อาศัยกลไกของความคิดแก้ทางกันเท่านั้น
ผมเคยคิดว่าผมผ่านตัวง่วงได้แล้วในแต่ละขั้นของระดับจิตใจที่เปลี่ยน แต่ความง่วงมันก็กลับมาได้อีกทุกครั้ง เมื่อผมเข้าใจกระบวนการของมันผมจึงดีใจมาก แต่ดีใจได้ไม่เกินชั่วโมง ผมก็ตระหนักว่า ผมรู้กระบวนการมันก็จริงแต่จะแก้ยังไงล่ะ เพราะความคิดส่วนใหญ่ของผมเป็นภาพเกือบทั้งนั้น ผมเรียนมาทางดีไซน์เวลาผมคิด ผมจึงมักคิดเป็นภาพ
ผมก็มุ่งหน้าฝึกต่อไป อย่างน้อยก็เข้าใจกลไกของมันแล้ว มันก็ง่วงอีกแล้วครับ แต่อยู่ดีดีความรู้สึกตัวมันลงล็อค มันจับอยู่ที่ความรู้สึกตัวอย่างเดียว ความง่วงอารมณ์ต่างๆประดังกันเข้ามา แต่สติมันชัดเจนอยู่กับความรู้สึกตัวมากกว่า มันไม่สนอารมณ์อีกเลย มันจะเอาแต่ความรู้สึกตัวอย่างเดียวมันมั่นคง แต่อารมณ์ยังเกิดและดับอยู่นะครับเพียงแต่อารมณ์ไม่มีการตั้งอยู่ และผมก็เข้าใจเรื่องสมาธิ ตั้งแต่นั้นมาไม่มีอาการง่วงอีกเลย จะฝึกหนักต่อเนื่องยาวนานแค่ไหนก็ไม่ง่วง ยกเว้นตอนจะนอน คราวนี้รู้ตัวเองจริงๆว่า ผ่านตัวนี้แล้ว เพราะไม่มีการดีใจในการหลุดเกิดขึ้นเหมือนช่วงก่อนๆ
วันต่อมาผมกำลังฟิตข้าวปลาไม่ต้องกิน ชั้นจะฝึกอย่างเดียว สภาวะความเข้าใจในสมาธิแบบเมื่อวานไม่เกิดอีก จิตใจมันก็ดิ้นรนครับ มันจะพยายามทำให้เป็นแบบเมื่อวานเพราะมันกลัวจะง่วงอีก ผมงุ้นง่านกับการหาทางให้กลับไปเป็นอย่างเมื่อวานอยู่ครึ่งวัน จนในที่สุดเข้าใจว่าตัวเองติดอารมณ์ความพอใจไม่พอใจในอารมณ์ตัวนี้อยู่ พอเข้าใจปุ๊บมันหลุดออกไปเลย เรื่องอารมณ์มันซับซ้อนถ้าอ่านไม่ขาดจริงๆ มันจะติดตัวใดตัวหนึ่งอยู่สมอ
พอมันหลุดความง่วงและความพอใจไม่พอใจไปสองตัวนี้ จะฝึกกี่ทีมันมีสมาธิอยู่ที่ความรู้สึกตัวตลอด จริงๆแล้วความง่วงคือป้ายบอกทางนั่นเอง คนที่ฝึกแล้วง่วงนั้นคือ คุณมาถูกทางแล้วนะครับเพราะมันไม่เข้าไปในความคิด เพียงแต่มันไปติดอยู่ที่ป้าย ต้องชนมันให้กระเด็นเท่านั้นเอง ต้องเข้าใจเส้นทางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องใช้ป้ายอีก
เรื่องตลกอย่างหนึ่งที่ผมเข้าใจในขณะที่กำลังหาทางเอาชนะเรื่องของอารมณ์คือ สภาวะจิต ระลึกชาติ ภพภูมิ ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ผมจะมาเข้าใจของพวกนี้ แต่ผมไม่ได้อ่านจิตได้เหมือนหลวงพ่อดังๆ ผมไม่ได้ระลึกว่าชาติก่อนตัวเองเกิดเป็นอะไร ผมไม่ได้เหาะลงดิน ปีนขึ้นสวรรค์มานะครับ
ตอนที่ผมฝึกมันเห็นสภาวะจิตตัวเองชัดๆเลยว่า สิ่งที่เรากำลังตั้งหน้าตังตาฝึกอยู่นี่ มันเป็นการยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น มันเปลี่ยนพัฒนากันได้จริงๆ เรากำลังเล่นอยู่กับจิตใจตัวเองให้มันไปได้ไกลที่สุด
ผมเดินผ่านหมาครับ มันนอนอยู่ที่ถนน ผมก็เลยรู้ขึ้นมาว่า จิตใจผมตอนง่วงนี่ก็เป็นแบบเดียวกันกับหมาตอนง่วงนี่เอง จิตใจมันเวลาที่มันจะขึ้นตัวเมียก็เป็นแบบเดียวกับจิตใจผมที่พยายามจะลากผู้หญิงขึ้นเตียงให้ได้ เวลาผมเดินผ่านร้านไก่ย่างแล้วอยากกินผมก็เลยรู้ว่า จิตใจของเปรตเป็นอย่างนี้เอง ผมเห็นคนขี้เกียจฝึกไม่เอาถ่านแล้วอยากเข้าไปตบกะโหลกมันเป็นจิตใจของคนพาล เวลาที่ผมจะเอาชนะอะไรด้วยกำลังมันเป็นจิตใจของสัตว์เดรัจฉาน เวลาผมเนรคุณใครผมกลายเป็นสัตว์นรกเพราะจิตใจผมมันกระด้างไม่รู้คุณคน เมื่อผมขี้เกียจฝึกผมก็เลยเห็นหน้าตาของมารว่ามารมีจิตใจแบบนี้ และเมื่อผมด่าว่าใครด้วยอารมณ์ขาดสติผมกำลังถูกผีสิงอยู่
พอผมเข้าใจแบบนี้ เวลาที่ผมเดินตามท้องถนนแล้วเห็นผู้คน ผมจึงรู้ว่าเค้ากำลังมีสภาพจิตใจแบบไหน เพราะเมื่อผมทำแบบเค้าผมก็มีสภาพจิตใจแบบเดียวกัน เมื่อผมไปร้านอาหารที่มีคนรอต่อคิวยาวๆผมไม่ได้มองว่าร้านนี้อร่อย สิ่งที่ผมเห็นคือ หน้าตาสวยหล่อแต่งตัวดีแต่สภาวะจิตของเปรตเต็มไปหมด และสิ่งที่น่าขนลุกที่สุดตัวผมเองเคยเกิดเป็นเปรตเพราะผมรอคิวเข้าไปกินอาหารแบบตักกินไม่ยั้งเหมือนกัน หน้าตามือท้าเป็นคนแต่จิตใจเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยไป
ตอนที่ผมหาวิธีเอาชนะความง่วง ผมดูจิตใจตัวเองก็เลยได้รู้ว่าจิตใจโพธิสัตว์เป็นแบบนี้ เป็นจิตใจของคนที่ไม่ยอมแพ้ ไม่ล้มเลิกต่อความตั้งใจไม่ว่าจะเจออุปสรรคอะไร ความต้องการระดับนี้ไม่ใช่ความโลภแล้ว คนที่ยอมตายเพื่อทำอะไรสักอย่างไม่ใช่จิตใจของคนโลภแต่เป็นความเด็ดเดี่ยว ผมจึงเข้าใจว่าทำไมสิทถัธถะทิ้งครอบครัวเพื่อออกหาบางสิ่งบางอย่าง มันไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวแต่มันเป็นพลังผลักดันในสิ่งที่สงสัยและต้องหาคำตอบชนิดที่ถ้าไม่พบจะไม่ยอมตายเด็ดขาด คนที่ไม่มีพลังชนิดนี้ในตัวคงไม่เข้าใจถึงการกระทำของคนประเภทนี้ ผมจึงได้เข้าใจว่าใครใครก็เป็นโพธิสัตว์ได้นี่ ขอให้มีจิตใจเด็ดเดี่ยวในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองรวมถึงคนอื่นและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคทั้งหมดที่เกิดไม่ว่าจะกี่ครั้งก็จะยังมุ่งหน้าทำต่อไป คนคนนั้นจะมีหัวใจของโพธิสัตว์ตามความเข้าใจของผม เพียงแต่โพธิสัตว์นั้นแพ้ทางความไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแทงตลอดเท่านั้นเอง
ถ้าอย่างนั้นแล้วจิตใจของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร มันก็เป็นจิตใจที่ไม่มีจิตใจใดใดนั่นเอง เป็นจิตที่ว่างจากจิตใจทุกรูปแบบ เพราะมันเป็นจ้าวแห่งจิตทั้งปวง ผมเดาเอาเองว่ามันคงจะลงไปในรูปแบบนั้น
สวรรค์นรกภพภูมิ เกิดตรงมันไม่รู้สึกตัวนี่นา และศัพท์สวยหรูที่ตั้งชื่อให้มันคือ อวิชา ไม่รู้สึกตัวเองอยู่เสมอมันถึงไปเกิดเป็นตัวนั่นตัวนี่ ระยะวลาการเกิดก็อยู่ตรงที่กลับมารู้สึกตัวได้เร็วแค่ไหน
ในเวลาที่คุณฝึกแล้วเกิดปัญหาที่คุณรู้สึกว่ามันช่างยากเหลือเกิน ไม่มีคนให้ถามหรือถึงมีคำตอบก็ไม่ข้าใจ ท้อแท้ไม่ไหวแล้ว สิ่งสุดท้ายที่จะช่วยคุณได้คือ กำลังใจของตัวคุณเองเท่านั้น ต่อให้คุณไม่รู้ทางไปแต่อย่าหยุดฝึก จงกัดปัญหาอย่าปล่อยจนกว่าคุณจะรู้วิธีผ่าน แล้วบางสิ่งที่เรียกว่าเด็ดเดี่ยวจะสะท้อนออกมาในแววตาของคุณ
ขอให้มีจิตของโพธิสัตว์สถิตอยู่ในหัวใจครับ
การทวนกระแสน้ำของถาดหมายถึง การสวนกระแสของโทสะโมหะโลภะ ของอารมณ์ ของความคิด สิ่งที่ทวนกระแสนั้นมีแค่เพียงถาดแต่สายน้ำนั้นยังไหลตามวิถีของมัน และสิ่งที่เรียกว่าถาดคือ ความรู้สึกตัว สิ่งนี้นั้นโดยธรรมชาติของมันแล้วไม่แปรเปลี่ยนตามสิ่งใด เมื่อรู้สึกตัวเป็นจริงๆ การทวนกระแสของน้ำจะเกิดขึ้นเอง
เมื่อความรู้สึกตัวพัฒนามาได้ถึงระดับที่ไม่ไหลตาม โทสะโมหะโลภะ สิ่งนั้นเรียกว่า ศีล
เมื่อความรู้สึกตัวพัฒนามาถึงจุดที่ไม่ไหลตาม อารมณ์ สิ่งนั้นเรียกว่า สมาธิ
และเมื่อความรู้สึกตัวพัฒนามาถึงจุดที่ไม่ไหลตาม ความคิด สิ่งนั้นเรียกว่า ปัญญา
แต่โดยปรมัตถ์หาได้มีคำพูดบอกตัวเองอย่างนี้ไม่ มันเป็นเพียงความรู้สึกตัว ที่มีแต่ผู้ที่เข้าถึงมันเท่านั้นตระหนักได้ว่า ระดับความรู้สึกตัวในชั้นของศีลต่างจากระดับความรู้สึกตัวในชั้นสมาธิอย่างไร
ตัวผมเองพัฒนามาได้แค่ระดับสมาธิ จึงขอแบ่งปันเรื่องราวในส่วนของการไม่ไหลไปตามอารมณ์ ช่วงที่ผมฝึกอย่างเข้มข้นวันละประมาณสิบชั่วโมง ผมกินอาหารน้อยมากเพราะมันเสียเวลาฝึก ผมได้ยินบางคนสอนคนอื่นว่า อย่าไปคร่ำเคร่งเกินไป เราต้องฝึกด้วยการรู้สึกตัวอยู่กับการกับงานต่างหากถึงจะเป็นการฝึกที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาแต่นั่งกับเดิน ผมไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก (หลายคนอาจจะคิดว่าเอาอีกแล้วหมอนี่ไม่เห็นด้วยกับอะไรซักอย่าง)
ตอนที่ผมร่อนอยู่เมืองนอก ผมก็ฝึกอย่างจริงจังด้วยการรู้สึกตัวกับการกับงานเกือบจะทั้งวันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นล้างจาน ส่งหนังสือพิมพ์ ไปเรียนฟังเลกเชอร์ ขี่จักรยาน ความจริงที่ผมได้พบก็คือ การฝึกอย่างนั้นทำได้แค่รักษาระดับความรู้สึกตัวให้อยู่คงที่หรือพัฒนาไปแบบช้าๆ แต่ไม่สามารถพัฒนาความรู้สึกตัวแบบก้าวกระโดดได้ และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ผมยอมลาออกจากมหาวิทยาลัย ผมสังเกตหลายครั้งแล้วโดยเฉพาะช่วงที่ผมดร็อปเรียน ว่าความรู้สึกตัวที่เกิดขึ้นชนิดที่สามารถเปลี่ยนจิตใจสลัดสภาวะเดิมออกได้ ล้วนมาจากช่วงการฝึกเข้ารูปแบบนั่งสร้างจังหวะเดินจงกรมชนิดที่ติดกันเป็นวันวันเป็นอาทิตย์ทั้งสิ้น คำว่าฝึกอย่างต่อเนื่องตามความเข้าใจของผมไม่ได้วัดเป็นวัน อย่างที่ฝึกวันละชั่วโมงสองชั่วโมงทุกวัน แต่มันวัดกันทุกขณะเวลานาที
การฝึกแบบนอกรูปแบบที่สอดคล้องกับการงานนั้นเกิดปัญญาเหมือนกันแต่มันไม่ใช่ระดับความเข้าใจที่จะสามารถสลัดความรู้เก่าออกได้ ถ้าคุณเป็นคนนึงที่เน้นฝึกนอกรูปแบบมากกว่า ขอให้ลองสังเกตสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้นะครับว่าคุณเป็นอย่างนี้จริงหรือไม่
คุณจะค่อยๆรู้อะไรทีละนิดทีละหน่อยสะสมไปเรื่อยๆ แล้ววันนึงเมื่อคุณมานั่งประมวลดูจะพบว่า ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝนของคุณ มันลงตัวสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกันอย่างอัศจรรย์ใจไม่น่าเชื่อ คุณมั่นใจในความรู้ที่คุณมี หาข้อโต้แย้งหักล้างไม่ได้เลย ไม่ว่าอะไรก็มีคำตอบให้กับเรื่องชีวิตและการปฏิบัติธรรมเกือบทั้งหมด เข้าใจไปจนถึงกับมองออกว่าอะไรคือ พุทธศาสนากันแน่ (ผมเคยเป็นมาก่อนผมทราบจุดอ่อนของมันดี)
แต่สำหรับปัญญาที่เกิดจากการฝึกต่อเนื่องติดๆกันชนิดอัดจนกว่าจะสลบที่ผมเรียกว่าเข้ารูปแบบนั้น มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ปัญญาญาณ เมื่อความรู้ชนิดนี้เกิดขึ้น จิตใจคุณจะเปลี่ยนสภาพแบบทันที อะไรคือสาเหตุของการเปลี่ยนสภาพแบบฉับพลันนั้น นั่นคือ มันจะทำลายความรู้เดิมที่สะสมมาอย่างยากลำบากของคุณจนหมดสิ้น มันจะรู้ขึ้นมาแบบไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ว่าอะไรคือสิ่งที่เราเคยโง่ หรือเราเคยเข้าใจผิดอะไรบางอย่างอยู่ วิธีคิดอ่านของคุณจะเปลี่ยนไปทันที และจุดแรกของการเกิดปัญญาญาณคือ จุดที่เข้าใจเรื่อง ศีลปรมัตถ์
แต่บทความนี้ผมจะไม่กล่าวเรื่องศีลปรมัตถ์แล้ว ผมจะกล่าวเรื่องสมาธิที่เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง คำว่ากิเลสอย่างกลางตามที่ผมเข้าใจคือ อารมณ์ทุกประเภทของมนุษย์
อารมณ์ที่เป็นปัญหาคาราคาซังคือ ความง่วง ถ้าผ่านตัวนี้ไม่ได้การปฏิบัติจะชะงักทันที ผมได้ทราบว่า มันก่อให้เกิดปัญหาที่ขวางการปฏิบัติกับผู้อื่นอีกหลายคนเหมือนกัน สำหรับคนที่เน้นฝึกอยู่กับการกับงานคุณจะไม่ค่อยเจอปัญหาเรื่องความง่วงมากนัก แต่สำหรับคนประเภทที่ฝึกชนิดอัดจนกว่าหมดแรงจะเจออย่างแน่นอนและเจอแบบหนักด้วย (ง่วงอันนี้เป็นง่วงเพราะอารมณ์กรรมฐานไม่ใช่ง่วงตามธรรมชาติที่ร่างกายต้องการพักผ่อนนะครับ)
ผมจะสรุปวิธีที่ใช้ผ่านความง่วงจากประสบการณ์ ผมไม่สามารถบอกได้ว่านี่คือการแก้ที่ถูกต้องที่สุดสำหรับทุกคน เพียงผมผ่านมาได้ด้วยการทำอย่างนี้
ลำดับการผ่านอาการง่วง
หนึ่ง ง่วงก่อนระยะการเข้าใจรูปนาม
ให้ทำช้าๆ หรือช้ามากๆ จับความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ชัดมากๆ ทำจังหวะต้องตั้งใจทำ ความเร็วต้องสม่ำเสมอ
สอง ง่วงก่อนระยะการเข้าใจศีลปรมัตถ์
ให้อยู่กับความรู้สึกของกายล้วนๆเพียงอย่างเดียว ให้จับความรู้สึกตัวที่ตื่นขึ้นของกายให้ชัดเจน
สาม ง่วงก่อนระยะที่ความรู้สึกตัวจะหลุดจากการครอบงำของขันธ์ห้า
ให้เคลื่อนไหวช้าๆเบาๆรับรู้ความรู้สึกตัวเบาๆ เหมือนใบไผ่ต้องลม
สี่ ง่วงหลังจากเข้าใจต้นกำเนิดของความคิด
ให้ความรู้สึกตัวชัดกว่าความง่วง ต้องปล่อยให้ง่วงแต่ความรู้สึกตัวต้องชัดกว่า (ช่วงนี้ยากที่สุด)
ห้า เป็นระยะการเข้าใจกระบวนการการทำงานการก่อกำเนิดของความง่วง
อธิบายด้านล่างครับ
หก ซัดกับความง่วงยกสุดท้าย
เดิมพันชนิดไม่ชนะไม่เลิก
เจ็ด สมาธิเกิดขึ้นแล้ว
เอาชนะความง่วงได้อย่างเด็ดขาด
การแก้ที่ผมบอกนี้มิใช่ว่าคุณเอาไปใช้แล้วจะหายง่วงทันที มันเป็นเพียงตัวแก้ทางกัน ผมรับรองได้ว่ามันจะช่วยคุณบรรเทาอาการง่วงลงได้ เพื่อให้คุณฝืนฝึกต่อไปได้โดยไม่แพ้ความง่วง และคุณห้ามนอนอย่างเด็ดขาด ห้ามเอนหลัง ห้ามออเซอะ เวลาง่วงสมองจะเริ่มหาเหตุผลคิดเข้าข้างตัวเองอย่าไปฟังความคิด
เมื่อ สมาธิ เกิดขึ้นแล้ว ความง่วงจะไม่เกิดในขณะฝึกอีกต่อไป สมาธินั้นสามารถเอาชนะอารมณ์ต่างๆได้ก็จริง แต่ยังแพ้ทางความคิด นั่นหมายถึงยังแพ้การเข้าไปในความคิด ยังมีการเผลอถึงจะสั้นมากๆ เมื่อก่อนนั้นความคิดมันมีพรรคพวกมาก มันยำเราได้พราะพวกมันมากกว่า บางที่ก็ส่งอารมณ์มาร่วม บางทีส่งอดีตมา บางทีส่งอนาคตมา บางทีส่งเวทนามาล้อมหน้าล้อมหลัง เข้าไม่ถึงตัวบอสมันซักที พอมาถึงจุดนี้เหมือนกับการล้างไพ่ใหม่ จะมีสองตัวดวลกันตัวต่อตัวๆแล้วคือ ความรู้สึกตัวและความคิด จะไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวอีก (หมายถึงอารมณ์ยังเกิด แต่ดับลงทันที เพราะกำลังของสมาธิที่แน่วแน่มั่นคงในความรู้สึกตัวมันแข็งกว่า)
ต่อไปคือ กระบวนการของความง่วง ซึ่งจะทำให้คนที่มอง พุทธศาสนาในลักษณะการอธิบายด้วยเหตุผลล้วนๆ สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ
คนเรามีความคิดอยู่สองประเภทคือ คิดเป็นภาพและคิดเป็นเสียง
เมื่อคุณคิดเป็นเสียงชนิดที่ควบคุมไม่ได้คุณจะไม่มีวันง่วงเพราะมันจะฟุ้งซ่าน
แต่เมื่อเวลาคุณคิดเป็นภาพในขณะที่ความคิดเริ่มเนือยเชื่องช้า (เพราะความรู้สึกตัวในขณะที่ฝึกมันไปตัดกระแสของความคิด) คุณจะวูบหลับ และความคิดลักษณะเป็นภาพที่ทำให้ง่วง คือความคิดที่ไม่เกิดอารมณ์ คือความคิดที่โผล่ขึ้นมาเป็นภาพเฉยๆไม่มีอารมณ์ร่วม มันจะเกิดวูบเดียวเร็วๆ (พอสมองเริ่มมึนเพราะความง่วงมันจะจับความร็วตรงนี้ไม่ทัน)
อันนี้ต้องลงเวิร์คชอปกันหน่อย คุณลองคิดอะไรเป็นภาพถึงเรื่องที่คุณสะทือนใจเช่น ขับรถชนคน แฟนอยู่บนเตียงกับคนอื่น เจอแมลงสาปในชามก๋วยเตี๋ยว ความคิดเป็นภาพพวกนี้ไม่ทำให้ง่วงเพราะมันมีอารมณ์ร่วมวงด้วย ความคิดเป็นภาพที่จะทำให้คุณตาปรือ สมองเริ่มมึนคือ การคิดเป็นภาพที่ไม่มีอารมณ์และโผล่มาเป็นวูบๆถี่ๆ
และนี่คือเหตุผลที่ทำไมคนฟุ้งซ่านไม่สามารถนอนหลับลงได้ ทำไมเวลาที่เราฝันเรามักฝันเป็นภาพ และทำไมเมื่อเวลาที่เราหลับลงแล้วทำไมเราถึงไม่ง่วงขณะฝัน เพราะการฝันคือการเข้าไปในความคิดแบบสมบรูณ์ เมื่อความคิดทำงานเต็มที่มันจะไม่ง่วงอีก พอเราตื่นมันสลึมสลือเพราะความคิดมันทำงานยังไม่เต็มที่ มันพึ่งเริ่มสตาร์ทเครื่องใหม่
เพราะฉะนั้นวิธีที่โง่ที่สุดแต่ได้ผลในการแก้ปัญหาการง่วงคือ เมื่อคุณรู้ว่าจะแพ้ความง่วงแล้ว ให้คุณคิดครับ คิดอะไรก็ได้ จะด่าว่าตัวเอง บ่น ด่าทอใครในใจก็ได้ให้เกิดอารมณ์ แต่ให้ใช้เมื่อคุณจวนตัวเท่านั้น เพราะวิธีนี้ไม่ใช่การไปพ้นจากความคิด เพียงแต่อาศัยกลไกของความคิดแก้ทางกันเท่านั้น
ผมเคยคิดว่าผมผ่านตัวง่วงได้แล้วในแต่ละขั้นของระดับจิตใจที่เปลี่ยน แต่ความง่วงมันก็กลับมาได้อีกทุกครั้ง เมื่อผมเข้าใจกระบวนการของมันผมจึงดีใจมาก แต่ดีใจได้ไม่เกินชั่วโมง ผมก็ตระหนักว่า ผมรู้กระบวนการมันก็จริงแต่จะแก้ยังไงล่ะ เพราะความคิดส่วนใหญ่ของผมเป็นภาพเกือบทั้งนั้น ผมเรียนมาทางดีไซน์เวลาผมคิด ผมจึงมักคิดเป็นภาพ
ผมก็มุ่งหน้าฝึกต่อไป อย่างน้อยก็เข้าใจกลไกของมันแล้ว มันก็ง่วงอีกแล้วครับ แต่อยู่ดีดีความรู้สึกตัวมันลงล็อค มันจับอยู่ที่ความรู้สึกตัวอย่างเดียว ความง่วงอารมณ์ต่างๆประดังกันเข้ามา แต่สติมันชัดเจนอยู่กับความรู้สึกตัวมากกว่า มันไม่สนอารมณ์อีกเลย มันจะเอาแต่ความรู้สึกตัวอย่างเดียวมันมั่นคง แต่อารมณ์ยังเกิดและดับอยู่นะครับเพียงแต่อารมณ์ไม่มีการตั้งอยู่ และผมก็เข้าใจเรื่องสมาธิ ตั้งแต่นั้นมาไม่มีอาการง่วงอีกเลย จะฝึกหนักต่อเนื่องยาวนานแค่ไหนก็ไม่ง่วง ยกเว้นตอนจะนอน คราวนี้รู้ตัวเองจริงๆว่า ผ่านตัวนี้แล้ว เพราะไม่มีการดีใจในการหลุดเกิดขึ้นเหมือนช่วงก่อนๆ
วันต่อมาผมกำลังฟิตข้าวปลาไม่ต้องกิน ชั้นจะฝึกอย่างเดียว สภาวะความเข้าใจในสมาธิแบบเมื่อวานไม่เกิดอีก จิตใจมันก็ดิ้นรนครับ มันจะพยายามทำให้เป็นแบบเมื่อวานเพราะมันกลัวจะง่วงอีก ผมงุ้นง่านกับการหาทางให้กลับไปเป็นอย่างเมื่อวานอยู่ครึ่งวัน จนในที่สุดเข้าใจว่าตัวเองติดอารมณ์ความพอใจไม่พอใจในอารมณ์ตัวนี้อยู่ พอเข้าใจปุ๊บมันหลุดออกไปเลย เรื่องอารมณ์มันซับซ้อนถ้าอ่านไม่ขาดจริงๆ มันจะติดตัวใดตัวหนึ่งอยู่สมอ
พอมันหลุดความง่วงและความพอใจไม่พอใจไปสองตัวนี้ จะฝึกกี่ทีมันมีสมาธิอยู่ที่ความรู้สึกตัวตลอด จริงๆแล้วความง่วงคือป้ายบอกทางนั่นเอง คนที่ฝึกแล้วง่วงนั้นคือ คุณมาถูกทางแล้วนะครับเพราะมันไม่เข้าไปในความคิด เพียงแต่มันไปติดอยู่ที่ป้าย ต้องชนมันให้กระเด็นเท่านั้นเอง ต้องเข้าใจเส้นทางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องใช้ป้ายอีก
เรื่องตลกอย่างหนึ่งที่ผมเข้าใจในขณะที่กำลังหาทางเอาชนะเรื่องของอารมณ์คือ สภาวะจิต ระลึกชาติ ภพภูมิ ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ผมจะมาเข้าใจของพวกนี้ แต่ผมไม่ได้อ่านจิตได้เหมือนหลวงพ่อดังๆ ผมไม่ได้ระลึกว่าชาติก่อนตัวเองเกิดเป็นอะไร ผมไม่ได้เหาะลงดิน ปีนขึ้นสวรรค์มานะครับ
ตอนที่ผมฝึกมันเห็นสภาวะจิตตัวเองชัดๆเลยว่า สิ่งที่เรากำลังตั้งหน้าตังตาฝึกอยู่นี่ มันเป็นการยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น มันเปลี่ยนพัฒนากันได้จริงๆ เรากำลังเล่นอยู่กับจิตใจตัวเองให้มันไปได้ไกลที่สุด
ผมเดินผ่านหมาครับ มันนอนอยู่ที่ถนน ผมก็เลยรู้ขึ้นมาว่า จิตใจผมตอนง่วงนี่ก็เป็นแบบเดียวกันกับหมาตอนง่วงนี่เอง จิตใจมันเวลาที่มันจะขึ้นตัวเมียก็เป็นแบบเดียวกับจิตใจผมที่พยายามจะลากผู้หญิงขึ้นเตียงให้ได้ เวลาผมเดินผ่านร้านไก่ย่างแล้วอยากกินผมก็เลยรู้ว่า จิตใจของเปรตเป็นอย่างนี้เอง ผมเห็นคนขี้เกียจฝึกไม่เอาถ่านแล้วอยากเข้าไปตบกะโหลกมันเป็นจิตใจของคนพาล เวลาที่ผมจะเอาชนะอะไรด้วยกำลังมันเป็นจิตใจของสัตว์เดรัจฉาน เวลาผมเนรคุณใครผมกลายเป็นสัตว์นรกเพราะจิตใจผมมันกระด้างไม่รู้คุณคน เมื่อผมขี้เกียจฝึกผมก็เลยเห็นหน้าตาของมารว่ามารมีจิตใจแบบนี้ และเมื่อผมด่าว่าใครด้วยอารมณ์ขาดสติผมกำลังถูกผีสิงอยู่
พอผมเข้าใจแบบนี้ เวลาที่ผมเดินตามท้องถนนแล้วเห็นผู้คน ผมจึงรู้ว่าเค้ากำลังมีสภาพจิตใจแบบไหน เพราะเมื่อผมทำแบบเค้าผมก็มีสภาพจิตใจแบบเดียวกัน เมื่อผมไปร้านอาหารที่มีคนรอต่อคิวยาวๆผมไม่ได้มองว่าร้านนี้อร่อย สิ่งที่ผมเห็นคือ หน้าตาสวยหล่อแต่งตัวดีแต่สภาวะจิตของเปรตเต็มไปหมด และสิ่งที่น่าขนลุกที่สุดตัวผมเองเคยเกิดเป็นเปรตเพราะผมรอคิวเข้าไปกินอาหารแบบตักกินไม่ยั้งเหมือนกัน หน้าตามือท้าเป็นคนแต่จิตใจเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยไป
ตอนที่ผมหาวิธีเอาชนะความง่วง ผมดูจิตใจตัวเองก็เลยได้รู้ว่าจิตใจโพธิสัตว์เป็นแบบนี้ เป็นจิตใจของคนที่ไม่ยอมแพ้ ไม่ล้มเลิกต่อความตั้งใจไม่ว่าจะเจออุปสรรคอะไร ความต้องการระดับนี้ไม่ใช่ความโลภแล้ว คนที่ยอมตายเพื่อทำอะไรสักอย่างไม่ใช่จิตใจของคนโลภแต่เป็นความเด็ดเดี่ยว ผมจึงเข้าใจว่าทำไมสิทถัธถะทิ้งครอบครัวเพื่อออกหาบางสิ่งบางอย่าง มันไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวแต่มันเป็นพลังผลักดันในสิ่งที่สงสัยและต้องหาคำตอบชนิดที่ถ้าไม่พบจะไม่ยอมตายเด็ดขาด คนที่ไม่มีพลังชนิดนี้ในตัวคงไม่เข้าใจถึงการกระทำของคนประเภทนี้ ผมจึงได้เข้าใจว่าใครใครก็เป็นโพธิสัตว์ได้นี่ ขอให้มีจิตใจเด็ดเดี่ยวในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองรวมถึงคนอื่นและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคทั้งหมดที่เกิดไม่ว่าจะกี่ครั้งก็จะยังมุ่งหน้าทำต่อไป คนคนนั้นจะมีหัวใจของโพธิสัตว์ตามความเข้าใจของผม เพียงแต่โพธิสัตว์นั้นแพ้ทางความไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแทงตลอดเท่านั้นเอง
ถ้าอย่างนั้นแล้วจิตใจของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร มันก็เป็นจิตใจที่ไม่มีจิตใจใดใดนั่นเอง เป็นจิตที่ว่างจากจิตใจทุกรูปแบบ เพราะมันเป็นจ้าวแห่งจิตทั้งปวง ผมเดาเอาเองว่ามันคงจะลงไปในรูปแบบนั้น
สวรรค์นรกภพภูมิ เกิดตรงมันไม่รู้สึกตัวนี่นา และศัพท์สวยหรูที่ตั้งชื่อให้มันคือ อวิชา ไม่รู้สึกตัวเองอยู่เสมอมันถึงไปเกิดเป็นตัวนั่นตัวนี่ ระยะวลาการเกิดก็อยู่ตรงที่กลับมารู้สึกตัวได้เร็วแค่ไหน
ในเวลาที่คุณฝึกแล้วเกิดปัญหาที่คุณรู้สึกว่ามันช่างยากเหลือเกิน ไม่มีคนให้ถามหรือถึงมีคำตอบก็ไม่ข้าใจ ท้อแท้ไม่ไหวแล้ว สิ่งสุดท้ายที่จะช่วยคุณได้คือ กำลังใจของตัวคุณเองเท่านั้น ต่อให้คุณไม่รู้ทางไปแต่อย่าหยุดฝึก จงกัดปัญหาอย่าปล่อยจนกว่าคุณจะรู้วิธีผ่าน แล้วบางสิ่งที่เรียกว่าเด็ดเดี่ยวจะสะท้อนออกมาในแววตาของคุณ
ขอให้มีจิตของโพธิสัตว์สถิตอยู่ในหัวใจครับ
ประนีประนอม
สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เห็นด้วยเลยคือ การเหมารวมว่าการปฏิบัติทุกอย่างจะไปเจอกันในท้ายที่สุด และคำเปรียบเปรยที่ได้ยินบ่อยที่สุดอันหนึ่งคือ การขึ้นสู่ยอดเขาไม่ว่าจะขึ้นมาจากทางไหนมันจะไปเจอกันที่ยอดเขาได้ทั้งนั้น คนที่พูดอย่างนั้นเพราะภูเขาในความคิดเค้าเป็นอะไรประมาณภาพนี้
ในความเป็นจริงภูเขามันตั้งเดี่ยวๆเป็นลูก มียอดแหลมอันเดี่ยวเด่ๆขึ้นไปเหมือนภาพข้างบนหรือเปล่า ในทัศนะของผม ธรรม ไม่ใช่ของกระจอกที่จะเอาไปเทียบได้กับภูเขาเพียงลูกเดียว แต่มันเป็นลักษณะการรวมกันของเขาหลายๆลูก มันมียอดเขาสูงไม่รู้กี่อัน บางอันมองจากข้างล่างมันดูสูงพอพอกัน แต่พอขึ้นไปยืนอยู่ตรงนั้นจริง มันสูงไม่เท่ากัน
ปัญหาที่ผมสังเกตได้ทุกวันนี้คือ ผู้ที่ตั้งตนเป็นอาจารย์ทั้งหลายยืนอยู่บนยอดเขาคนละยอด และในมุมมองของศิษย์แต่ละคนมองว่ายอดเขาอันนั้นๆสูงที่สุดแล้ว ผู้ที่อยู่บนยอดหรือพูดง่ายๆว่าบรรดาอาจารย์ทั้งหลาย หากไม่หลงตนจนเกินไปนั้น จะต้องมองออกว่าพวกเค้าไม่ได้อยู่บนยอดเดียวกัน และหากมีปัญญาเพียงพอย่อมต้องมองออกอีกด้วยว่า ยังมียอดเขาอื่นที่สูงกว่ายอดที่ตนอยู่ พวกคุณไปลองขึ้นเขาดูก็ได้เมื่อคุณอยู่บนยอดเขาซักอันที่มันไม่สูงที่สุด คุณจะรู้ว่ายอดเขาที่คุณเหยียบอยู่นั้นยังไม่ใช่ที่สุด แต่ส่วนใหญ่คนที่ยืนบนยอดมักลงจากยอดเขาไม่ได้ เพราะทิฐิและแววตาของบรรดาลูกศิษย์ของตนนั่นเองที่ขวางไว้
คุณมองภาพด้านบนนี้แล้วพิสูจน์ให้ประจักษ์ตามคำกล่าวได้ไหมว่า ท้ายที่สุดมันจะมาเจอกันที่ยอด คุณลองปล่อยคน 10 คน ที่ตีนเขาแต่ละด้าน ใครในพวกคุณมั่นใจบ้างว่า ท้ายที่สุดทั้งสิบคนต่างคนต่างปีนด้วยวิธีของตน จะมาเจอกันที่ตำแหน่งเดียวกันบนยอดสูงสุด มันเริ่มตั้งแต่เลือกยอดที่จะขึ้นแล้ว ไหนจะเส้นทางที่ใช้ มันไม่ใช่ว่าเดินขึ้นไปที่ยอดซักอัน พอรู้ว่าไม่ใช่อันที่สูงสุดก็เดินลงเพื่อไปยอดอื่นแบบนั้น ถ้าคุณเลือกยอดผิดคุณไม่เพียงเสียเวลาแต่ยังเสี่ยงตายผิดที่อีกด้วย เพราะการขึ้นเขาแต่ละยอดใช้เวลาเป็นปีๆ
ผมไม่ทราบว่าพวกคุณเคยเดินเขากันจริงๆหรือไม่ ตอนที่ผมอยู่ต่างประเทศผมเดินบ่อยๆกับเพื่อน สิ่งที่ผมพบจากความเป็นจริงคือ เมื่อผมอยู่ในเส้นทางเดินเขา ผมไม่สามารถเห็นยอดเขาได้เลย ผมเห็นแต่ต้นไม้ ท้องฟ้า สัตว์ป่า พื้นด้านล่าง เก้าอี้ให้นั่งพัก จุดชมวิว ที่สักการะเยซุส ยอดเขาอยู่ทางไหนกัน ถ้าไม่มีถนนคงเดินปีนป่ายสะเปะสะปะแน่ วิธีที่คุณใช้ฝึกนั้นทำให้คุณมั่นใจหรือเปล่าว่า ทางที่คุณเดินมันทอดตัวไปที่ยอดได้จริง คุณเห็นเป็นทางเดินไปชัดๆแบบมั่นใจว่าต้องถึงแน่ๆหรือเปล่า ถ้าคุณยังไม่เห็นเป็นทางที่มั่นใจอย่างนี้ เรื่องวิปัสสนาไม่ต้องมาพูดหรอก
ผมมองว่าปัญหาของแนวทางการสอนอันเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า สายยุบหนอ สายเคลื่อนไหว สายอานา สายดูจิต หรือสุดแท้แต่เรียกตามชื่ออาจารย์มีมานานแล้ว และด้วยความคลุมเครือต่อผลของมันว่าแท้จริงแล้ววิธีแต่ละแบบมันนำไปสู่อะไร จึงเกิดอุบายเพื่อประนีประนอมขึ้นมาว่า จงฝึกตามแต่จริต ถูกจริตอันไหนให้ฝึกอันนั้น
และนี่คือต้นกำเนิดของการทะเลาะวิวาทของบรรดาศิษย์แต่ละสายในทุกวันนี้ ซึ่งพิสูจน์ได้ตามเว็บไซด์ธรรมะที่เปิดให้สนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นทั่วๆไป เพราะผู้ที่ทำท่าทีว่าเป็นผู้รู้ของแต่ละสายทั้งหลายเห็นไม่ตรงกันและนำไปสู่การทะเลาะหมางใจกันเอง และทางออกที่เหมือนจะเป็นแสงสว่างหนึ่งเดียวก็คือ จับมันไปเทียบกับตำราซะก็สิ้นเรื่อง ตำราว่าไว้ตามคำสอนศาสดาเด๊ะๆ เถียงกันทำไม
ปัญหาระลอกสองก็ตามมาคือ ตีความไม่ตรงกันหรือหยิบคนละบรรทัดมาเถียงกัน ใครหลักฐานแน่นกว่าคนนั้นเชื่อถือได้ แต่หากมองย้อนกลับลงไปที่ตัวคน ที่ดูเหมือนจะเชื่อถือได้ ทำไมเค้าถึงมีนิสัยแย่ล่ะ ทำไมทำไม่ได้อย่างที่สอนคนอื่นล่ะ อ่านแต่ตำราหรือเปล่า เก่งแต่ท่องหรือเปล่า ใบลานเปล่าละมั้ง
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เชื่อว่า ธรรม เป็นเรื่องของการประนีประนอม มันเป็นเรื่องของความจริง มันเป็นอย่างที่มันเป็น สมัยก่อนมีบางคนบอกว่าโลกนี้กลม คนส่วนใหญ่บอกว่าไม่หรอกมันแบน มันใช้การประนีประนอมได้หรือไม่ว่า งั้นก็ให้มันกลมๆแบนๆผสมกันดีมั๊ยเจอคนละครึ่งทางเราจะได้อยู่กันอย่างสันติ สอนคนรุ่นต่อไปว่าโลกเรามันก็กลมๆแบนๆแบบนี้ล่ะ มีแต่คนโง่เง่าถูกหลอกง่ายๆเท่านั้นล่ะ ที่จะยอมรับข้อตกลงเพี้ยนๆนี้โดยไม่พิสูจน์อะไรเลย
ไม่ว่าเราจะตัดสินอย่างไรในฐานะมนุษย์ ดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่นี่ มันก็เป็นของมันอย่างนั้น มันไม่สนหรอกว่ามนุษย์ตกลงกันไว้ว่าจะให้มันแบนหรือกลม การเข้าถึงสัจธรรมก็แบบเดียวกัน มันจึงจำเป็นต้องมีผู้รู้จริงเอาไว้สอนเอาไว้ชี้ทาง ไม่อย่างนั้นตถาคตจะมีประโยชน์อะไร ถ้าปฏิบัติแบบไหนก็ได้ตามแต่จริต สุดท้ายมันก็ต้องบรรลุธรรมเหมือนกันหมดทุกคนมิถูกหรือ ความเป็นจริงมันก็สะท้อนอยู่แล้วว่า เหตุการณ์ที่เกิดในทุกวันนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ในเมื่อธรรมแท้ต้องรู้อย่างเดียวกัน ทำไมอาจารย์ต่างๆสอนไม่เหมือนกันล่ะ เหตุผลง่ายๆก็คือ พวกเค้ารู้ไม่เท่ากัน รู้ไปคนละเรื่อง และสอนได้เท่าที่รู้ เรื่องเพี้ยนๆต่อมาก็คือ คำสอนที่ต่างกันนั้นถูกสโคปใหญ่บังคับไว้ว่า มันคือธรรมะของพระพุทธเจ้าคนเดียวกัน
ในฐานะที่ผมเป็นคนหนึ่งที่เล็งยอดเขาที่หลวงพ่อเทียนเหยียบอยู่ ผมยังไม่เคยได้ยินคำสอนไหนของเค้า ที่ประนีประนอมเข้าหลอมรวมเป็นคำสอนกับอาจารย์คนอื่นๆเลย
เค้าสอนให้ลืมตาฝึก ไม่เคยได้ยินว่า หลับมั่งลืมมั่งก็ได้แล้วแต่ถนัด
เค้าสอนให้เคลื่อนไหว ไม่เคยได้ยินว่า เคลื่อนมั่งนิ่งมั่งก็ได้แล้วแต่ถนัด
เค้าสอนให้รู้สึกตัว ไม่เคยได้ยินว่า ถ้าไม่ก้าวหน้าให้ใช้ อานาปานสติช่วย หรือให้ใช้ยุบหนอพองหนอเข้าช่วย
เค้าสอนให้รู้สึกตัว ไม่เคยได้ยินว่า ให้ฝึกฐานกายก่อนแล้วขยับไปเวทนาแล้วขยับไปจิตแล้วขยับไปธรรม
เค้าสอนให้รู้สึกตัว ไม่เคยได้ยินว่า กายเป็นเพียงฐานให้รู้จักจิต ถ้าเห็นจิตแล้วข้ามกายไปดูจิตอย่างเดียวก็ได้
เค้าสอนให้เท่าทันความคิด ไม่เคยได้ยินว่า ถ้าฟุ้งซ่านให้ใช้ดูลมพุทโธให้สงบระยะหนึ่งก่อน เมื่อสงบแล้วจึงค่อยมาฝึกรู้สึกตัว
เค้าสอนให้ออกจากความคิด ไม่เคยได้ยินว่า ให้ใช้ความคิดพิจารณาธรรมะ เปิดตำราเทียบเคียงความถูกต้อง
เค้าสอนให้เจริญสติอยู่ทุกขณะ ไม่เคยได้ยินว่า ง่วงเหนื่อยมากให้หยุดพัก เอาทำสบายๆเป็นเกณฑ์
สิ่งเหล่านี้ผมไม่เคยได้ยินจากคำสอนที่ผมฟังจากเทปมาเป็นร้อยๆรอบ แต่กลับได้ยินมาตลอดจากลูกศิษย์ที่อ้างว่าฝึกตามแนวทางของท่าน ผมอาจจะฟังไม่ถูกต้องเองก็เป็นได้ แต่จากที่ผมสังเกตการสอนของหลวงพ่อเทียน เค้าไม่ใช่ลักษณะของการประนีประนอมหรือพยายามจะรวมสายที่แตกแยกเป็นหนึ่ง ธรรมที่ท่านสอน สอนเพียงสิ่งที่ท่านเข้าใจจากตัวเองที่ได้พิสูจน์แล้วเท่านั้น ไม่มีการอ้างอิงเอาวิธีสายอื่นๆมาช่วยต่อยอดอะไรทั้งนั้น วิธีที่เค้าสอนมันไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยตัวมันเอง
จากการที่ผมได้สนทนากับคนหลายคนที่ฝึกสายเดียวกันหรือต่างสาย ความจริงที่ผมพบก็คือ ผมเข้าใจไม่เหมือนพวกเค้า พวกเค้าเข้าใจไม่เหมือนผม พวกเราประสบและพบเจอความเข้าใจคนละอย่าง ใครๆก็ว่าของตัวเองถูก เพราะฉะนั้นถ้าคุณเห็นว่าสิ่งที่ผมเขียนเป็นเรื่องเหลวไหลและห่างไกลจากการไปพ้นจากทุกข์ ไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องเสียเวลาอ่าน ผมพูดตรงๆเลยนะผมไม่ง้อเลยครับ ในเมื่อผมเองก็ทำอย่างเดียวกัน ผมไม่เสียเวลาอ่านอะไรที่ผมเห็นว่าห่างไกลจากการรู้จักตัวเอง และสิ่งที่ผมใช้เลือกว่าคำสอนไหนผิดหรือถูกคือ ลงมือพิสูจน์และสังเกตตัวผู้สอนว่าทำได้อย่างที่สอนหรือเปล่า พวกที่เก่งพูดคือ ตัวเลือกแรกที่ผมจะตัดออกบัญชีรายชื่อ ผมจับตาดูพวกเก่งทำก่อน
สำหรับคนที่ฝึกแล้วเข้าใจไปคนละแบบกับผม พวกเค้าจะไปประสบพบเห็นอะไรนั้นผมไม่ทราบและผมไม่กระหายอยากรู้แม้แต่นิดเดียว แต่เมื่อเราได้เผชิญหน้ากันเราจะรู้ได้เองว่า เราเข้าใจไม่เหมือนกัน คุณไม่มีทางที่จะมาตรงจุดผม และผมจะไม่มีวันหวนไปเจอคุณ เหมือนมันเลือกเทือกเดียวกันแต่เล็งคนละยอดเขานั่นเอง
ผมจะเขียนอะไรต่ออีกซักนิดเพราะเนื้อหามันใกล้กัน และระหว่างนี้ผมอาจจะไม่มีเวลาอัพเดทบทความ พวกคุณไม่มีความจำเป็นต้องเสียเวลาเข้ามาเยี่ยมในช่วงนี้ ผมไม่ได้ปลื้มนักหรอกที่ตัวเลขคนเข้าชมบล็อกมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมเพียงใช้มันเช็คว่า ยังมีคนที่กลับมาอ่านอยู่เท่านั้น จะให้บอกกี่ครั้งก็ได้ผมไม่สนคนอ่าน ผมสนคนทำ
ความเหมือนกัน เจอเหมือนกัน ปีนเขายอดเดียวกันนี้ ผมขอนำเรื่องของคุณพ่อผมมาเล่าให้ฟัง
ผมไม่ค่อยสอนอะไรคุณพ่อผมมากนัก ผมมักจะถามเค้าเพียงแค่ว่า รู้สึกตัวไหม รู้สึกชัดไหม เค้ามักตอบว่า รู้สิ ยกมือมันก็ต้องรู้อยู่แล้ว ต่อมาเค้าคงสงสัยว่า รู้สึกตัวแล้วจะให้รู้สึกอะไรอีก ทำไมผมถามซ้ำๆอยู่แค่คำถามเดียวมาเป็นปีปี ถ้ามันพอจะก้าวหน้ามันต้องถามคำถามอื่นบ้างซิ
ผมเริ่มด้วยการให้เค้า ตอบว่าความรู้สึกตัวที่ไม่เปลี่ยนไปจากเดิม แม้ว่าเราจะไม่เคลื่อนเราก็รู้สึก เค้าบอกว่า ที่มัน ชาๆ ใช่ไหม ( ซึ่งคำพูดนี้ไปตรงกับคำพูดของน้องชายของผมอีกคนที่ผมแนะอยู่ เค้าจะพูดเลยว่า ความรู้สึกที่มันชาๆเฉยๆนี่ใช่ไหม สองคนนี้จับตัวเดียวกันได้แต่เค้าทั้งคู่ไม่มั่นใจว่ามันจะนำไปสู่อะไร ผมจึงบอกว่า ไม่ต้องสนใจว่ามันจะเรียกว่า ชาๆ หรือเฉยๆ เพราะบางคนอาจจะไม่พูดออกมาแบบนี้ ให้จับสังเกตความรู้สึกตัวที่ไม่ว่า จะเคลื่อนหรือหยุด ความรู้สึกตัวนี้จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ตอนนั้นน้องผมติดอารมณ์ง่วง ผมแอบเห็นนั่งคอพับอยู่ในกุฏ ตอนนั่งในศาลาก็เห็นวูบๆ ผมรู้ว่าถึงจุดที่ต้องเข้าแล้ว ผมบอกเค้าว่า ให้ทำช้าๆแบบนี้แบบนี้นะ สองชั่วโมงผ่านไปบอกว่า หายง่วงแล้ว จากนั้นก็ฝึกแบบแทบจะไม่หยุดอีกเลย เค้าถามผมว่ารู้ได้ยังไงว่า ความรู้สึกตัวอันนี้นั้นมีอยู่ เรื่องง่ายๆก็สังเกตเอานะซิผมว่าอย่างนั้น )
กลับมาที่คุณพ่อผมนะครับ เค้าค่อยๆเริ่มฝึกใหม่ เหมือนกับจะหาว่า ไอ้ความรู้สึกตัวที่ผมถามซ้ำซากอยู่นั่น มันใช่ตัวเดียวกับที่เค้ากำลังรู้สึกรึเปล่า เค้าเริ่มเอะใจจึงเริ่มวางเวลาฝึกเป็นระบบ ใช้เวลาก่อนนอนสองถึงสามชั่วโมง ผ่านไปประมาณหนึ่งอาทิตย์ เค้าโทรหาผม บอกว่า รู้สึกตัวดีมาก มันชัดเจนมาก พ่อว่าแต่ก่อนพ่อยังรู้สึกตัวไม่จริงนะ ตอนนี้เลยเคลื่อนไหวซ้ำไปซ้ำมา ทีละจังหวะซ้ำๆอยู่อย่างนั้น อย่างพลิกมือนี่พลิกอยู่อย่างเดียวนี่ล่ะยี่สิบครั้ง แล้วค่อยยกมือขึ้นอีกยี่สิบครั้ง เอาให้มันรู้สึกจริงๆไปเลย มันถูกไหมแบบนี้ ผมไม่ได้ตอบอะไรมาก นอกจากบอกให้ทำอย่างนั้นล่ะต่อไป แต่ผมรู้ทันทีสัญญาณแรกมาแล้ว
วันต่อมาเค้าโทรหาอีกบอกว่า ตอนนี้เค้าเคลื่อนไหวช้ามากๆ คนอื่นเห็นต้องรำคาญแน่ ที่ต้องทำอย่างนั้นเพื่อให้มันรู้สึกชัดจริงๆ พ่อว่าพ่อยังอ่อนเลยคิดได้ว่า น่าจะกลับมาเคลื่อนไหวให้มันช้าๆหน่อย เราจะได้จับความรู้สึกตัวได้ชัดๆ เรายังไม่เก่งน่าจะเอาฐานให้แน่นก่อน ผมคิดในใจสัญญาณที่สองออกมาแล้ว เค้าเล่าต่อว่า แต่ก่อนที่เราว่าเรารู้สึกตัวนั่นมันรู้สึกก็จริง แต่เป็นความรู้สึกตัวระดับผิวสัมผัส ยกมือไปมามันก็แค่วูบๆ จะมารู้สึกแค่ตอนหยุด แต่ตอนนี้มันไม่ใช่นะ มันรู้เข้าไปยันข้างในเนื้อเลย จะเคลื่อนจะหยุดก็รู้สึกแบบนี้ พอมาจับจุดนี้เข้าใจเลยว่า ทำไมถามซ้ำๆอยู่ได้ว่า รู้สึกชัดไหม เข้าใจเลยว่าความรู้สึกตัวที่เรารู้สึกเมื่อก่อน กับความรู้สึกอันนี้มันเป็นคนละตัวกัน
ตอนแรกมันรู้ที่มือขวาก่อนตอนช่วงที่กำลังจะวางลงบนเข่า ด้วยความที่เราเคลื่อนไหวช้าๆนี่ล่ะ เราถึงจับมันได้ พอเราจับมันได้ มันก็ลามไปที่แขน ไปที่ไหล่ ไล่ลงไปทั้งตัวก็ง่ายแล้ว ระหว่างฝึกหน้ามันเต้นวุบๆเหมือนตอนกินเหล้า ตอนนอนก็ตื่นบ่อยมากนึกว่าเช้าแล้ว คืนนึงตื่นขึ้นมาซักสี่รอบได้มั้ง ถ้าให้เปรียบเหมือนรูปพระพุทธเจ้าที่แปะอยู่ในห้องพระนั่นล่ะ ที่มีแสงออกมาจากตัว แต่พ่อไม่มีแสงออกมาจากตัวนะ ความรู้สึกตัวข้างในที่มันเกิดมันเป็นอย่างนั้น ( ผมแปลกใจมากเพราะนี่คือคำพูดเดียวกับที่ผมบอกตัวเองตอนที่ผมอยู่ตรงจุดนี้ ) ผมเลยบอกว่า มันเหมือนหลอดไฟที่สว่างอยู่ใช่ไหม เค้าบอกว่า อืม เป็นอย่างนั้นใช่เลย
ผมจึงบอกว่า เคล็ดในการผ่านจุดนั้น คือ รู้สึกตัวให้ชัดด้วยการเคลื่อนไหวช้าๆ ตัวนี้จะไปแก้ทั้งการปวดเมื่อยและความง่วง เค้าจึงถามว่า แล้วทำไมไม่บอกแต่แรกเล่า ว่าให้ทำช้าๆ ผมจึงว่า เพราะคนเราจะจำมันได้ฝังใจไปจนตายกับอะไรก็ตามที่เรารู้ขึ้นมาได้เองโดยไม่ต้องมีคนบอกนะสิ
ผมเองก็เคยติดจุดนี้ แล้วก็เจอทางแก้แบบเดียวกันนี่ โดยไม่ต้องมีคนมาบอก ต่อไปเวลาเราจะสอนใคร เราจะมั่นใจ เพราะเราผ่านมาได้จริง และคนที่ผ่านมาก็จะใช้วิธีที่เหมือนกับเราด้วย ประการต่อมาถ้าเราผ่านได้ด้วยตัวเอง เราจะมีกำลังใจในการฝึกต่อไป เราจะรู้ว่าเราไปต่อได้
พอคนเราเห็นพัฒนาการตัวเอง ก็เลยฝึกต่อเองโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ แต่ถ้าถามว่าพ่อรู้อะไรมั่ง พ่อไม่รู้อะไรเลยนะ ก็เราบอกแค่ว่า ให้รู้สึกตัวอย่างเดียวแค่นั้นไม่ใช่เหรอ รูปนาม ขันธ์ห้า ไตรลักษณ์ ปรมัตถ์ อะไรพ่อไม่รู้หรอก พ่อไม่รู้คำศัพท์ พ่อจะเอาแค่รู้สึกตัวล้วนๆให้มันชัดๆนี่ล่ะ
ผมก็เลยบอกว่าเลื่อนระดับมาได้ขั้นนึง คนร้อยคนฝึกจะมาถึงจุดนี้ได้ 70-80 คน พ่อผมถามต่อว่าแล้วขั้นต่อไปล่ะ ผมเลยบอกว่าขั้นต่อไปอาจารย์ผมจากร้อยคนให้ 5 คน แต่ถ้าถามผมผมให้ 2 คน แล้วรู้ได้ไงว่าสิ่งที่พ่อพูดไม่ได้โกหก พ่ออาจจะไปเปิดเน็ตลอกเอาคำพูดจากใครมาตอบเราก็ได้ ไม่มีครูที่เก่งจริงคนไหนที่โดนศิษย์ตัวเองหลอกได้หรอกครับ ผมโม้ทับไปแบบนั้น ของแค่นี้มองออกง่ายมากว่าผ่านมาจริงหรือเปล่า การกระทำท่าทางมันฟ้อง มันไม่ใช่ความรู้ที่จะพล่ามอะไรออกมาก็ได้ แต่มันแสดงผ่านกิริยาท่าทาง เพราะนี่คือการเป็น
ขอให้วันนี้ของทุกคนสวยงามต่อไปครับ
ในความเป็นจริงภูเขามันตั้งเดี่ยวๆเป็นลูก มียอดแหลมอันเดี่ยวเด่ๆขึ้นไปเหมือนภาพข้างบนหรือเปล่า ในทัศนะของผม ธรรม ไม่ใช่ของกระจอกที่จะเอาไปเทียบได้กับภูเขาเพียงลูกเดียว แต่มันเป็นลักษณะการรวมกันของเขาหลายๆลูก มันมียอดเขาสูงไม่รู้กี่อัน บางอันมองจากข้างล่างมันดูสูงพอพอกัน แต่พอขึ้นไปยืนอยู่ตรงนั้นจริง มันสูงไม่เท่ากัน
ปัญหาที่ผมสังเกตได้ทุกวันนี้คือ ผู้ที่ตั้งตนเป็นอาจารย์ทั้งหลายยืนอยู่บนยอดเขาคนละยอด และในมุมมองของศิษย์แต่ละคนมองว่ายอดเขาอันนั้นๆสูงที่สุดแล้ว ผู้ที่อยู่บนยอดหรือพูดง่ายๆว่าบรรดาอาจารย์ทั้งหลาย หากไม่หลงตนจนเกินไปนั้น จะต้องมองออกว่าพวกเค้าไม่ได้อยู่บนยอดเดียวกัน และหากมีปัญญาเพียงพอย่อมต้องมองออกอีกด้วยว่า ยังมียอดเขาอื่นที่สูงกว่ายอดที่ตนอยู่ พวกคุณไปลองขึ้นเขาดูก็ได้เมื่อคุณอยู่บนยอดเขาซักอันที่มันไม่สูงที่สุด คุณจะรู้ว่ายอดเขาที่คุณเหยียบอยู่นั้นยังไม่ใช่ที่สุด แต่ส่วนใหญ่คนที่ยืนบนยอดมักลงจากยอดเขาไม่ได้ เพราะทิฐิและแววตาของบรรดาลูกศิษย์ของตนนั่นเองที่ขวางไว้
คุณมองภาพด้านบนนี้แล้วพิสูจน์ให้ประจักษ์ตามคำกล่าวได้ไหมว่า ท้ายที่สุดมันจะมาเจอกันที่ยอด คุณลองปล่อยคน 10 คน ที่ตีนเขาแต่ละด้าน ใครในพวกคุณมั่นใจบ้างว่า ท้ายที่สุดทั้งสิบคนต่างคนต่างปีนด้วยวิธีของตน จะมาเจอกันที่ตำแหน่งเดียวกันบนยอดสูงสุด มันเริ่มตั้งแต่เลือกยอดที่จะขึ้นแล้ว ไหนจะเส้นทางที่ใช้ มันไม่ใช่ว่าเดินขึ้นไปที่ยอดซักอัน พอรู้ว่าไม่ใช่อันที่สูงสุดก็เดินลงเพื่อไปยอดอื่นแบบนั้น ถ้าคุณเลือกยอดผิดคุณไม่เพียงเสียเวลาแต่ยังเสี่ยงตายผิดที่อีกด้วย เพราะการขึ้นเขาแต่ละยอดใช้เวลาเป็นปีๆ
ผมไม่ทราบว่าพวกคุณเคยเดินเขากันจริงๆหรือไม่ ตอนที่ผมอยู่ต่างประเทศผมเดินบ่อยๆกับเพื่อน สิ่งที่ผมพบจากความเป็นจริงคือ เมื่อผมอยู่ในเส้นทางเดินเขา ผมไม่สามารถเห็นยอดเขาได้เลย ผมเห็นแต่ต้นไม้ ท้องฟ้า สัตว์ป่า พื้นด้านล่าง เก้าอี้ให้นั่งพัก จุดชมวิว ที่สักการะเยซุส ยอดเขาอยู่ทางไหนกัน ถ้าไม่มีถนนคงเดินปีนป่ายสะเปะสะปะแน่ วิธีที่คุณใช้ฝึกนั้นทำให้คุณมั่นใจหรือเปล่าว่า ทางที่คุณเดินมันทอดตัวไปที่ยอดได้จริง คุณเห็นเป็นทางเดินไปชัดๆแบบมั่นใจว่าต้องถึงแน่ๆหรือเปล่า ถ้าคุณยังไม่เห็นเป็นทางที่มั่นใจอย่างนี้ เรื่องวิปัสสนาไม่ต้องมาพูดหรอก
ผมมองว่าปัญหาของแนวทางการสอนอันเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า สายยุบหนอ สายเคลื่อนไหว สายอานา สายดูจิต หรือสุดแท้แต่เรียกตามชื่ออาจารย์มีมานานแล้ว และด้วยความคลุมเครือต่อผลของมันว่าแท้จริงแล้ววิธีแต่ละแบบมันนำไปสู่อะไร จึงเกิดอุบายเพื่อประนีประนอมขึ้นมาว่า จงฝึกตามแต่จริต ถูกจริตอันไหนให้ฝึกอันนั้น
และนี่คือต้นกำเนิดของการทะเลาะวิวาทของบรรดาศิษย์แต่ละสายในทุกวันนี้ ซึ่งพิสูจน์ได้ตามเว็บไซด์ธรรมะที่เปิดให้สนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นทั่วๆไป เพราะผู้ที่ทำท่าทีว่าเป็นผู้รู้ของแต่ละสายทั้งหลายเห็นไม่ตรงกันและนำไปสู่การทะเลาะหมางใจกันเอง และทางออกที่เหมือนจะเป็นแสงสว่างหนึ่งเดียวก็คือ จับมันไปเทียบกับตำราซะก็สิ้นเรื่อง ตำราว่าไว้ตามคำสอนศาสดาเด๊ะๆ เถียงกันทำไม
ปัญหาระลอกสองก็ตามมาคือ ตีความไม่ตรงกันหรือหยิบคนละบรรทัดมาเถียงกัน ใครหลักฐานแน่นกว่าคนนั้นเชื่อถือได้ แต่หากมองย้อนกลับลงไปที่ตัวคน ที่ดูเหมือนจะเชื่อถือได้ ทำไมเค้าถึงมีนิสัยแย่ล่ะ ทำไมทำไม่ได้อย่างที่สอนคนอื่นล่ะ อ่านแต่ตำราหรือเปล่า เก่งแต่ท่องหรือเปล่า ใบลานเปล่าละมั้ง
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เชื่อว่า ธรรม เป็นเรื่องของการประนีประนอม มันเป็นเรื่องของความจริง มันเป็นอย่างที่มันเป็น สมัยก่อนมีบางคนบอกว่าโลกนี้กลม คนส่วนใหญ่บอกว่าไม่หรอกมันแบน มันใช้การประนีประนอมได้หรือไม่ว่า งั้นก็ให้มันกลมๆแบนๆผสมกันดีมั๊ยเจอคนละครึ่งทางเราจะได้อยู่กันอย่างสันติ สอนคนรุ่นต่อไปว่าโลกเรามันก็กลมๆแบนๆแบบนี้ล่ะ มีแต่คนโง่เง่าถูกหลอกง่ายๆเท่านั้นล่ะ ที่จะยอมรับข้อตกลงเพี้ยนๆนี้โดยไม่พิสูจน์อะไรเลย
ไม่ว่าเราจะตัดสินอย่างไรในฐานะมนุษย์ ดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่นี่ มันก็เป็นของมันอย่างนั้น มันไม่สนหรอกว่ามนุษย์ตกลงกันไว้ว่าจะให้มันแบนหรือกลม การเข้าถึงสัจธรรมก็แบบเดียวกัน มันจึงจำเป็นต้องมีผู้รู้จริงเอาไว้สอนเอาไว้ชี้ทาง ไม่อย่างนั้นตถาคตจะมีประโยชน์อะไร ถ้าปฏิบัติแบบไหนก็ได้ตามแต่จริต สุดท้ายมันก็ต้องบรรลุธรรมเหมือนกันหมดทุกคนมิถูกหรือ ความเป็นจริงมันก็สะท้อนอยู่แล้วว่า เหตุการณ์ที่เกิดในทุกวันนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ในเมื่อธรรมแท้ต้องรู้อย่างเดียวกัน ทำไมอาจารย์ต่างๆสอนไม่เหมือนกันล่ะ เหตุผลง่ายๆก็คือ พวกเค้ารู้ไม่เท่ากัน รู้ไปคนละเรื่อง และสอนได้เท่าที่รู้ เรื่องเพี้ยนๆต่อมาก็คือ คำสอนที่ต่างกันนั้นถูกสโคปใหญ่บังคับไว้ว่า มันคือธรรมะของพระพุทธเจ้าคนเดียวกัน
ในฐานะที่ผมเป็นคนหนึ่งที่เล็งยอดเขาที่หลวงพ่อเทียนเหยียบอยู่ ผมยังไม่เคยได้ยินคำสอนไหนของเค้า ที่ประนีประนอมเข้าหลอมรวมเป็นคำสอนกับอาจารย์คนอื่นๆเลย
เค้าสอนให้ลืมตาฝึก ไม่เคยได้ยินว่า หลับมั่งลืมมั่งก็ได้แล้วแต่ถนัด
เค้าสอนให้เคลื่อนไหว ไม่เคยได้ยินว่า เคลื่อนมั่งนิ่งมั่งก็ได้แล้วแต่ถนัด
เค้าสอนให้รู้สึกตัว ไม่เคยได้ยินว่า ถ้าไม่ก้าวหน้าให้ใช้ อานาปานสติช่วย หรือให้ใช้ยุบหนอพองหนอเข้าช่วย
เค้าสอนให้รู้สึกตัว ไม่เคยได้ยินว่า ให้ฝึกฐานกายก่อนแล้วขยับไปเวทนาแล้วขยับไปจิตแล้วขยับไปธรรม
เค้าสอนให้รู้สึกตัว ไม่เคยได้ยินว่า กายเป็นเพียงฐานให้รู้จักจิต ถ้าเห็นจิตแล้วข้ามกายไปดูจิตอย่างเดียวก็ได้
เค้าสอนให้เท่าทันความคิด ไม่เคยได้ยินว่า ถ้าฟุ้งซ่านให้ใช้ดูลมพุทโธให้สงบระยะหนึ่งก่อน เมื่อสงบแล้วจึงค่อยมาฝึกรู้สึกตัว
เค้าสอนให้ออกจากความคิด ไม่เคยได้ยินว่า ให้ใช้ความคิดพิจารณาธรรมะ เปิดตำราเทียบเคียงความถูกต้อง
เค้าสอนให้เจริญสติอยู่ทุกขณะ ไม่เคยได้ยินว่า ง่วงเหนื่อยมากให้หยุดพัก เอาทำสบายๆเป็นเกณฑ์
สิ่งเหล่านี้ผมไม่เคยได้ยินจากคำสอนที่ผมฟังจากเทปมาเป็นร้อยๆรอบ แต่กลับได้ยินมาตลอดจากลูกศิษย์ที่อ้างว่าฝึกตามแนวทางของท่าน ผมอาจจะฟังไม่ถูกต้องเองก็เป็นได้ แต่จากที่ผมสังเกตการสอนของหลวงพ่อเทียน เค้าไม่ใช่ลักษณะของการประนีประนอมหรือพยายามจะรวมสายที่แตกแยกเป็นหนึ่ง ธรรมที่ท่านสอน สอนเพียงสิ่งที่ท่านเข้าใจจากตัวเองที่ได้พิสูจน์แล้วเท่านั้น ไม่มีการอ้างอิงเอาวิธีสายอื่นๆมาช่วยต่อยอดอะไรทั้งนั้น วิธีที่เค้าสอนมันไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยตัวมันเอง
จากการที่ผมได้สนทนากับคนหลายคนที่ฝึกสายเดียวกันหรือต่างสาย ความจริงที่ผมพบก็คือ ผมเข้าใจไม่เหมือนพวกเค้า พวกเค้าเข้าใจไม่เหมือนผม พวกเราประสบและพบเจอความเข้าใจคนละอย่าง ใครๆก็ว่าของตัวเองถูก เพราะฉะนั้นถ้าคุณเห็นว่าสิ่งที่ผมเขียนเป็นเรื่องเหลวไหลและห่างไกลจากการไปพ้นจากทุกข์ ไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องเสียเวลาอ่าน ผมพูดตรงๆเลยนะผมไม่ง้อเลยครับ ในเมื่อผมเองก็ทำอย่างเดียวกัน ผมไม่เสียเวลาอ่านอะไรที่ผมเห็นว่าห่างไกลจากการรู้จักตัวเอง และสิ่งที่ผมใช้เลือกว่าคำสอนไหนผิดหรือถูกคือ ลงมือพิสูจน์และสังเกตตัวผู้สอนว่าทำได้อย่างที่สอนหรือเปล่า พวกที่เก่งพูดคือ ตัวเลือกแรกที่ผมจะตัดออกบัญชีรายชื่อ ผมจับตาดูพวกเก่งทำก่อน
สำหรับคนที่ฝึกแล้วเข้าใจไปคนละแบบกับผม พวกเค้าจะไปประสบพบเห็นอะไรนั้นผมไม่ทราบและผมไม่กระหายอยากรู้แม้แต่นิดเดียว แต่เมื่อเราได้เผชิญหน้ากันเราจะรู้ได้เองว่า เราเข้าใจไม่เหมือนกัน คุณไม่มีทางที่จะมาตรงจุดผม และผมจะไม่มีวันหวนไปเจอคุณ เหมือนมันเลือกเทือกเดียวกันแต่เล็งคนละยอดเขานั่นเอง
ผมจะเขียนอะไรต่ออีกซักนิดเพราะเนื้อหามันใกล้กัน และระหว่างนี้ผมอาจจะไม่มีเวลาอัพเดทบทความ พวกคุณไม่มีความจำเป็นต้องเสียเวลาเข้ามาเยี่ยมในช่วงนี้ ผมไม่ได้ปลื้มนักหรอกที่ตัวเลขคนเข้าชมบล็อกมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมเพียงใช้มันเช็คว่า ยังมีคนที่กลับมาอ่านอยู่เท่านั้น จะให้บอกกี่ครั้งก็ได้ผมไม่สนคนอ่าน ผมสนคนทำ
ความเหมือนกัน เจอเหมือนกัน ปีนเขายอดเดียวกันนี้ ผมขอนำเรื่องของคุณพ่อผมมาเล่าให้ฟัง
ผมไม่ค่อยสอนอะไรคุณพ่อผมมากนัก ผมมักจะถามเค้าเพียงแค่ว่า รู้สึกตัวไหม รู้สึกชัดไหม เค้ามักตอบว่า รู้สิ ยกมือมันก็ต้องรู้อยู่แล้ว ต่อมาเค้าคงสงสัยว่า รู้สึกตัวแล้วจะให้รู้สึกอะไรอีก ทำไมผมถามซ้ำๆอยู่แค่คำถามเดียวมาเป็นปีปี ถ้ามันพอจะก้าวหน้ามันต้องถามคำถามอื่นบ้างซิ
ผมเริ่มด้วยการให้เค้า ตอบว่าความรู้สึกตัวที่ไม่เปลี่ยนไปจากเดิม แม้ว่าเราจะไม่เคลื่อนเราก็รู้สึก เค้าบอกว่า ที่มัน ชาๆ ใช่ไหม ( ซึ่งคำพูดนี้ไปตรงกับคำพูดของน้องชายของผมอีกคนที่ผมแนะอยู่ เค้าจะพูดเลยว่า ความรู้สึกที่มันชาๆเฉยๆนี่ใช่ไหม สองคนนี้จับตัวเดียวกันได้แต่เค้าทั้งคู่ไม่มั่นใจว่ามันจะนำไปสู่อะไร ผมจึงบอกว่า ไม่ต้องสนใจว่ามันจะเรียกว่า ชาๆ หรือเฉยๆ เพราะบางคนอาจจะไม่พูดออกมาแบบนี้ ให้จับสังเกตความรู้สึกตัวที่ไม่ว่า จะเคลื่อนหรือหยุด ความรู้สึกตัวนี้จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ตอนนั้นน้องผมติดอารมณ์ง่วง ผมแอบเห็นนั่งคอพับอยู่ในกุฏ ตอนนั่งในศาลาก็เห็นวูบๆ ผมรู้ว่าถึงจุดที่ต้องเข้าแล้ว ผมบอกเค้าว่า ให้ทำช้าๆแบบนี้แบบนี้นะ สองชั่วโมงผ่านไปบอกว่า หายง่วงแล้ว จากนั้นก็ฝึกแบบแทบจะไม่หยุดอีกเลย เค้าถามผมว่ารู้ได้ยังไงว่า ความรู้สึกตัวอันนี้นั้นมีอยู่ เรื่องง่ายๆก็สังเกตเอานะซิผมว่าอย่างนั้น )
กลับมาที่คุณพ่อผมนะครับ เค้าค่อยๆเริ่มฝึกใหม่ เหมือนกับจะหาว่า ไอ้ความรู้สึกตัวที่ผมถามซ้ำซากอยู่นั่น มันใช่ตัวเดียวกับที่เค้ากำลังรู้สึกรึเปล่า เค้าเริ่มเอะใจจึงเริ่มวางเวลาฝึกเป็นระบบ ใช้เวลาก่อนนอนสองถึงสามชั่วโมง ผ่านไปประมาณหนึ่งอาทิตย์ เค้าโทรหาผม บอกว่า รู้สึกตัวดีมาก มันชัดเจนมาก พ่อว่าแต่ก่อนพ่อยังรู้สึกตัวไม่จริงนะ ตอนนี้เลยเคลื่อนไหวซ้ำไปซ้ำมา ทีละจังหวะซ้ำๆอยู่อย่างนั้น อย่างพลิกมือนี่พลิกอยู่อย่างเดียวนี่ล่ะยี่สิบครั้ง แล้วค่อยยกมือขึ้นอีกยี่สิบครั้ง เอาให้มันรู้สึกจริงๆไปเลย มันถูกไหมแบบนี้ ผมไม่ได้ตอบอะไรมาก นอกจากบอกให้ทำอย่างนั้นล่ะต่อไป แต่ผมรู้ทันทีสัญญาณแรกมาแล้ว
วันต่อมาเค้าโทรหาอีกบอกว่า ตอนนี้เค้าเคลื่อนไหวช้ามากๆ คนอื่นเห็นต้องรำคาญแน่ ที่ต้องทำอย่างนั้นเพื่อให้มันรู้สึกชัดจริงๆ พ่อว่าพ่อยังอ่อนเลยคิดได้ว่า น่าจะกลับมาเคลื่อนไหวให้มันช้าๆหน่อย เราจะได้จับความรู้สึกตัวได้ชัดๆ เรายังไม่เก่งน่าจะเอาฐานให้แน่นก่อน ผมคิดในใจสัญญาณที่สองออกมาแล้ว เค้าเล่าต่อว่า แต่ก่อนที่เราว่าเรารู้สึกตัวนั่นมันรู้สึกก็จริง แต่เป็นความรู้สึกตัวระดับผิวสัมผัส ยกมือไปมามันก็แค่วูบๆ จะมารู้สึกแค่ตอนหยุด แต่ตอนนี้มันไม่ใช่นะ มันรู้เข้าไปยันข้างในเนื้อเลย จะเคลื่อนจะหยุดก็รู้สึกแบบนี้ พอมาจับจุดนี้เข้าใจเลยว่า ทำไมถามซ้ำๆอยู่ได้ว่า รู้สึกชัดไหม เข้าใจเลยว่าความรู้สึกตัวที่เรารู้สึกเมื่อก่อน กับความรู้สึกอันนี้มันเป็นคนละตัวกัน
ตอนแรกมันรู้ที่มือขวาก่อนตอนช่วงที่กำลังจะวางลงบนเข่า ด้วยความที่เราเคลื่อนไหวช้าๆนี่ล่ะ เราถึงจับมันได้ พอเราจับมันได้ มันก็ลามไปที่แขน ไปที่ไหล่ ไล่ลงไปทั้งตัวก็ง่ายแล้ว ระหว่างฝึกหน้ามันเต้นวุบๆเหมือนตอนกินเหล้า ตอนนอนก็ตื่นบ่อยมากนึกว่าเช้าแล้ว คืนนึงตื่นขึ้นมาซักสี่รอบได้มั้ง ถ้าให้เปรียบเหมือนรูปพระพุทธเจ้าที่แปะอยู่ในห้องพระนั่นล่ะ ที่มีแสงออกมาจากตัว แต่พ่อไม่มีแสงออกมาจากตัวนะ ความรู้สึกตัวข้างในที่มันเกิดมันเป็นอย่างนั้น ( ผมแปลกใจมากเพราะนี่คือคำพูดเดียวกับที่ผมบอกตัวเองตอนที่ผมอยู่ตรงจุดนี้ ) ผมเลยบอกว่า มันเหมือนหลอดไฟที่สว่างอยู่ใช่ไหม เค้าบอกว่า อืม เป็นอย่างนั้นใช่เลย
ผมจึงบอกว่า เคล็ดในการผ่านจุดนั้น คือ รู้สึกตัวให้ชัดด้วยการเคลื่อนไหวช้าๆ ตัวนี้จะไปแก้ทั้งการปวดเมื่อยและความง่วง เค้าจึงถามว่า แล้วทำไมไม่บอกแต่แรกเล่า ว่าให้ทำช้าๆ ผมจึงว่า เพราะคนเราจะจำมันได้ฝังใจไปจนตายกับอะไรก็ตามที่เรารู้ขึ้นมาได้เองโดยไม่ต้องมีคนบอกนะสิ
ผมเองก็เคยติดจุดนี้ แล้วก็เจอทางแก้แบบเดียวกันนี่ โดยไม่ต้องมีคนมาบอก ต่อไปเวลาเราจะสอนใคร เราจะมั่นใจ เพราะเราผ่านมาได้จริง และคนที่ผ่านมาก็จะใช้วิธีที่เหมือนกับเราด้วย ประการต่อมาถ้าเราผ่านได้ด้วยตัวเอง เราจะมีกำลังใจในการฝึกต่อไป เราจะรู้ว่าเราไปต่อได้
พอคนเราเห็นพัฒนาการตัวเอง ก็เลยฝึกต่อเองโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ แต่ถ้าถามว่าพ่อรู้อะไรมั่ง พ่อไม่รู้อะไรเลยนะ ก็เราบอกแค่ว่า ให้รู้สึกตัวอย่างเดียวแค่นั้นไม่ใช่เหรอ รูปนาม ขันธ์ห้า ไตรลักษณ์ ปรมัตถ์ อะไรพ่อไม่รู้หรอก พ่อไม่รู้คำศัพท์ พ่อจะเอาแค่รู้สึกตัวล้วนๆให้มันชัดๆนี่ล่ะ
ผมก็เลยบอกว่าเลื่อนระดับมาได้ขั้นนึง คนร้อยคนฝึกจะมาถึงจุดนี้ได้ 70-80 คน พ่อผมถามต่อว่าแล้วขั้นต่อไปล่ะ ผมเลยบอกว่าขั้นต่อไปอาจารย์ผมจากร้อยคนให้ 5 คน แต่ถ้าถามผมผมให้ 2 คน แล้วรู้ได้ไงว่าสิ่งที่พ่อพูดไม่ได้โกหก พ่ออาจจะไปเปิดเน็ตลอกเอาคำพูดจากใครมาตอบเราก็ได้ ไม่มีครูที่เก่งจริงคนไหนที่โดนศิษย์ตัวเองหลอกได้หรอกครับ ผมโม้ทับไปแบบนั้น ของแค่นี้มองออกง่ายมากว่าผ่านมาจริงหรือเปล่า การกระทำท่าทางมันฟ้อง มันไม่ใช่ความรู้ที่จะพล่ามอะไรออกมาก็ได้ แต่มันแสดงผ่านกิริยาท่าทาง เพราะนี่คือการเป็น
ขอให้วันนี้ของทุกคนสวยงามต่อไปครับ
เครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง
ผมฟังคำสอนจากหลวงพ่อเทียนมาตลอดว่า สมาธิ เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างกลางคือความสงบ แต่ผมไม่เคยเข้าใจอย่างลึกซึ้งเลยว่า อะไรคือความสงบ ผมพอจะทราบความหมายคร่าวๆจากการตีความตามตัวหนังสือว่า มันหมายถึงพวกที่นั่งหลับตาทำสมาธิดิ่งลึกลงในอารมณ์อันประณีตแล้วจมแช่กับอาการสุขลึกล้ำ การติดกับของอย่างนั้นคือ กิเลสอย่างกลาง ตอนนั้นผมเข้าใจอย่างนั้นนะครับ
แต่ในเมื่อผมไม่ได้ฝึกตนมาด้วยวิธีการเพื่อมุ่งเข้าหาความสงบประเภทนั้น ผมจะไปมีความสงบอันปราณีตเช่นนั้นได้อย่างไร มันหมายความว่าผมข้ามกิเลสอย่างกลางได้เลยหรือเปล่านะ นี่ผมเก่งขนาดนี้เชียว ผมคงเป็นชายผู้ไม่มีกิเลสอย่างกลาง ผมหัวเราะตัวเองแล้วบอกว่า งี่เง่า
ผมจึงเริ่มสังเกตตัวเองและถามตัวเองว่าอะไรคือความสงบกันแน่ และผมได้ทราบว่า เมื่อเราเจริญความรู้สึกตัวมากเข้าๆ ความรู้สึกตัวที่ตื่นขึ้นทั้งตัวจะไปกลบทับอาการทั้งหมด มันจะตื่นตัวอย่างเดียว และผมจะพอใจในอาการตื่นที่ไม่มีอะไรมารบกวนนั้น ในเมื่อมันเกิดบ่อยๆ ผมก็เข้าใจว่า ยิ่งฝึกเก่งเท่าไหร่มันต้องตื่นอยู่อย่างนี้ตลอดไป
เมื่อผมเข้าใจเรื่องของอารมณ์ และได้อ่านสิ่งที่ครูบาอาจารย์สายหลวงพ่อเทียนถ่ายทอดไว้ แม้แต่คำสอนของตัวท่านเอง ท่านกลับบอกว่า “ต้องให้มันเป็นอารมณ์” “ถ้าไม่มีอารมณ์นั่นแสดงว่าเราเขาไปติดความสงบแล้ว” “ต้องทวนอารมณ์” “วิปัสสนาเป็นเรื่องของอารมณ์” คำพูดพวกนี้สื่อถึงอะไรบางอย่างฟังผ่านๆเหมือนผมจะรู้ แต่ผมไม่เข้าใจ ผมไม่แตกฉานพอ
ผมเพิ่งจะมาเข้าใจคำพูดพวกนี้อย่างแจ่มแจ้งไม่นานนี่เอง แม้ว่าการตื่นขึ้นทั้งตัวจะเกิดขึ้นบ่อยมากหรือถี่มาก แต่อาการของความคัน ความเมื่อย ความคิดก็ยังต้องเกิดตามปัจจัยที่มากระทบมัน มันจะคอยขึ้นมาเบียดทำลายความมั่นคงแนบแน่นของความรู้สึกตัวและสร้างความท้อถอยให้เกิดแก่ผู้ฝึก ของพวกนี้พัฒนาให้ไกลไปกว่านี้ไม่ได้เพราะธรรมชาติของขันธ์ห้าเป็นเช่นนั้นเอง จะห้ามไม่ให้รู้ไม่ได้ในเมื่อวิญญาณขันธ์เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า
แต่การที่เราตั้งมั่นอยู่กับความรู้สึกตัวที่ล้วนๆโดยไม่หวั่นไหวต่ออาการใดใดของขันธ์ห้าอย่างต่อเนื่องไม่หยุดพัก กลับทำให้ธรรมชาติแห่งความรู้สึกตัวล้วนๆแสดงความเป็นจริงออกมา นั่นคือ สิ่งนี้ไม่เปลี่ยนแปลงตามขันธ์ห้าแม้แต่นิดเดียว ต่อให้เจ็บปวด เมื่อยล้า ร้อนจัด ความรู้สึกตัวล้วนๆไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย มันคงที่ของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ผมเข้าใจเดี๋ยวนั้นเลยว่าอะไรคือกิเลสอย่างกลาง และทำไมสมาธิคือเครื่องกำจัดมัน นอกจากนั้นมันยังรู้ไปถึงกิเลสอย่างละเอียดด้วย ผมมั่นใจมากด้วยว่า สติสัมปชัญญะที่ฝึกจนเต็มที่ถึงที่สุดแล้วนั้น จะรู้เป็นตลอดเวลา
( ผมเคยถามพระคนหนึ่งเค้ามาจากสายอื่นไม่ขอบอกนะครับว่าจากไหน ในสายตาผมเค้าพูดจาเลอะเทอะ ผมจึงถามเค้าว่า “จริงหรือครับที่ทุกอย่างนั้นตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์” เค้าบอกอย่างมั่นใจว่า “ใช่ทุกอย่าง” ผมจึงถามว่า “ตัวกฎไตรลักษณ์เองนั้นตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์หรือไม่” “ตัวธรรมะที่บอกว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมะข้อนี้เที่ยงหรือไม่” “ความตายนั้นเที่ยงหรือไม่” เค้าและบรรดาศิษย์หัวเราะในคำถามเพี้ยนๆของผมแล้วบอกว่าผมต้องกลับไปศึกษาเรื่องสมมติและปรมัตถ์ให้ดีก่อนแล้วค่อยมาถาม ผมจึงถามต่อว่า “ในเมื่อต้องแยกสมมตและปรมัตถ์ออกจากกันจะใช้คำว่าทุกอย่างได้อย่างไร” พวกคุณที่อ่านบทความนี้ลองหาคำตอบเอาเองนะครับ “สิ่งทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง แล้วความไม่เที่ยงมันเที่ยงหรือไม่” “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน แล้วความไม่แน่นอนนั้นแน่นอนหรือไม่” สุดท้ายผมถามเค้าว่า “สติสัมปชัญญะที่ฝึกมาจนถึงที่สุดแล้วเที่ยงหรือไม่” เค้าบอกว่า “ไม่” ผมจึงหมดความสนใจในคนคนนี้ทันที )
กลับมาที่การฝึกนะครับ
พอผมเข้าใจตรงนี้ผมยิ่งบ้าระห่ำเข้าไปใหญ่ จิตใจมันไม่กลัวอุปสรรคในการฝึกอะไรเลย ขอให้ส่งกิเลสหรือความทุกข์ตัวขัดขวางที่เก่งที่สุดออกมาทีเถอะเพราะผมรู้ว่าผมจะผ่านได้ เคล็ดของมันไม่ได้อยู่ตรงการละทำลายอุปสรรค แต่อยู่ตรงการให้อุปสรรคเกิดขึ้นให้อารมณ์เกิดขึ้น แต่ความรู้สึกตัวล้วนๆที่ฝึกมาดีนั้นจะชัดเจนอยู่ตลอดเวลา มันเข้าไปขัดกระบวนการการเกิดของทุกข์ มันไปเข้าใจเรื่องการทำบุญให้ทานว่าทำยังไงถึงจะทำบุญได้ตลอดเวลา มันแหวกกุศลและอกุศลออกจากกันแล้วทะลวงผ่านช่องกลางระหว่างมันทั้งคู่ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมยอมรับตัวเองว่า เก่ง มีเพื่อนหลายคนเคยบอกว่า เออมึงเก่ง งานมึงดี มึงทำได้ไง กูชอบ แม้แต่อาจารย์ผมเค้าก็เคยชมว่า เราเก่งมากนะที่มาถึงจุดนี้ได้ แต่มันไม่ใช่ความรู้สึกที่เรายอมรับตัวเราได้เองแบบนี้
เมื่อก่อนนี้เมื่อมีความรู้สึกเกิดขึ้นมันจะวิ่งเข้าจับตัวที่หยาบก่อนเสมอ แต่คราวนี้มันวิ่งไปหาความรู้สึกที่ละเอียดกว่าด้วยปัญญาที่ฝึกมาอย่างดี เมื่อก่อนเราต้องปัดความคิดปัดวิญญาณขันธ์ออกเราจึงเจอความรู้สึกตัวล้วนๆ แต่ตอนนี้เราไม่ต้องปัดเราก็เจอ ฐานของชีวิตไม่ใช่จิตอีกแล้วแต่เป็นความรู้สึกตัว เหมือนกับเมื่อก่อนเราแบมืออยู่ เราต้องคอยฝึกเพื่อให้มันคว่ำมือบ่อยๆให้ได้เพื่อให้มันเห็นอีกด้านหนึ่ง แต่ตอนนี้มันเห็นทั้งหน้ามือและหลังมือพร้อมกัน ผมรู้จักว่า อะไรคือสภาวะเดินออกมานอกห้อง แต่ยังออกไม่ได้มันยังมีแรงดึงผมให้กลับไปอยู่ในห้อง
จากเดิมความอึดอัดใจจะเกิดขึ้นเมื่อผมเผชิญอุปสรรค แต่ตอนนี้ผมรู้สึกสนุกกับอุปสรรคเพราะมันไม่มีทางแพ้ ธรรมชาติสร้างสิ่งนี้ให้เป็นผู้ชนะอย่างเดียว ความรู้สึกตัวล้วนๆมีอำนาจทำลายความทุกข์ยากของมนุษย์จากขันธ์ห้า แต่สิ่งที่เกิดจากขันธ์ห้าทำลายความรู้สึกตัวล้วนๆไม่ได้ กฎธรรมชาติของสิ่งนี้เป็นเช่นนั้น
มาถึงตรงที่ว่าอะไรคือความแตกต่างของวิญญาณขันธ์กับความรู้สึกตัวล้วนๆ เพราะความเข้าใจโดยทั่วไปมันหมายถึงรู้เหมือนกัน คำตอบก็แสนง่าย ความรู้สึกของวิญญาณขันธ์ไม่ต้องมีปัญญามันก็รู้สึกได้เอง เช่นความรู้สึกคัน ความรู้สึกรัก ความรู้สึกเมื่อย ความรู้สึกหิว ความรู้สึกเครียด ความรู้สึกท้อแท้ ของพวกนี้ไม่ต้องใช้ปัญญาอะไรในการรู้ มันรู้ขึ้นได้เอง ความรู้สึกตัวล้วนๆกับความรู้สึกแบบวิญญาณในขันธ์ห้าจึงเป็นคนละตัวกัน
การอธิบายความเข้าใจในระดับนี้เป็นเรื่องยาก ถ้าเลือกได้ผมจะสอนวิธีทำมากกว่าที่จะมานั่งอธิบาย แม้มันจะยากในการเคี่ยวเข็ญคน แต่ง่ายกว่าการอธิบายด้วยคำพูด
บางคนสงสัยว่าผมสอนพ่อตัวเองได้อย่างไร พ่อผมไม่ได้โง่ เค้าหัวแข็งไม่เชื่ออะไรง่ายๆและประสบการณ์ชีวิตเยอะ พระเณรอะไรไม่สนใจธรรมะอะไรไม่ต้องมาพล่าม แต่ทำไมเค้าเชื่อฟังผมในเรื่องฝึกเจริญสติ นั่นเพราะว่า ผมวางแผนเอาไว้ตั้งแต่ดร็อปเรียน จนเลิกเรียน จนขายบ้านช่อง เพื่ออะไร จุดมุ่งหมายมีเพียงอย่างเดียวคือ แสดงให้คุณพ่อเห็นว่า ผมลงทุนไปเพื่อเอาเวลาทั้งหมดในชีวิตมาฝึก ผมเอาจริงกับสิ่งนี้และสิ่งนี้ส่งผลกับผมจริง แล้วทำไมไม่บวชมันไปซะเลยล่ะ นั่นเพราะว่า การเป็นโยมแสดงออกให้คนใกล้ตัวเห็นได้ชัดมากกว่า ว่าคนที่จะไปจนสุดไม่จำเป็นต้องเป็นพระ ธรรมที่แท้จริงไม่ได้มีไว้เพื่อพระ แต่มีไว้เพื่อทุกคนขอให้ฝึกให้ถูกวิธีให้ต่อเนื่องเท่านั้น
การเจริญสติไม่ใช่เรื่องของความสนุก เพราะมันจะขัดใจตัวเองในทุกเรื่อง มันต้องเป็นคนที่สนใจจริงๆเท่านั้น ถึงจะยอมเสียเวลามานั่งฝึกเพื่อขัดใจตัวเอง และต่อเมื่อสามารถในการเอาชนะใจตัวเองได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า คุณจะเข้าถึงความสนุกบางอย่าง คือ สนุกที่ได้คว่ำตัวเอง สนุกกับการได้เห็นว่าสิ่งที่คนทั่วไปบอกว่าทำไม่ได้หรอกขี้โม้ทั้งเพ มันไม่ใช่แค่ทำได้แต่กำลังเป็นอยู่นี่ไง
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
แต่ในเมื่อผมไม่ได้ฝึกตนมาด้วยวิธีการเพื่อมุ่งเข้าหาความสงบประเภทนั้น ผมจะไปมีความสงบอันปราณีตเช่นนั้นได้อย่างไร มันหมายความว่าผมข้ามกิเลสอย่างกลางได้เลยหรือเปล่านะ นี่ผมเก่งขนาดนี้เชียว ผมคงเป็นชายผู้ไม่มีกิเลสอย่างกลาง ผมหัวเราะตัวเองแล้วบอกว่า งี่เง่า
ผมจึงเริ่มสังเกตตัวเองและถามตัวเองว่าอะไรคือความสงบกันแน่ และผมได้ทราบว่า เมื่อเราเจริญความรู้สึกตัวมากเข้าๆ ความรู้สึกตัวที่ตื่นขึ้นทั้งตัวจะไปกลบทับอาการทั้งหมด มันจะตื่นตัวอย่างเดียว และผมจะพอใจในอาการตื่นที่ไม่มีอะไรมารบกวนนั้น ในเมื่อมันเกิดบ่อยๆ ผมก็เข้าใจว่า ยิ่งฝึกเก่งเท่าไหร่มันต้องตื่นอยู่อย่างนี้ตลอดไป
เมื่อผมเข้าใจเรื่องของอารมณ์ และได้อ่านสิ่งที่ครูบาอาจารย์สายหลวงพ่อเทียนถ่ายทอดไว้ แม้แต่คำสอนของตัวท่านเอง ท่านกลับบอกว่า “ต้องให้มันเป็นอารมณ์” “ถ้าไม่มีอารมณ์นั่นแสดงว่าเราเขาไปติดความสงบแล้ว” “ต้องทวนอารมณ์” “วิปัสสนาเป็นเรื่องของอารมณ์” คำพูดพวกนี้สื่อถึงอะไรบางอย่างฟังผ่านๆเหมือนผมจะรู้ แต่ผมไม่เข้าใจ ผมไม่แตกฉานพอ
ผมเพิ่งจะมาเข้าใจคำพูดพวกนี้อย่างแจ่มแจ้งไม่นานนี่เอง แม้ว่าการตื่นขึ้นทั้งตัวจะเกิดขึ้นบ่อยมากหรือถี่มาก แต่อาการของความคัน ความเมื่อย ความคิดก็ยังต้องเกิดตามปัจจัยที่มากระทบมัน มันจะคอยขึ้นมาเบียดทำลายความมั่นคงแนบแน่นของความรู้สึกตัวและสร้างความท้อถอยให้เกิดแก่ผู้ฝึก ของพวกนี้พัฒนาให้ไกลไปกว่านี้ไม่ได้เพราะธรรมชาติของขันธ์ห้าเป็นเช่นนั้นเอง จะห้ามไม่ให้รู้ไม่ได้ในเมื่อวิญญาณขันธ์เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า
แต่การที่เราตั้งมั่นอยู่กับความรู้สึกตัวที่ล้วนๆโดยไม่หวั่นไหวต่ออาการใดใดของขันธ์ห้าอย่างต่อเนื่องไม่หยุดพัก กลับทำให้ธรรมชาติแห่งความรู้สึกตัวล้วนๆแสดงความเป็นจริงออกมา นั่นคือ สิ่งนี้ไม่เปลี่ยนแปลงตามขันธ์ห้าแม้แต่นิดเดียว ต่อให้เจ็บปวด เมื่อยล้า ร้อนจัด ความรู้สึกตัวล้วนๆไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย มันคงที่ของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ผมเข้าใจเดี๋ยวนั้นเลยว่าอะไรคือกิเลสอย่างกลาง และทำไมสมาธิคือเครื่องกำจัดมัน นอกจากนั้นมันยังรู้ไปถึงกิเลสอย่างละเอียดด้วย ผมมั่นใจมากด้วยว่า สติสัมปชัญญะที่ฝึกจนเต็มที่ถึงที่สุดแล้วนั้น จะรู้เป็นตลอดเวลา
( ผมเคยถามพระคนหนึ่งเค้ามาจากสายอื่นไม่ขอบอกนะครับว่าจากไหน ในสายตาผมเค้าพูดจาเลอะเทอะ ผมจึงถามเค้าว่า “จริงหรือครับที่ทุกอย่างนั้นตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์” เค้าบอกอย่างมั่นใจว่า “ใช่ทุกอย่าง” ผมจึงถามว่า “ตัวกฎไตรลักษณ์เองนั้นตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์หรือไม่” “ตัวธรรมะที่บอกว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมะข้อนี้เที่ยงหรือไม่” “ความตายนั้นเที่ยงหรือไม่” เค้าและบรรดาศิษย์หัวเราะในคำถามเพี้ยนๆของผมแล้วบอกว่าผมต้องกลับไปศึกษาเรื่องสมมติและปรมัตถ์ให้ดีก่อนแล้วค่อยมาถาม ผมจึงถามต่อว่า “ในเมื่อต้องแยกสมมตและปรมัตถ์ออกจากกันจะใช้คำว่าทุกอย่างได้อย่างไร” พวกคุณที่อ่านบทความนี้ลองหาคำตอบเอาเองนะครับ “สิ่งทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง แล้วความไม่เที่ยงมันเที่ยงหรือไม่” “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน แล้วความไม่แน่นอนนั้นแน่นอนหรือไม่” สุดท้ายผมถามเค้าว่า “สติสัมปชัญญะที่ฝึกมาจนถึงที่สุดแล้วเที่ยงหรือไม่” เค้าบอกว่า “ไม่” ผมจึงหมดความสนใจในคนคนนี้ทันที )
กลับมาที่การฝึกนะครับ
พอผมเข้าใจตรงนี้ผมยิ่งบ้าระห่ำเข้าไปใหญ่ จิตใจมันไม่กลัวอุปสรรคในการฝึกอะไรเลย ขอให้ส่งกิเลสหรือความทุกข์ตัวขัดขวางที่เก่งที่สุดออกมาทีเถอะเพราะผมรู้ว่าผมจะผ่านได้ เคล็ดของมันไม่ได้อยู่ตรงการละทำลายอุปสรรค แต่อยู่ตรงการให้อุปสรรคเกิดขึ้นให้อารมณ์เกิดขึ้น แต่ความรู้สึกตัวล้วนๆที่ฝึกมาดีนั้นจะชัดเจนอยู่ตลอดเวลา มันเข้าไปขัดกระบวนการการเกิดของทุกข์ มันไปเข้าใจเรื่องการทำบุญให้ทานว่าทำยังไงถึงจะทำบุญได้ตลอดเวลา มันแหวกกุศลและอกุศลออกจากกันแล้วทะลวงผ่านช่องกลางระหว่างมันทั้งคู่ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมยอมรับตัวเองว่า เก่ง มีเพื่อนหลายคนเคยบอกว่า เออมึงเก่ง งานมึงดี มึงทำได้ไง กูชอบ แม้แต่อาจารย์ผมเค้าก็เคยชมว่า เราเก่งมากนะที่มาถึงจุดนี้ได้ แต่มันไม่ใช่ความรู้สึกที่เรายอมรับตัวเราได้เองแบบนี้
เมื่อก่อนนี้เมื่อมีความรู้สึกเกิดขึ้นมันจะวิ่งเข้าจับตัวที่หยาบก่อนเสมอ แต่คราวนี้มันวิ่งไปหาความรู้สึกที่ละเอียดกว่าด้วยปัญญาที่ฝึกมาอย่างดี เมื่อก่อนเราต้องปัดความคิดปัดวิญญาณขันธ์ออกเราจึงเจอความรู้สึกตัวล้วนๆ แต่ตอนนี้เราไม่ต้องปัดเราก็เจอ ฐานของชีวิตไม่ใช่จิตอีกแล้วแต่เป็นความรู้สึกตัว เหมือนกับเมื่อก่อนเราแบมืออยู่ เราต้องคอยฝึกเพื่อให้มันคว่ำมือบ่อยๆให้ได้เพื่อให้มันเห็นอีกด้านหนึ่ง แต่ตอนนี้มันเห็นทั้งหน้ามือและหลังมือพร้อมกัน ผมรู้จักว่า อะไรคือสภาวะเดินออกมานอกห้อง แต่ยังออกไม่ได้มันยังมีแรงดึงผมให้กลับไปอยู่ในห้อง
จากเดิมความอึดอัดใจจะเกิดขึ้นเมื่อผมเผชิญอุปสรรค แต่ตอนนี้ผมรู้สึกสนุกกับอุปสรรคเพราะมันไม่มีทางแพ้ ธรรมชาติสร้างสิ่งนี้ให้เป็นผู้ชนะอย่างเดียว ความรู้สึกตัวล้วนๆมีอำนาจทำลายความทุกข์ยากของมนุษย์จากขันธ์ห้า แต่สิ่งที่เกิดจากขันธ์ห้าทำลายความรู้สึกตัวล้วนๆไม่ได้ กฎธรรมชาติของสิ่งนี้เป็นเช่นนั้น
มาถึงตรงที่ว่าอะไรคือความแตกต่างของวิญญาณขันธ์กับความรู้สึกตัวล้วนๆ เพราะความเข้าใจโดยทั่วไปมันหมายถึงรู้เหมือนกัน คำตอบก็แสนง่าย ความรู้สึกของวิญญาณขันธ์ไม่ต้องมีปัญญามันก็รู้สึกได้เอง เช่นความรู้สึกคัน ความรู้สึกรัก ความรู้สึกเมื่อย ความรู้สึกหิว ความรู้สึกเครียด ความรู้สึกท้อแท้ ของพวกนี้ไม่ต้องใช้ปัญญาอะไรในการรู้ มันรู้ขึ้นได้เอง ความรู้สึกตัวล้วนๆกับความรู้สึกแบบวิญญาณในขันธ์ห้าจึงเป็นคนละตัวกัน
การอธิบายความเข้าใจในระดับนี้เป็นเรื่องยาก ถ้าเลือกได้ผมจะสอนวิธีทำมากกว่าที่จะมานั่งอธิบาย แม้มันจะยากในการเคี่ยวเข็ญคน แต่ง่ายกว่าการอธิบายด้วยคำพูด
บางคนสงสัยว่าผมสอนพ่อตัวเองได้อย่างไร พ่อผมไม่ได้โง่ เค้าหัวแข็งไม่เชื่ออะไรง่ายๆและประสบการณ์ชีวิตเยอะ พระเณรอะไรไม่สนใจธรรมะอะไรไม่ต้องมาพล่าม แต่ทำไมเค้าเชื่อฟังผมในเรื่องฝึกเจริญสติ นั่นเพราะว่า ผมวางแผนเอาไว้ตั้งแต่ดร็อปเรียน จนเลิกเรียน จนขายบ้านช่อง เพื่ออะไร จุดมุ่งหมายมีเพียงอย่างเดียวคือ แสดงให้คุณพ่อเห็นว่า ผมลงทุนไปเพื่อเอาเวลาทั้งหมดในชีวิตมาฝึก ผมเอาจริงกับสิ่งนี้และสิ่งนี้ส่งผลกับผมจริง แล้วทำไมไม่บวชมันไปซะเลยล่ะ นั่นเพราะว่า การเป็นโยมแสดงออกให้คนใกล้ตัวเห็นได้ชัดมากกว่า ว่าคนที่จะไปจนสุดไม่จำเป็นต้องเป็นพระ ธรรมที่แท้จริงไม่ได้มีไว้เพื่อพระ แต่มีไว้เพื่อทุกคนขอให้ฝึกให้ถูกวิธีให้ต่อเนื่องเท่านั้น
การเจริญสติไม่ใช่เรื่องของความสนุก เพราะมันจะขัดใจตัวเองในทุกเรื่อง มันต้องเป็นคนที่สนใจจริงๆเท่านั้น ถึงจะยอมเสียเวลามานั่งฝึกเพื่อขัดใจตัวเอง และต่อเมื่อสามารถในการเอาชนะใจตัวเองได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า คุณจะเข้าถึงความสนุกบางอย่าง คือ สนุกที่ได้คว่ำตัวเอง สนุกกับการได้เห็นว่าสิ่งที่คนทั่วไปบอกว่าทำไม่ได้หรอกขี้โม้ทั้งเพ มันไม่ใช่แค่ทำได้แต่กำลังเป็นอยู่นี่ไง
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
ความรู้สึกตัวอะไร
จริงๆแล้วผมควรจะเขียนเรื่องนี้ก่อนเรื่องใดใดในบล็อก เนื่องด้วยคำคำนี้เพียงคำเดียวอันเป็นแก่นทั้งหมดของการฝึกฝนเจริญสติ ในวงการกรรมฐานไม่เฉพาะในเมืองไทยแต่เป็นทั่วโลกเข้าใจตีความหมายของคำว่ารู้สึกตัวไม่เหมือนกัน
ถ้าคุณต้องการถามคำถามแบบปราบเซียน ให้ตั้งคำถามง่ายๆกับคนที่ต้องการทดสอบว่า สติสัมปชัญญะคืออะไร คนที่เข้าใจตัวสติสัมปชัญญะที่แท้จริงจะไม่ตอบด้วยคำพูดเชิงอธิบายหรือพูดอะไรยาวๆฟังดูเทพยดามาตอบ แต่จะบอกวิธีให้คุณทำอะไรบางอย่างในขณะนั้นเพื่อจะบอกคุณว่า สติสัมปชัญญะคืออะไร คุณไปทดสอบถามคำถามนี้กับใครก็ได้ จะมีเพียงไม่กี่คนที่ตอบด้วยลักษณะชี้ลงที่การกระทำ นอกนั้นจะตอบด้วยคำพูดคำอธิบายทั้งสิ้น
ผมฟังมาโดยตลอดใครๆก็บอกว่าตัวเองเป็นสัมมาสติ ตัวเองฝึกตามหลักสัมมาสมาธิ ยังไม่เห็นใครพูดออกมาเลยว่า ผมฝึกด้วยแนวมิจฉาสติมิจฉาสมาธิ เรื่องที่ตลกคืออะไร บรรดาพวกที่บอกว่าตัวเองฝึกด้วยสัมมาสติหรือกำลังเที่ยวสอนคนอื่นว่าสัมมาสมาธิเป็นอย่างไรนั้นทะเลาะเถียงกันเอง และทำท่าเหมือนจะกล่าวทำนองว่า ฝ่ายที่ตนกำลังต่อสู้เพื่อผดุงความถูกต้องนั้น เป็นมิจฉาสติเป็นมิจฉาสมาธิ และฝ่ายที่ถูกกล่าวหาก็ไม่ยอมรับ กลับตอกเข้าให้ว่าแกต่างหากที่เป็นมิจฉา ถ้าทั้งสองฝ่ายถูกต้องสัมมาสมาธิหรือสัมมาสตินั้นมีหลายแบบหรือเปล่า ถ้าถามผม มันไม่ใช่แน่ สัมมาสมาธิและสัมมาสตินั้นมีเพียงอย่างเดียวและอย่างเดียวที่ว่านี้เป็น สมาธิและสติเพื่อการพ้นทุกข์ถ้าไปนอกเหนือจากจุดประสงค์นี้ ไม่ใช่สัมมาที่มีเส้นทางเดินเพียงหนึ่ง
สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้จึงไม่ขอเอาคำว่า สัมมาหรือมิจฉามาใช้อธิบาย พวกคุณที่กรุณาเสียเวลามาเยี่ยมอ่านบล็อกตัดสินเอาเอง อย่างที่พวกคุณสังเกตมาตลอดผมไม่เอาผู้อ่าน ผมไม่ง้อให้พวกคุณต้องมานั่งติดตามทุกอาทิตย์ ผมไม่ได้เขียนเอาเงินหรือประกวดเอาโล่ ผมจะไม่มาถกอะไรกับใครเพื่อจะหาข้อสรุปว่า ความรู้สึกตัวที่ผมจะบอกต่อไปนี้จริงๆแล้วมันเป็นสัมมาหรือมิจฉา เพราะสำหรับผมมันเป็นสัมมาเต็มขั้น แต่มุมมองของคนอื่นอาจเป็นมิจฉาเต็มเหนี่ยวก็ได้
ผมจะเริ่มด้วยประโยคง่ายๆที่ผมได้ยินมาตลอด “โกรธก็ให้รู้ว่าโกรธ” “มีราคะให้รู้ว่ามีราคะ” “ฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน” “ง่วงให้รู้ว่าง่วง” “จิตกระเพื่อมให้รู้ว่าจิตกระเพื่อม” ผมเป็นคนหนึ่งที่บอกได้เลยว่า ผมไม่เห็นด้วยกับคำสอนลักษณะนี้ แต่กว่าที่ผมจะไม่เห็นด้วยนั้น ผมฝึกอย่างหนักด้วยวิธีแบบนี้มาถึงสี่ปี และพบจุดอ่อนที่สำคัญของมัน ซึ่งทำให้ผมต้องตัดใจเลิกฝึกอย่างเสียดายเพราะผมแน่พอตัวกับการฝึกอย่างนั้น
ผมจะฟันลงไปเลยนะครับ จุดอ่อนของมันคือ “มันไม่มีการสิ้นจบ” แม้ว่าสิ่งต่างๆที่ผ่านการรู้เท่าทันจะเร็วขึ้นและค่อยลดลง แต่มันไม่สามารถ “ถอนราก” การโกรธ ไม่สามารถถอนรากราคะ ไม่สามารถถอนรากความฟุ้งซ่าน ไม่สามารถถอนรากความง่วง ไม่สามารถถอนรากการกระเพื่อมของจิต ความเท่าทันที่ฝึกมาอย่างดีช่วยให้ผมยั้งคำพูดหรือการกระทำด้วยอารมณ์ได้หลายครั้ง ผมกลายเป็นคนใจเย็นมากถ้าเทียบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันก็จริง แต่ผมสงสัยว่า คำว่าเสร็จกิจคำว่าสิ้นจบ ไม่น่าจะใช้กับความสามารถในการรู้เท่ารู้ทันเพียงแค่นี้
สำหรับคนที่พอใจผลการฝึกของตนในลักษณะการรู้เท่ารู้ทันเพียงพอแล้ว ชีวิตเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นมากแล้ว ไม่จำเป็นต้องอ่านต่อครับ ผมเสียเวลาเขียนของพวกนี้เพื่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม และคนในกลุ่มนั่นคือคนประเภทเดียวกันกับผมซึ่งมีไม่มาก กลุ่มคนที่จะไปให้ไกลแบบถอนขึ้นได้กระทั้งราก
มาเช็คลงรายละเอียดกันหน่อยว่า จุดอ่อนนี้เป็นอย่างไร เอาแค่คำสอนที่ว่า “โกรธให้รู้ว่าโกรธ” อะไรคือความแตกต่างของคนที่ฝึกกับไม่ฝึก คนที่อ่านบล็อกนี้ส่วนใหญ่เป็นคนที่ฝึกอยู่แล้ว ผมจะไม่พรรณนาจุดนี้มากนะครับ ไม่ว่าจะฝึกหรือไม่ฝึกย่อมรู้ตัวเวลาที่กำลังโกรธ เพียงแต่จะยอมรับออกมาหรือไม่เท่านั้นว่า โกรธอยู่นะ สิ่งที่ต่างกันก็คือ การเข้าไปรวมตัวกับอาการโกรธ ผู้ที่ฝึกจะสามารถแยกตัวออกมาจากอารมณ์ได้ หรือที่เรียกว่าเห็นจิต และปัญญาของการเห็นนี่เอง ที่ช่วยระงับการกระทำและคำพูด ยิ่งฝึกเก่งยิ่งไว แต่ประเด็นที่ผมจะบอกไม่ใช่จุดนี้ สิ่งที่ผมจะบอกคือ ไม่ว่าคุณจะฝึกหรือไม่ฝึกคุณย่อมรู้ทั้งนั้นว่า ชั้นกำลังโกรธ ชั้นกำลังไม่พอใจ
พอยท์ของผมอยู่ตรงไหน นั่นคือ การรู้ว่าโกรธนั้นไม่จำเป็นต้องฝึกสมถะวิปัสสนาอะไรทั้งนั้น ธรรมชาติของคนหรือสัตว์มันก็รู้เองอยู่แล้ว ไม่ต้องใช้สติปัญญาอะไรเพื่อรู้อาการโกรธ คนเรามันก็รู้ได้เองว่ามันกำลังไม่พอใจ การสอนลักษณะ โกรธให้รู้ว่าโกรธจึงไม่เกี่ยวกับปัญญาการเข้าไปรู้อารมณ์ตัวนี้ เพราะมันรู้ได้เองทุกคนอยู่แล้ว แต่การฝึกลักษณะ โกรธให้รู้ว่าโกรธ มันแค่ไปช่วยพัฒนาปัญญาในส่วนของการเท่าทันอารมณ์
ผมอธิบายมาหลายย่อหน้าเพื่ออะไร เพื่อที่จะบอกว่าความรู้สึกตัวที่ผมเขียนมาโดยตลอดในบล็อกนี้ จำเป็นต้องอาศัยปัญญาในการเข้าไปรู้ ถ้าไม่มีปัญญาจะเข้าไปรู้ความรู้สึกตัวอันนี้ไม่ได้ มันไม่เหมือนอารมณ์โกรธที่ไม่ฝึกมันก็รู้สึกเองได้โดยสัญชาตญาณ แต่ความรู้สึกตัวล้วนๆอันนี้มันต้องผ่านการฝึกฝนและต้องเป็นการฝึกที่ถูกวิธีด้วยมันถึงจะเข้าไปรู้ได้
ปัญหาของวงการเจริญสติที่ผมพบคือ พวกเค้าเหมาความรู้สึกทั้งหมดของมนุษย์ว่าเป็นความรู้สึกตัวที่ใช้เจริญสติต่อการมุ่งไปสู่การรู้จริง และไม่เพียงฝึกแต่ยังสอนว่าขอให้รู้สึกถึงความรู้สึกอะไรก็ได้ที่ปรากฏเป็นพอ มันอาจใช่ในความหมายของคนหลายคน แต่ไม่ใช่ตามความหมายที่ผมเขียนในบล็อกนี้ และมั่นใจแบบพร้อมยอมตายด้วยว่าไม่ใช่ตามคำสอนของหลวงพ่อเทียน
ผมไปอยู่คลุกคลีกับวัดนับรวมเวลาเกือบปีครึ่ง ผมพบว่า พระในสายหลวงพ่อเทียนเองยังสอนไม่เหมือนกัน พวกเค้าเข้าใจไม่ตรงกัน แต่พวกเค้าพูดสอนเหมือนกันว่า ให้รู้สึกตัว ถ้าตั้งใจฟังดีดีแบบรายหัวรายตัวจะรู้เลยว่า แม้คำพูดคล้ายกันแต่พูดสื่อไปคนละตัว การแนะวิธีฝึกก็ต่างกันด้วย
คำสอนที่ถูกต้องควรจะเป็น “เมื่อโกรธให้รู้สึกตัว” ซึ่งความรู้สึกโกรธกับความรู้สึกตัวนี้เป็นคนละตัวกัน ธรรมชาติของมนุษย์เรานั้น เวลาที่เกิดความรู้สึกขึ้นมันจะเข้าจับความรู้สึกที่หยาบกว่าก่อนเสมอ ถ้าเทียบความรู้สึกโกรธกับความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวละเอียดกว่ามาก ในขณะที่ความรู้สึกโกรธเป็นเพียงอารมณ์ คนเราจึงต้องฝึกพัฒนาให้เข้าไปรู้ความรู้สึกอันละเอียดอันนี้ เพื่อเหนี่ยวตัวเองไม่ให้ไปจมอยู่กับอารมณ์ และจากประสบการณ์ของผม มีไม่กี่คนที่ทำได้ อันนี้พูดแบบตรงๆเลยนะครับ
เมื่อใครก็ตามไม่สามารถฝึกพัฒนาตัวเองให้แนบแน่นกับความรู้สึกตัวถึงขนาดที่ทำให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันดึงไปร่วมไม่ได้ พวกเค้าจะหันเข้าพึ่งสิ่งที่เรียกว่า “เห็น” แทน มันจึงเป็นที่มาของการสอนว่า “โกรธให้รู้ว่าโกรธ” ซึ่งมันสื่อให้คนสมัยนี้เข้าใจโดยอัตโนมัติว่า ให้เห็นอาการโกรธ เพียงแค่นั้นไม่ต้องไปแทรกแทรงอะไรมัน แค่เพียงให้รู้ธรรมชาติของมันนั่นเพียงพอแล้ว
คำถามต่อมาคือ เห็นแล้วมันยังไงล่ะ แน่นอนว่ามันยั้งการกระทำได้เพราะสติในการเท่าทันมันถูกพัฒนา แต่อาการโกรธจะไม่มีทางสิ้นจบ และนี่เป็นเหตุผลที่ตอบได้อย่างชัดเจนว่า ทำไมผู้ที่กำลังสอนคนอื่นอยู่เรื่องการเท่าทันจิต เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวชนิดสาหัสจึงควบคุมตนเองไม่ได้ เพราะมันทำได้เพียงแค่รู้แค่เห็น แต่ขาดฐานอันมั่นคงของสติ และสติอันนี้หมายถึงความรู้สึกตัวที่ต้องผ่านการฝึกมาอย่างถูกวิธีด้วย
บางคนฝึกรู้สึกตัวไปพบกับความเบาสบายเข้า มันก็ไปติดความเบาสบายอีก เพราะเข้าใจว่านั่นคือความรู้สึกตัวแท้ๆ ที่พยายามดิ้นรนค้นหามานาน พอไปตีความตามตำราว่า ไม่ทุกข์ ก็ยิ่งเข้าทางต้องฝึกเพื่อยื้อความสบายนี่ให้แสดงตัวออกมามากๆ ตราบใดที่ยังบอกตัวเองได้ว่า เราชอบพอใจในความรู้สึกนี้ สำหรับผมสิ่งนั้นไม่ใช่ความรู้สึกตัวแท้ๆเป็นเพียงอารมณ์และวันนึงมันจะถูกทำลายลงตามกฎไตรลักษณ์
ต่อไปนี้ผมจะลงเรื่องความรู้สึกตัวเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไล่พัฒนาการมาตั้งแต่ รูปนาม
ใน ระยะรูปนาม ความรู้สึกตัวจะตื่นขึ้นทั้งตัว ความรู้สึกตัวจะกระจายไปทั่วทั้งตัว ไม่ว่าอะไรเคลื่อนไหวบนร่างกายคุณ คุณจะรู้สึกทั้งหมด มันจะรู้สัมผัสกระทบทุกจุด ความรู้สึกตัวจะไวมาก โดยเฉพาะจุดข้อต่อบนร่างกาย การกระพริบตาหายใจกลืนน้ำลาย เคี้ยวข้าว หัวใจเต้น นอนหลับพลิกกลับตัว เดินไปเดินมา จะรู้สึกสิ่งเหล่านี้อยู่ตลอด
ใน ระยะศีลปรมัตถ์ ความรู้สึกจะตื่นทะลวงซึมลึกลงไปในกล้ามเนื้อ พอถึงจุดนี้ไม่ว่าจะเคลื่อนหรือหยุดเคลื่อนไหวร่างกาย ความรู้สึกภายในจะเป็นเหมือนเดิมตลอด ความรู้สึกตัวนี้จะไม่แปรเปลี่ยนตามการเกิดดับของจิต ไม่แปรเปลี่ยนตามอายุ ไม่แตกต่างชายหญิงเด็กชรา และยังรู้สึกภายนอกผิวสัมผัสในเวลาเดียวกันด้วย ผู้มาถึงตรงนี้จะรู้วิธีชนะไตรลักษณ์
ใน ระยะต้นกำเนิดของความคิด จะเข้าใจว่า อะไรคือตัวกำหนดทิศทางของความคิด ความรู้สึกตัวล้วนๆส่งผลอย่างไรต่อเรื่องที่คิดออกมา เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้นและความรู้สึกตัวลดน้อยลงส่งผลอย่างไรต่อเรื่องที่คิดออกมา ผู้มาถึงตรงนี้จะมีเรื่องกังวลในชีวิตไม่กี่เรื่อง
ใน ระยะการรวมตัวกันเข้า ความรู้สึกตัวจะเข้าโจมตีไปจนถึงสมองแทรกลงไปในทรวงอก ตัดมายาสถานที่เกิดของความทุกข์ จะเข้าใจว่ากายและใจคือสิ่งเดียวกัน หรือเห็นความจริงว่า ใจคือสิ่งที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง ความรู้สึกจะแนบแน่นลงบนฐานกาย ไม่ใช้ความคิดในการรู้สึกตัวอีกต่อไป
ในระยะสุดท้ายยังไม่ทราบครับ
ขอให้วันนี้ของทุกท่านสวยงามต่อไป
ถ้าคุณต้องการถามคำถามแบบปราบเซียน ให้ตั้งคำถามง่ายๆกับคนที่ต้องการทดสอบว่า สติสัมปชัญญะคืออะไร คนที่เข้าใจตัวสติสัมปชัญญะที่แท้จริงจะไม่ตอบด้วยคำพูดเชิงอธิบายหรือพูดอะไรยาวๆฟังดูเทพยดามาตอบ แต่จะบอกวิธีให้คุณทำอะไรบางอย่างในขณะนั้นเพื่อจะบอกคุณว่า สติสัมปชัญญะคืออะไร คุณไปทดสอบถามคำถามนี้กับใครก็ได้ จะมีเพียงไม่กี่คนที่ตอบด้วยลักษณะชี้ลงที่การกระทำ นอกนั้นจะตอบด้วยคำพูดคำอธิบายทั้งสิ้น
ผมฟังมาโดยตลอดใครๆก็บอกว่าตัวเองเป็นสัมมาสติ ตัวเองฝึกตามหลักสัมมาสมาธิ ยังไม่เห็นใครพูดออกมาเลยว่า ผมฝึกด้วยแนวมิจฉาสติมิจฉาสมาธิ เรื่องที่ตลกคืออะไร บรรดาพวกที่บอกว่าตัวเองฝึกด้วยสัมมาสติหรือกำลังเที่ยวสอนคนอื่นว่าสัมมาสมาธิเป็นอย่างไรนั้นทะเลาะเถียงกันเอง และทำท่าเหมือนจะกล่าวทำนองว่า ฝ่ายที่ตนกำลังต่อสู้เพื่อผดุงความถูกต้องนั้น เป็นมิจฉาสติเป็นมิจฉาสมาธิ และฝ่ายที่ถูกกล่าวหาก็ไม่ยอมรับ กลับตอกเข้าให้ว่าแกต่างหากที่เป็นมิจฉา ถ้าทั้งสองฝ่ายถูกต้องสัมมาสมาธิหรือสัมมาสตินั้นมีหลายแบบหรือเปล่า ถ้าถามผม มันไม่ใช่แน่ สัมมาสมาธิและสัมมาสตินั้นมีเพียงอย่างเดียวและอย่างเดียวที่ว่านี้เป็น สมาธิและสติเพื่อการพ้นทุกข์ถ้าไปนอกเหนือจากจุดประสงค์นี้ ไม่ใช่สัมมาที่มีเส้นทางเดินเพียงหนึ่ง
สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้จึงไม่ขอเอาคำว่า สัมมาหรือมิจฉามาใช้อธิบาย พวกคุณที่กรุณาเสียเวลามาเยี่ยมอ่านบล็อกตัดสินเอาเอง อย่างที่พวกคุณสังเกตมาตลอดผมไม่เอาผู้อ่าน ผมไม่ง้อให้พวกคุณต้องมานั่งติดตามทุกอาทิตย์ ผมไม่ได้เขียนเอาเงินหรือประกวดเอาโล่ ผมจะไม่มาถกอะไรกับใครเพื่อจะหาข้อสรุปว่า ความรู้สึกตัวที่ผมจะบอกต่อไปนี้จริงๆแล้วมันเป็นสัมมาหรือมิจฉา เพราะสำหรับผมมันเป็นสัมมาเต็มขั้น แต่มุมมองของคนอื่นอาจเป็นมิจฉาเต็มเหนี่ยวก็ได้
ผมจะเริ่มด้วยประโยคง่ายๆที่ผมได้ยินมาตลอด “โกรธก็ให้รู้ว่าโกรธ” “มีราคะให้รู้ว่ามีราคะ” “ฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน” “ง่วงให้รู้ว่าง่วง” “จิตกระเพื่อมให้รู้ว่าจิตกระเพื่อม” ผมเป็นคนหนึ่งที่บอกได้เลยว่า ผมไม่เห็นด้วยกับคำสอนลักษณะนี้ แต่กว่าที่ผมจะไม่เห็นด้วยนั้น ผมฝึกอย่างหนักด้วยวิธีแบบนี้มาถึงสี่ปี และพบจุดอ่อนที่สำคัญของมัน ซึ่งทำให้ผมต้องตัดใจเลิกฝึกอย่างเสียดายเพราะผมแน่พอตัวกับการฝึกอย่างนั้น
ผมจะฟันลงไปเลยนะครับ จุดอ่อนของมันคือ “มันไม่มีการสิ้นจบ” แม้ว่าสิ่งต่างๆที่ผ่านการรู้เท่าทันจะเร็วขึ้นและค่อยลดลง แต่มันไม่สามารถ “ถอนราก” การโกรธ ไม่สามารถถอนรากราคะ ไม่สามารถถอนรากความฟุ้งซ่าน ไม่สามารถถอนรากความง่วง ไม่สามารถถอนรากการกระเพื่อมของจิต ความเท่าทันที่ฝึกมาอย่างดีช่วยให้ผมยั้งคำพูดหรือการกระทำด้วยอารมณ์ได้หลายครั้ง ผมกลายเป็นคนใจเย็นมากถ้าเทียบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันก็จริง แต่ผมสงสัยว่า คำว่าเสร็จกิจคำว่าสิ้นจบ ไม่น่าจะใช้กับความสามารถในการรู้เท่ารู้ทันเพียงแค่นี้
สำหรับคนที่พอใจผลการฝึกของตนในลักษณะการรู้เท่ารู้ทันเพียงพอแล้ว ชีวิตเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นมากแล้ว ไม่จำเป็นต้องอ่านต่อครับ ผมเสียเวลาเขียนของพวกนี้เพื่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม และคนในกลุ่มนั่นคือคนประเภทเดียวกันกับผมซึ่งมีไม่มาก กลุ่มคนที่จะไปให้ไกลแบบถอนขึ้นได้กระทั้งราก
มาเช็คลงรายละเอียดกันหน่อยว่า จุดอ่อนนี้เป็นอย่างไร เอาแค่คำสอนที่ว่า “โกรธให้รู้ว่าโกรธ” อะไรคือความแตกต่างของคนที่ฝึกกับไม่ฝึก คนที่อ่านบล็อกนี้ส่วนใหญ่เป็นคนที่ฝึกอยู่แล้ว ผมจะไม่พรรณนาจุดนี้มากนะครับ ไม่ว่าจะฝึกหรือไม่ฝึกย่อมรู้ตัวเวลาที่กำลังโกรธ เพียงแต่จะยอมรับออกมาหรือไม่เท่านั้นว่า โกรธอยู่นะ สิ่งที่ต่างกันก็คือ การเข้าไปรวมตัวกับอาการโกรธ ผู้ที่ฝึกจะสามารถแยกตัวออกมาจากอารมณ์ได้ หรือที่เรียกว่าเห็นจิต และปัญญาของการเห็นนี่เอง ที่ช่วยระงับการกระทำและคำพูด ยิ่งฝึกเก่งยิ่งไว แต่ประเด็นที่ผมจะบอกไม่ใช่จุดนี้ สิ่งที่ผมจะบอกคือ ไม่ว่าคุณจะฝึกหรือไม่ฝึกคุณย่อมรู้ทั้งนั้นว่า ชั้นกำลังโกรธ ชั้นกำลังไม่พอใจ
พอยท์ของผมอยู่ตรงไหน นั่นคือ การรู้ว่าโกรธนั้นไม่จำเป็นต้องฝึกสมถะวิปัสสนาอะไรทั้งนั้น ธรรมชาติของคนหรือสัตว์มันก็รู้เองอยู่แล้ว ไม่ต้องใช้สติปัญญาอะไรเพื่อรู้อาการโกรธ คนเรามันก็รู้ได้เองว่ามันกำลังไม่พอใจ การสอนลักษณะ โกรธให้รู้ว่าโกรธจึงไม่เกี่ยวกับปัญญาการเข้าไปรู้อารมณ์ตัวนี้ เพราะมันรู้ได้เองทุกคนอยู่แล้ว แต่การฝึกลักษณะ โกรธให้รู้ว่าโกรธ มันแค่ไปช่วยพัฒนาปัญญาในส่วนของการเท่าทันอารมณ์
ผมอธิบายมาหลายย่อหน้าเพื่ออะไร เพื่อที่จะบอกว่าความรู้สึกตัวที่ผมเขียนมาโดยตลอดในบล็อกนี้ จำเป็นต้องอาศัยปัญญาในการเข้าไปรู้ ถ้าไม่มีปัญญาจะเข้าไปรู้ความรู้สึกตัวอันนี้ไม่ได้ มันไม่เหมือนอารมณ์โกรธที่ไม่ฝึกมันก็รู้สึกเองได้โดยสัญชาตญาณ แต่ความรู้สึกตัวล้วนๆอันนี้มันต้องผ่านการฝึกฝนและต้องเป็นการฝึกที่ถูกวิธีด้วยมันถึงจะเข้าไปรู้ได้
ปัญหาของวงการเจริญสติที่ผมพบคือ พวกเค้าเหมาความรู้สึกทั้งหมดของมนุษย์ว่าเป็นความรู้สึกตัวที่ใช้เจริญสติต่อการมุ่งไปสู่การรู้จริง และไม่เพียงฝึกแต่ยังสอนว่าขอให้รู้สึกถึงความรู้สึกอะไรก็ได้ที่ปรากฏเป็นพอ มันอาจใช่ในความหมายของคนหลายคน แต่ไม่ใช่ตามความหมายที่ผมเขียนในบล็อกนี้ และมั่นใจแบบพร้อมยอมตายด้วยว่าไม่ใช่ตามคำสอนของหลวงพ่อเทียน
ผมไปอยู่คลุกคลีกับวัดนับรวมเวลาเกือบปีครึ่ง ผมพบว่า พระในสายหลวงพ่อเทียนเองยังสอนไม่เหมือนกัน พวกเค้าเข้าใจไม่ตรงกัน แต่พวกเค้าพูดสอนเหมือนกันว่า ให้รู้สึกตัว ถ้าตั้งใจฟังดีดีแบบรายหัวรายตัวจะรู้เลยว่า แม้คำพูดคล้ายกันแต่พูดสื่อไปคนละตัว การแนะวิธีฝึกก็ต่างกันด้วย
คำสอนที่ถูกต้องควรจะเป็น “เมื่อโกรธให้รู้สึกตัว” ซึ่งความรู้สึกโกรธกับความรู้สึกตัวนี้เป็นคนละตัวกัน ธรรมชาติของมนุษย์เรานั้น เวลาที่เกิดความรู้สึกขึ้นมันจะเข้าจับความรู้สึกที่หยาบกว่าก่อนเสมอ ถ้าเทียบความรู้สึกโกรธกับความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวละเอียดกว่ามาก ในขณะที่ความรู้สึกโกรธเป็นเพียงอารมณ์ คนเราจึงต้องฝึกพัฒนาให้เข้าไปรู้ความรู้สึกอันละเอียดอันนี้ เพื่อเหนี่ยวตัวเองไม่ให้ไปจมอยู่กับอารมณ์ และจากประสบการณ์ของผม มีไม่กี่คนที่ทำได้ อันนี้พูดแบบตรงๆเลยนะครับ
เมื่อใครก็ตามไม่สามารถฝึกพัฒนาตัวเองให้แนบแน่นกับความรู้สึกตัวถึงขนาดที่ทำให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันดึงไปร่วมไม่ได้ พวกเค้าจะหันเข้าพึ่งสิ่งที่เรียกว่า “เห็น” แทน มันจึงเป็นที่มาของการสอนว่า “โกรธให้รู้ว่าโกรธ” ซึ่งมันสื่อให้คนสมัยนี้เข้าใจโดยอัตโนมัติว่า ให้เห็นอาการโกรธ เพียงแค่นั้นไม่ต้องไปแทรกแทรงอะไรมัน แค่เพียงให้รู้ธรรมชาติของมันนั่นเพียงพอแล้ว
คำถามต่อมาคือ เห็นแล้วมันยังไงล่ะ แน่นอนว่ามันยั้งการกระทำได้เพราะสติในการเท่าทันมันถูกพัฒนา แต่อาการโกรธจะไม่มีทางสิ้นจบ และนี่เป็นเหตุผลที่ตอบได้อย่างชัดเจนว่า ทำไมผู้ที่กำลังสอนคนอื่นอยู่เรื่องการเท่าทันจิต เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวชนิดสาหัสจึงควบคุมตนเองไม่ได้ เพราะมันทำได้เพียงแค่รู้แค่เห็น แต่ขาดฐานอันมั่นคงของสติ และสติอันนี้หมายถึงความรู้สึกตัวที่ต้องผ่านการฝึกมาอย่างถูกวิธีด้วย
บางคนฝึกรู้สึกตัวไปพบกับความเบาสบายเข้า มันก็ไปติดความเบาสบายอีก เพราะเข้าใจว่านั่นคือความรู้สึกตัวแท้ๆ ที่พยายามดิ้นรนค้นหามานาน พอไปตีความตามตำราว่า ไม่ทุกข์ ก็ยิ่งเข้าทางต้องฝึกเพื่อยื้อความสบายนี่ให้แสดงตัวออกมามากๆ ตราบใดที่ยังบอกตัวเองได้ว่า เราชอบพอใจในความรู้สึกนี้ สำหรับผมสิ่งนั้นไม่ใช่ความรู้สึกตัวแท้ๆเป็นเพียงอารมณ์และวันนึงมันจะถูกทำลายลงตามกฎไตรลักษณ์
ต่อไปนี้ผมจะลงเรื่องความรู้สึกตัวเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไล่พัฒนาการมาตั้งแต่ รูปนาม
ใน ระยะรูปนาม ความรู้สึกตัวจะตื่นขึ้นทั้งตัว ความรู้สึกตัวจะกระจายไปทั่วทั้งตัว ไม่ว่าอะไรเคลื่อนไหวบนร่างกายคุณ คุณจะรู้สึกทั้งหมด มันจะรู้สัมผัสกระทบทุกจุด ความรู้สึกตัวจะไวมาก โดยเฉพาะจุดข้อต่อบนร่างกาย การกระพริบตาหายใจกลืนน้ำลาย เคี้ยวข้าว หัวใจเต้น นอนหลับพลิกกลับตัว เดินไปเดินมา จะรู้สึกสิ่งเหล่านี้อยู่ตลอด
ใน ระยะศีลปรมัตถ์ ความรู้สึกจะตื่นทะลวงซึมลึกลงไปในกล้ามเนื้อ พอถึงจุดนี้ไม่ว่าจะเคลื่อนหรือหยุดเคลื่อนไหวร่างกาย ความรู้สึกภายในจะเป็นเหมือนเดิมตลอด ความรู้สึกตัวนี้จะไม่แปรเปลี่ยนตามการเกิดดับของจิต ไม่แปรเปลี่ยนตามอายุ ไม่แตกต่างชายหญิงเด็กชรา และยังรู้สึกภายนอกผิวสัมผัสในเวลาเดียวกันด้วย ผู้มาถึงตรงนี้จะรู้วิธีชนะไตรลักษณ์
ใน ระยะต้นกำเนิดของความคิด จะเข้าใจว่า อะไรคือตัวกำหนดทิศทางของความคิด ความรู้สึกตัวล้วนๆส่งผลอย่างไรต่อเรื่องที่คิดออกมา เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้นและความรู้สึกตัวลดน้อยลงส่งผลอย่างไรต่อเรื่องที่คิดออกมา ผู้มาถึงตรงนี้จะมีเรื่องกังวลในชีวิตไม่กี่เรื่อง
ใน ระยะการรวมตัวกันเข้า ความรู้สึกตัวจะเข้าโจมตีไปจนถึงสมองแทรกลงไปในทรวงอก ตัดมายาสถานที่เกิดของความทุกข์ จะเข้าใจว่ากายและใจคือสิ่งเดียวกัน หรือเห็นความจริงว่า ใจคือสิ่งที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง ความรู้สึกจะแนบแน่นลงบนฐานกาย ไม่ใช้ความคิดในการรู้สึกตัวอีกต่อไป
ในระยะสุดท้ายยังไม่ทราบครับ
ขอให้วันนี้ของทุกท่านสวยงามต่อไป
สถานที่เกิดของทุกข์
หลังจากที่ผมเริ่มสังเกตว่าตัวเองเริ่มผ่อนการปฏิบัติลง อีกทั้งคำบอกเล่าจากหลวงพี่ว่า ถ้าเราไม่เร่งรัดพัฒนาฝึกตนต่อไป เราจะกลายเป็นคนขี้เกียจฝึก หลวงพี่เองก็ยังมีอาการนี้อยู่ ผมมาสังเกตดูพบว่า อาการนี้เกิดจากการไม่ทุกข์ในขันธ์ห้านี่เอง ขันธ์ห้ายังปรุงอยู่นะครับ แต่มันเพียงอยู่เหนือการปรุงเท่านั้น มันไม่เดือดร้อนใจเวลาป่วยไข้ หรือจะสูญเสียทรัพย์ มันปล่อยวางเรื่องต่างๆได้ง่ายๆ มันรู้ตัวนะครับว่ายังไม่ถึงที่สุดของทุกข์ แต่ความสบายๆไปกับชีวิตที่ไม่ทุกข์กับโลกนี่เอง ความพอใจในชีวิตง่ายๆ กินง่ายอยู่ง่ายไม่รบกวนใครนี่เอง ที่ทำให้มันเริ่มจะไม่ฝึกแบบอัดจนกว่าจะสลบต่อไป
ผมจึงเริ่มฮึดขึ้นอีกรอบ พอเริ่มฝึกติดต่อได้สองวันตัวปวดเมื่อยกับตัวง่วงก็กลับมาอีก แต่คราวนี้ผมไม่ยอมอีกแล้ว ที่ผ่านมามันมาแล้วก็ไปเป็นช่วงๆ แต่คราวนี้ผมตั้งใจว่า จะต้องให้มันเด็ดขาดไปเลย อย่างน้อยที่สุด อาการง่วงจะต้องหายไปอย่างชนิดที่ไม่กลับมาอีก ผมสู้อยู่กับมันประมาณสามวัน ทุกครั้งบอกตัวเองเพราะรู้ก่อนเลยว่าเดี๋ยวมันจะต้องง่วง ผมขอให้มันง่วงสุดๆทีเถอะ ขอให้ตัวแสบที่สุดออกมาเจอกันหน่อย ผมอยากจะเจอกับตัวที่เจ๋งที่สุดเพื่อคว่ำมัน คำว่าหลับคำว่าวูบไม่มีอยู่แล้ว ทุกวันนี้ผมเหมือนกลายเป็นพวกบ้าท้าทายการสู้กับตัวเอง
ในระยะสามวันนั้น ผมไม่มีความรู้สึกวอกแวกอย่างอื่นเลย นอกจากปวดเมื่อยกับง่วง ผมไม่เป็นทุกข์กับมัน แต่มันเป็นความรู้สึกรำคาญเหมือนโรคที่รักษาไม่หายขาดเสียที ครั้งนี้ผมเอาจริงกับความง่วง และผมจะต้องชนะด้วย ตอนนั้นผมคิดอย่างนั้นนะครับ
ผมสู้กับมันประมาณเจ็ดแปดครั้งแบบหนักๆ ผมไม่ได้หลับหรือวูบ แต่มันทำให้ผมต้องเปลี่ยนท่าฝึกจากท่านั่งมาเป็นท่าเดิน มันสู้ไม่ไหวมันจึงต้องใช้การเปลี่ยนท่าเข้าช่วย แม้ผมจะไม่หยุดฝึกแต่ผมไม่พอใจทำไมผมถึงยังแพ้ไอ้ตัวง่วงนี่
การสะสมการต่อสู้แบบพอฟัดพอเหวี่ยงแบบไม่หยุดนี่เอง เป็นผลให้ผมเริ่มสังเกตเห็นอะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นจุดสำคัญช่วยให้จิตใจเปลี่ยนสภาวะอีกครั้ง ผมพบความจริงว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นของมนุษย์ ไม่ว่าอะไรก็ตามที่รู้สึกขึ้นมานั้นจะมีความชอบใจหรือไม่ชอบใจติดมาเองโดยอัตโนมัติเสมอ
ถ้าผมง่วงหรือปวดเมื่อยสัญชาตญาณจะรู้เองทันทีว่าไม่พอใจอาการนี้และสมองจะพยายามสั่งให้หนีออกจากความรู้สึกแบบนี้ ในขณะที่ผมร้อนเหงื่อซกฝึกหนักขอเพียงมีลมพัดผ่านมาวูบนึง อาการพอใจจะเกิดขึ้นเอง มันมาพร้อมกับสัญชาตญาณว่า พอใจในการบรรเทาความร้อนลง
พอผมเก็ทตรงนี้ ผมเข้าใจว่า ความรู้สึกนั้นทำงานร่วมกับสมองแบบอัตโนมัติ บางครั้งความคิดเกิดก่อนแล้วจึงเกิดความรู้สึกตามมา แต่ถ้ามีอะไรภายนอกมากระทบ ความรู้สึกตัวจะเกิดก่อนแล้วไปบังคับสมองให้คิดต่อว่า จะเอาหรือจะหนีความรู้สึกนั้น
ผมสังเกตและแปลกใจว่า สมองแปลความหมาย ความชอบใจไม่ชอบใจจากอะไรนะ ทำไมทุกความรู้สึกที่มันเกิดขึ้น สมองมันรู้เองหมดได้ว่า อันนี้ทุกข์อันนี้สุข ทำไมมันตัดสินเอาเองแบบนี้
มีความรู้สึกชนิดไหนไหมนะที่เมื่อรู้สึกแล้ว สมองตีความอ่านค่าไม่ได้ มีความรู้สึกอันไหนหรือเปล่าที่สมองไม่รู้ว่า อันนี้เป็นสุขอันนี้เป็นทุกข์ ความรู้สึกอันไหนนะที่สมองบอกไม่ได้ว่า นี่พอใจนี่ไม่พอใจ และแค่เฮือกเดียวหลังจากผมถามตัวเองจบ คำตอบก็ทะลักขึ้นเอง
ก็ความรู้สึกล้วนๆนี่ไง เรารู้จักมันมาตั้งแต่รูปนาม ศีลปรมัตถ์ ยันต้นกำเนิดของความคิดแล้ว นี่มันไม่เคยเปลี่ยนไปเลย เพียงแต่เราถูกความยินดีปรีดาที่เราได้เข้าไปรู้มันนี่เองปิดบังไว้ แต่ตัวมันเองนั้นเหมือนเดิมตลอด เมื่อเราเข้าไปรู้มันสมองจะทำงานไม่ได้ทันที สมองอ่านค่าของสิ่งนี้ไม่ออก สมองตอบสนองต่อสิ่งนี้ไม่ได้ เมื่อตอบสนองไม่ได้ จึงมีเพียงการปล่อยให้ความรู้สึกตัวล้วนๆแบบนี้ดำเนินต่อไป โดยสมองไม่สามารถห้ามปรามหรือยุยงได้ เพราะมันไม่มีการจะเอาหรือไม่เอาในความรู้สึกนั้น
อย่างผมเดินกอดอกอยู่นี่ ความรู้สึกที่แขนกำลังแนบชิดกับหน้าอกอยู่นี่ สมองก็บอกไม่ได้ว่า มันพอใจหรือไม่พอใจในความรู้สึกอันนี้ สมองทำอะไรกับความรู้สึกประเภทนี้ไม่ได้เลย มันจึงเฉยต่อการเข้าไปจัดการใดใดต่อความรู้สึกแบบนี้ จากนั้นผมก็เข้าใจเรื่องอารมณ์แบบแตกฉานทันที ไม่มีคำถามอะไรค้างคาว่าไม่รู้อีกแล้วกับสิ่งที่ถูกเรียกว่า อารมณ์
ความรู้สึกอะไรก็ตามที่สมองรู้ว่า จะตอบสนองสิ่งนั้นอย่างไรโดยสัญชาตญาณ สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ทั้งหมด เช่นง่วงนี่เป็นอารมณ์เพราะมันรู้ทันทีว่าจะนอน ปวดเมื่อยนี่เป็นอารมณ์เพราะมันรู้ว่าไม่ชอบต้องหยุดความเมื่อยนี้เสีย ร้อนนี่เป็นอารมณ์เพราะมันรู้ว่าจะต้องพัด ความรู้สึกทั้งหมดของมนุษย์เป็นอารมณ์ทั้งหมด เพราะสมองรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบในสิ่งนั้น ความคิดนี่เป็นต้นเหตุของอารมณ์ ส่วนทุกข์หรือไม่ทุกข์เกิดตามมาว่าสามารถตอบสนองต่อการบอกของสัญชาตญาณนั้นได้หรือไม่
พอผมเข้าใจจุดนี้ มันเหลือองค์ประกอบเพียงสองอย่าง คือ หนึ่งความรู้สึกที่เป็นอารมณ์ สองความรู้สึกที่ไม่มีอารมณ์ และตัวสำคัญที่จะชี้ได้ว่า ความรู้สึกอันไหนเป็นอันไหนอยู่ที่สัญชาตญาณ ถ้าบอกได้ว่าชอบความรู้สึกนี้หรือไม่ชอบความรู้สึกนี้ หรือรู้ว่าจะเข้าจัดการกับความรู้สึกนี้อย่างไร ความรู้สึกนั้นจะเป็นอารมณ์
ผมจึงประชิดหมากไปที่ความรู้สึกตัวล้วนๆอย่างเดียว ตอนนั้นเป็นช่วงเย็นครับ ผมกำลังนั่งสร้างจังหวะอยู่ ความรู้สึกตัวตื่นขึ้นทั้งตัวเช่นที่ผ่านมา ความง่วงยังมีอยู่ปวดเมื่อยยังมีอยู่ ผมตั้งใจไว้เลยว่า ผมต้องคว่ำมันให้ได้
ผมทะลวงหาที่มาของความง่วงครับ มันเกิดมาจากตรงไหน ผมจะเข้าไปดูให้เห็นชัดๆตรงบริเวณที่มันเกิดหน่อย ความรู้สึกทุกอย่างต้องมาจากกายทั้งนั้น ไม่มีความรู้สึกอะไรลอยเด่ๆมาโดยไม่มีอวัยวะรองรับ เพราะนี่คือกฎธรรมชาติของรูปนาม
ตอนนั้นผมให้ความสนใจไปที่การหาตำแหน่งการเกิดของความง่วงประมาณ70% อีก30%ที่เหลือปล่อยให้ความรู้สึกที่ตื่นขึ้นทำงานไป พออาการง่วงเกิดมาเพียงเสี้ยววินาที ผมวิ่งหาดูตำแหน่งเกิดของมันทันที มันอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกายนี้ พอความปวดเมื่อยเกิดผมวิ่งไปดูตรงจุดที่เกิดทันทีมันอยู่ตรงไหนของร่างกายนี้ พออาการอึดอัดเสียดใจเกิดขึ้นผมหาตำแห่งมันทันที มันเกิดตรงในบนหน้าอกนี้ เกิดข้างในข้างนอกยังไง ตอนนั้นมันสลับสับเปลี่ยนตัวกันอยู่แค่สามตัวนี้แบบเร็วจัด ผมตามทันทุกตัว ประมาณยี่สิบหน้าทีผ่านไป มีบางอย่างเกิดขึ้นครับ
อยู่ดีดีผมเข้าไปสัมผัสความรู้สึกแท้ๆของเนื้อสมองในก้อนกะโหลก ผมเข้าไปสัมผัสความรู้สึกแท้ๆของอวัยวะในทรวงอก แล้วตอนนั้นมันมีความรู้สึกของกายล้วนๆที่เคลื่อนไหวรออยู่อีก 30%ก่อนแล้ว อยู่ดีดีมันก็รวมตัวกันเข้ามา กลายเป็นการรู้สึกทั้งตัวที่แทงไปยันก้อนสมองทิ่มเข้าไปในทรวงอกล้อมรอบด้วยความรู้สึกกายทั้งตัวแขนขา
พอตัวนี้เกิดขึ้นผมนึกไปถึงบล็อกของคุณ mingxing เรื่อง เพชรตัดมายา นึกถึงหลวงพ่อเทียนพูดเรื่องการรวมกันเข้า เข้าใจความหมายของการทวนอารมณ์แต่ไม่ไปทวนอารมณ์ของรูปนาม
อธิบายเป็นภาษายากแต่จะลองดูนะครับ
เวลาที่เราง่วง ปวดเมื่อย เสียดใจ(ปฏิฆะ) หรืออาการทั้งหมดที่เป็นอารมณ์นั้น เราไม่ได้รู้สึกที่ตัวเราจริงๆครับ แต่ความคิดสร้างภาพขึ้นมาแล้วดึงให้เราไปรู้สึกที่ภาพนั้นแทน ซึ่งไอ้เจ้าความรู้สึกที่ถูกสร้างขึ้นโดยความคิดนี้ มันจะลอยๆยู่ คล้ายๆลอยอยู่ในอากาศ ลอยอยู่ในมโนภาพ สังเกตเอาครับหูตาจะพร่ามัวไม่คมชัด และความจริงที่เป็นตลกโง่ๆตลอดมาก็คือ ความทุกข์สุขของมนุษย์ทำงานได้แค่บริเวณสถานที่หลอกๆนั้น
เวลาที่คุณง่วงนั้นคุณกำลังไปรู้สึกอยู่กับ ความรู้สึกที่ความคิดสร้างขึ้นมาเอง แต่หาใช่ตัวความรู้สึกอันแท้จริงไม่ ความปวดเมื่อย ความเสียดใจนั้นเหมือนกันหมด มันทำงานด้วยหลักการนี้เพียงอย่างเดียว เมื่อเข้าใจหลักการนี้ โครงสร้างของมันถูกทำลายลงทันทีพร้อมกัน
เมื่อผมมาย้อนมองความรู้สึกตัวของเราเองจริงๆ ที่ไม่มีภาพมายาที่ความคิดสร้างขึ้นต่ออารมณ์ ผมพบสิ่งที่อัศจรรย์อย่างที่หนึ่งคือ ความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้เพราะไม่มีที่เกิด และความอัศจรรย์ย่างที่สองคือ อาการทุกอย่างจะจบตัวเองลงทันทีเพราะไม่มีที่ให้อยู่
ผมฝึกต่ออีกสามวัน ผมรู้จักการแนบแน่นเข้ากับความรู้สึกที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่มีภาพบังซ้อนทับอีก คนที่ยังไม่ผ่านมาถึงตรงนี้จะไม่ทราบครับว่า ภาพที่ซ้อนทับที่สมองสร้างขึ้นนี้คืออะไร ต้องพ้นมาก่อนครับถึงจะเข้าใจ
มันยังไปเข้าใจเรื่องความปกติ แปลกประหลาดมากพอเข้าใจอะไร มันจะเข้าใจไปทั้งเซ็ทเลยเป็นความรู้ที่อยู่ในขั้นเดียวกัน ความปรกติอันนี้ คือ ความปรกติของกายอย่างเดียวครับ เรื่องใจไม่ต้องมาพูดแล้ว หากตัดอารมณ์ออกได้ ใจคือตัวเดียวกับกาย
การรู้ปรกติใจ หมายถึง การเข้าไปรู้ความรู้สึกกายในทรวงอก แต่คนทั่วไปจะไม่รู้ความปรกตินี้เพราะ พอเข้าไปรู้สึกในทรวงอกมันจะเป็นอารมณ์ทั้งหมด อวัยวะน้อยใหญ่ในทรวงอกมันกระตุ้นให้ขยับสูบฉีดบีบตัวเมื่อมีความคิด
เมื่อความคิดไม่สามารถทำงานได้ เพราะถูกตัดโดยการเข้ารู้สัมผัสความรู้สึกตัวล้วนๆอยู่อย่างแนบแน่นชัดเจน อวัยวะภายในทรวงอกจึงเป็นปรกติไม่ขยับบีบตัวตามแรงความคิด และเมื่อใครก็ตามจับความรู้สึกในทรวงอกที่เป็นปรกติตอนนั้นได้จะเข้าใจคำว่า ปรกติใจ
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
ผมจึงเริ่มฮึดขึ้นอีกรอบ พอเริ่มฝึกติดต่อได้สองวันตัวปวดเมื่อยกับตัวง่วงก็กลับมาอีก แต่คราวนี้ผมไม่ยอมอีกแล้ว ที่ผ่านมามันมาแล้วก็ไปเป็นช่วงๆ แต่คราวนี้ผมตั้งใจว่า จะต้องให้มันเด็ดขาดไปเลย อย่างน้อยที่สุด อาการง่วงจะต้องหายไปอย่างชนิดที่ไม่กลับมาอีก ผมสู้อยู่กับมันประมาณสามวัน ทุกครั้งบอกตัวเองเพราะรู้ก่อนเลยว่าเดี๋ยวมันจะต้องง่วง ผมขอให้มันง่วงสุดๆทีเถอะ ขอให้ตัวแสบที่สุดออกมาเจอกันหน่อย ผมอยากจะเจอกับตัวที่เจ๋งที่สุดเพื่อคว่ำมัน คำว่าหลับคำว่าวูบไม่มีอยู่แล้ว ทุกวันนี้ผมเหมือนกลายเป็นพวกบ้าท้าทายการสู้กับตัวเอง
ในระยะสามวันนั้น ผมไม่มีความรู้สึกวอกแวกอย่างอื่นเลย นอกจากปวดเมื่อยกับง่วง ผมไม่เป็นทุกข์กับมัน แต่มันเป็นความรู้สึกรำคาญเหมือนโรคที่รักษาไม่หายขาดเสียที ครั้งนี้ผมเอาจริงกับความง่วง และผมจะต้องชนะด้วย ตอนนั้นผมคิดอย่างนั้นนะครับ
ผมสู้กับมันประมาณเจ็ดแปดครั้งแบบหนักๆ ผมไม่ได้หลับหรือวูบ แต่มันทำให้ผมต้องเปลี่ยนท่าฝึกจากท่านั่งมาเป็นท่าเดิน มันสู้ไม่ไหวมันจึงต้องใช้การเปลี่ยนท่าเข้าช่วย แม้ผมจะไม่หยุดฝึกแต่ผมไม่พอใจทำไมผมถึงยังแพ้ไอ้ตัวง่วงนี่
การสะสมการต่อสู้แบบพอฟัดพอเหวี่ยงแบบไม่หยุดนี่เอง เป็นผลให้ผมเริ่มสังเกตเห็นอะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นจุดสำคัญช่วยให้จิตใจเปลี่ยนสภาวะอีกครั้ง ผมพบความจริงว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นของมนุษย์ ไม่ว่าอะไรก็ตามที่รู้สึกขึ้นมานั้นจะมีความชอบใจหรือไม่ชอบใจติดมาเองโดยอัตโนมัติเสมอ
ถ้าผมง่วงหรือปวดเมื่อยสัญชาตญาณจะรู้เองทันทีว่าไม่พอใจอาการนี้และสมองจะพยายามสั่งให้หนีออกจากความรู้สึกแบบนี้ ในขณะที่ผมร้อนเหงื่อซกฝึกหนักขอเพียงมีลมพัดผ่านมาวูบนึง อาการพอใจจะเกิดขึ้นเอง มันมาพร้อมกับสัญชาตญาณว่า พอใจในการบรรเทาความร้อนลง
พอผมเก็ทตรงนี้ ผมเข้าใจว่า ความรู้สึกนั้นทำงานร่วมกับสมองแบบอัตโนมัติ บางครั้งความคิดเกิดก่อนแล้วจึงเกิดความรู้สึกตามมา แต่ถ้ามีอะไรภายนอกมากระทบ ความรู้สึกตัวจะเกิดก่อนแล้วไปบังคับสมองให้คิดต่อว่า จะเอาหรือจะหนีความรู้สึกนั้น
ผมสังเกตและแปลกใจว่า สมองแปลความหมาย ความชอบใจไม่ชอบใจจากอะไรนะ ทำไมทุกความรู้สึกที่มันเกิดขึ้น สมองมันรู้เองหมดได้ว่า อันนี้ทุกข์อันนี้สุข ทำไมมันตัดสินเอาเองแบบนี้
มีความรู้สึกชนิดไหนไหมนะที่เมื่อรู้สึกแล้ว สมองตีความอ่านค่าไม่ได้ มีความรู้สึกอันไหนหรือเปล่าที่สมองไม่รู้ว่า อันนี้เป็นสุขอันนี้เป็นทุกข์ ความรู้สึกอันไหนนะที่สมองบอกไม่ได้ว่า นี่พอใจนี่ไม่พอใจ และแค่เฮือกเดียวหลังจากผมถามตัวเองจบ คำตอบก็ทะลักขึ้นเอง
ก็ความรู้สึกล้วนๆนี่ไง เรารู้จักมันมาตั้งแต่รูปนาม ศีลปรมัตถ์ ยันต้นกำเนิดของความคิดแล้ว นี่มันไม่เคยเปลี่ยนไปเลย เพียงแต่เราถูกความยินดีปรีดาที่เราได้เข้าไปรู้มันนี่เองปิดบังไว้ แต่ตัวมันเองนั้นเหมือนเดิมตลอด เมื่อเราเข้าไปรู้มันสมองจะทำงานไม่ได้ทันที สมองอ่านค่าของสิ่งนี้ไม่ออก สมองตอบสนองต่อสิ่งนี้ไม่ได้ เมื่อตอบสนองไม่ได้ จึงมีเพียงการปล่อยให้ความรู้สึกตัวล้วนๆแบบนี้ดำเนินต่อไป โดยสมองไม่สามารถห้ามปรามหรือยุยงได้ เพราะมันไม่มีการจะเอาหรือไม่เอาในความรู้สึกนั้น
อย่างผมเดินกอดอกอยู่นี่ ความรู้สึกที่แขนกำลังแนบชิดกับหน้าอกอยู่นี่ สมองก็บอกไม่ได้ว่า มันพอใจหรือไม่พอใจในความรู้สึกอันนี้ สมองทำอะไรกับความรู้สึกประเภทนี้ไม่ได้เลย มันจึงเฉยต่อการเข้าไปจัดการใดใดต่อความรู้สึกแบบนี้ จากนั้นผมก็เข้าใจเรื่องอารมณ์แบบแตกฉานทันที ไม่มีคำถามอะไรค้างคาว่าไม่รู้อีกแล้วกับสิ่งที่ถูกเรียกว่า อารมณ์
ความรู้สึกอะไรก็ตามที่สมองรู้ว่า จะตอบสนองสิ่งนั้นอย่างไรโดยสัญชาตญาณ สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ทั้งหมด เช่นง่วงนี่เป็นอารมณ์เพราะมันรู้ทันทีว่าจะนอน ปวดเมื่อยนี่เป็นอารมณ์เพราะมันรู้ว่าไม่ชอบต้องหยุดความเมื่อยนี้เสีย ร้อนนี่เป็นอารมณ์เพราะมันรู้ว่าจะต้องพัด ความรู้สึกทั้งหมดของมนุษย์เป็นอารมณ์ทั้งหมด เพราะสมองรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบในสิ่งนั้น ความคิดนี่เป็นต้นเหตุของอารมณ์ ส่วนทุกข์หรือไม่ทุกข์เกิดตามมาว่าสามารถตอบสนองต่อการบอกของสัญชาตญาณนั้นได้หรือไม่
พอผมเข้าใจจุดนี้ มันเหลือองค์ประกอบเพียงสองอย่าง คือ หนึ่งความรู้สึกที่เป็นอารมณ์ สองความรู้สึกที่ไม่มีอารมณ์ และตัวสำคัญที่จะชี้ได้ว่า ความรู้สึกอันไหนเป็นอันไหนอยู่ที่สัญชาตญาณ ถ้าบอกได้ว่าชอบความรู้สึกนี้หรือไม่ชอบความรู้สึกนี้ หรือรู้ว่าจะเข้าจัดการกับความรู้สึกนี้อย่างไร ความรู้สึกนั้นจะเป็นอารมณ์
ผมจึงประชิดหมากไปที่ความรู้สึกตัวล้วนๆอย่างเดียว ตอนนั้นเป็นช่วงเย็นครับ ผมกำลังนั่งสร้างจังหวะอยู่ ความรู้สึกตัวตื่นขึ้นทั้งตัวเช่นที่ผ่านมา ความง่วงยังมีอยู่ปวดเมื่อยยังมีอยู่ ผมตั้งใจไว้เลยว่า ผมต้องคว่ำมันให้ได้
ผมทะลวงหาที่มาของความง่วงครับ มันเกิดมาจากตรงไหน ผมจะเข้าไปดูให้เห็นชัดๆตรงบริเวณที่มันเกิดหน่อย ความรู้สึกทุกอย่างต้องมาจากกายทั้งนั้น ไม่มีความรู้สึกอะไรลอยเด่ๆมาโดยไม่มีอวัยวะรองรับ เพราะนี่คือกฎธรรมชาติของรูปนาม
ตอนนั้นผมให้ความสนใจไปที่การหาตำแหน่งการเกิดของความง่วงประมาณ70% อีก30%ที่เหลือปล่อยให้ความรู้สึกที่ตื่นขึ้นทำงานไป พออาการง่วงเกิดมาเพียงเสี้ยววินาที ผมวิ่งหาดูตำแหน่งเกิดของมันทันที มันอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกายนี้ พอความปวดเมื่อยเกิดผมวิ่งไปดูตรงจุดที่เกิดทันทีมันอยู่ตรงไหนของร่างกายนี้ พออาการอึดอัดเสียดใจเกิดขึ้นผมหาตำแห่งมันทันที มันเกิดตรงในบนหน้าอกนี้ เกิดข้างในข้างนอกยังไง ตอนนั้นมันสลับสับเปลี่ยนตัวกันอยู่แค่สามตัวนี้แบบเร็วจัด ผมตามทันทุกตัว ประมาณยี่สิบหน้าทีผ่านไป มีบางอย่างเกิดขึ้นครับ
อยู่ดีดีผมเข้าไปสัมผัสความรู้สึกแท้ๆของเนื้อสมองในก้อนกะโหลก ผมเข้าไปสัมผัสความรู้สึกแท้ๆของอวัยวะในทรวงอก แล้วตอนนั้นมันมีความรู้สึกของกายล้วนๆที่เคลื่อนไหวรออยู่อีก 30%ก่อนแล้ว อยู่ดีดีมันก็รวมตัวกันเข้ามา กลายเป็นการรู้สึกทั้งตัวที่แทงไปยันก้อนสมองทิ่มเข้าไปในทรวงอกล้อมรอบด้วยความรู้สึกกายทั้งตัวแขนขา
พอตัวนี้เกิดขึ้นผมนึกไปถึงบล็อกของคุณ mingxing เรื่อง เพชรตัดมายา นึกถึงหลวงพ่อเทียนพูดเรื่องการรวมกันเข้า เข้าใจความหมายของการทวนอารมณ์แต่ไม่ไปทวนอารมณ์ของรูปนาม
อธิบายเป็นภาษายากแต่จะลองดูนะครับ
เวลาที่เราง่วง ปวดเมื่อย เสียดใจ(ปฏิฆะ) หรืออาการทั้งหมดที่เป็นอารมณ์นั้น เราไม่ได้รู้สึกที่ตัวเราจริงๆครับ แต่ความคิดสร้างภาพขึ้นมาแล้วดึงให้เราไปรู้สึกที่ภาพนั้นแทน ซึ่งไอ้เจ้าความรู้สึกที่ถูกสร้างขึ้นโดยความคิดนี้ มันจะลอยๆยู่ คล้ายๆลอยอยู่ในอากาศ ลอยอยู่ในมโนภาพ สังเกตเอาครับหูตาจะพร่ามัวไม่คมชัด และความจริงที่เป็นตลกโง่ๆตลอดมาก็คือ ความทุกข์สุขของมนุษย์ทำงานได้แค่บริเวณสถานที่หลอกๆนั้น
เวลาที่คุณง่วงนั้นคุณกำลังไปรู้สึกอยู่กับ ความรู้สึกที่ความคิดสร้างขึ้นมาเอง แต่หาใช่ตัวความรู้สึกอันแท้จริงไม่ ความปวดเมื่อย ความเสียดใจนั้นเหมือนกันหมด มันทำงานด้วยหลักการนี้เพียงอย่างเดียว เมื่อเข้าใจหลักการนี้ โครงสร้างของมันถูกทำลายลงทันทีพร้อมกัน
เมื่อผมมาย้อนมองความรู้สึกตัวของเราเองจริงๆ ที่ไม่มีภาพมายาที่ความคิดสร้างขึ้นต่ออารมณ์ ผมพบสิ่งที่อัศจรรย์อย่างที่หนึ่งคือ ความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้เพราะไม่มีที่เกิด และความอัศจรรย์ย่างที่สองคือ อาการทุกอย่างจะจบตัวเองลงทันทีเพราะไม่มีที่ให้อยู่
ผมฝึกต่ออีกสามวัน ผมรู้จักการแนบแน่นเข้ากับความรู้สึกที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่มีภาพบังซ้อนทับอีก คนที่ยังไม่ผ่านมาถึงตรงนี้จะไม่ทราบครับว่า ภาพที่ซ้อนทับที่สมองสร้างขึ้นนี้คืออะไร ต้องพ้นมาก่อนครับถึงจะเข้าใจ
มันยังไปเข้าใจเรื่องความปกติ แปลกประหลาดมากพอเข้าใจอะไร มันจะเข้าใจไปทั้งเซ็ทเลยเป็นความรู้ที่อยู่ในขั้นเดียวกัน ความปรกติอันนี้ คือ ความปรกติของกายอย่างเดียวครับ เรื่องใจไม่ต้องมาพูดแล้ว หากตัดอารมณ์ออกได้ ใจคือตัวเดียวกับกาย
การรู้ปรกติใจ หมายถึง การเข้าไปรู้ความรู้สึกกายในทรวงอก แต่คนทั่วไปจะไม่รู้ความปรกตินี้เพราะ พอเข้าไปรู้สึกในทรวงอกมันจะเป็นอารมณ์ทั้งหมด อวัยวะน้อยใหญ่ในทรวงอกมันกระตุ้นให้ขยับสูบฉีดบีบตัวเมื่อมีความคิด
เมื่อความคิดไม่สามารถทำงานได้ เพราะถูกตัดโดยการเข้ารู้สัมผัสความรู้สึกตัวล้วนๆอยู่อย่างแนบแน่นชัดเจน อวัยวะภายในทรวงอกจึงเป็นปรกติไม่ขยับบีบตัวตามแรงความคิด และเมื่อใครก็ตามจับความรู้สึกในทรวงอกที่เป็นปรกติตอนนั้นได้จะเข้าใจคำว่า ปรกติใจ
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
ปัญหาของการสอน
ผมได้ถามอาจารย์ผมว่า มีคนกี่มากน้อยที่เดินทางมาจนถึงระดับการเข้าใจเรื่อง ศีลปรมัตถ์ อันเป็นจุดครึ่งทางของการปฏิบัติ เค้าตอบว่า มีน้อยถ้าให้ประเมินจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้สอนคนอื่น ผู้ที่มาจนถึงจุดนี้ในร้อยคน จะมีประมาณห้าคน
ผมเองแปลกใจกับคำตอบที่ได้อยู่มากเพราะแค่ครึ่งทางทำไมมีแค่ห้าเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมานึกถึงหนึ่งปีที่ผ่านมาตั้งแต่ผมเข้าใจเรื่องศีล ผมไม่เคยแนะนำใครได้จนมาถึงจุดนี้เลยทั้งๆที่พูดมาโดยตลอด แม้แต่พระในวัดเมื่อขึ้นเทศน์สอนแนะนำการปฏิบัติ พวกเค้าจะไม่พูดเรื่องศีลชนิดนี้
ในช่วงที่เข้าใจเรื่องศีลปรมัตถ์ มันจะติดจินตญาณ ผมรู้เลยว่าความเข้าใจที่เกิดกับผมมันเลยระดับพระทั่วๆไปที่อยู่ในวัดไปแล้ว มันจะขาดความเคารพพระไม่เชื่อฟังพระอารมณ์มันยังกระด้างกระเดื่อง เพราะว่ามันรู้ดีกว่าพระ มันเก่งกว่าพระ ต่อมาผมถึงได้เข้าใจว่า มันไม่ใช่ความผิดของเค้า การที่เค้ารู้มาไม่ถึงตรงนี้ทำให้เค้าสอนของพวกนี้ไม่ได้ เค้ารู้แค่ไหนเค้าก็สอนได้แค่นั้น ถ้าใช้คำพูดแบบชาวบ้านเลยก็คือ เค้ามีปัญญาแค่นั้น
ปัญหาของคนที่เข้าใจธรรมอยู่ตรงไหน อยู่ตรงที่คนเราเข้าใจธรรมไม่เท่ากัน และเมื่อคนพวกนี้มีหน้าที่ที่จะต้องสอน จะสอนไม่เหมือนกันและตรงที่เป็นช่องว่างของความต่างระดับนี่เองที่จะทำให้ขัดแย้งกัน เรื่องนี้ค่อนข้างละเอียดตั้งใจอ่านนะครับ
สมมติว่า ผมอยู่ในระยะโสดาบัน คุณอยู่ในระยะสกิทาคามี เราสองคนไม่รู้จักกัน ผมไม่ทราบว่าคุณเป็นสกิทาคามี คุณไม่ทราบว่าผมเป็นโสดาบัน เมื่อเราพบกันเริ่มคุยกันถึงสภาวธรรมของตนเอง เมื่อเราเริ่มคุยกันเรื่องพื้นฐานการสนทนาจะราบรื่นไปเรื่อยๆ ต่อมาเมื่อเริ่มคุยกันในระดับที่ลึกขึ้น ผมจะเริ่มไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณพูดและอธิบาย ผมจะเริ่มตั้งคำถามกับคุณพร้อมทั้งเริ่มโต้แย้ง สิ่งที่คุณพูดล้วนขัดแย้งต่อความเข้าใจของผม หรือขัดแย้งจากคำสอนของคนที่ผมเคารพศรัทธา ความไม่เชื่อถือจะเกิดตรงนี้
ในขณะเดียวกันคุณจะมองผมขาดทันทีว่า สภาวะระยะธรรมของผมยังอยู่แค่โสดาบัน เพราะคุณเคยมีอาการสงสัยเคลือบแคลงแบบนี้มาก่อน ฟังจากประสบการณ์ธรรมของผม ทัศนคติของผม คุณจะรู้ทันทีว่าผมอยู่ตรงไหน แต่คุณจะไม่พูดออกมาว่า นี่นายอยู่โสดาบันนะ ส่วนชั้นอยู่สกิทาคามีแล้ว
การพูดโกหกว่า ตนเองเข้าถึงสภาวะอริยบุคคลขั้นนั้นขั้นนี้ ต่อหน้าคนรู้จริงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เพราะเนื้อหาที่พูดออกมาจะเป็นตัวชี้ชัดเองว่า ผู้พูดนำธรรมะระดับไหนออกมาแสดง ต่อให้ผมจำคำพูดของผู้รู้จริงมาพูดแต่เมื่อโดนซักเรื่องรายละเอียดกระบวนการขั้นตอนการเข้าไปรู้ หรือที่เรียกว่าปัญญาญาณ ถ้าไม่ผ่านมาจริงโดนยิงร่วงทุกราย ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่น่าตลกก็คือ มีแต่ผู้ที่อยู่เหนือคุณเท่านั้นที่อ่านคุณออก คุณไม่สามารถอ่านคนที่อยู่เหนือคุณออกได้เลย มันจะมีเพียงความสงสัยและไม่มีศรัทธาในตัวเค้าเท่านั้น
เมื่อผู้ที่มีระดับความเข้าใจต่อธรรมไม่เท่ากันคุยกัน ส่วนใหญ่บทสนทนาจะจบลงตรงนี้ เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะสนทนาต่อไป นอกเสียจากว่า ผมจะติดขัดปัญหาบางอย่างอยู่ ซึ่งปัญหานั้นผมได้ทดลองมาทุกวิธีแล้วก็ผ่านไม่ได้ จริงอยู่ผมสงสัยว่าคุณอธิบายอะไรให้ผมฟัง ผมไม่เชื่อ แต่ผมลองทำดูเพราะสิ่งที่ผมลองมาทั้งหมดมันไม่ได้ผล แล้วเมื่อผลของการทดลองทำตามคำแนะนำของคุณนั้นทำให้จิตใจผมเปลี่ยนสภาพ ผมจึงจะยอมรับว่า คนที่ผมคุยด้วยอยู่ในระดับที่สูงกว่าผม ซึ่งกว่าจะยอมทดลองทำตามบางคนเสียเวลาเป็นปีปี จึงพึ่งระลึกได้ว่าเคยมีคนพูดอย่างนี้ไว้ เป็นเราเองที่ฟังคำพูดนั้นไม่ออก
ในความจริงมีคนประเภทที่ทดลองทำจำนวนน้อยเมื่อเจอคนที่อยู่สูงกว่าตัวเอง คงจะห้าเปอร์เซ็นต์นั่นล่ะเพราะมันมองไม่ออกครับ ระดับโสดาบันนั้นยังติดทิฐิหรือเรียกว่าอีโก้ เค้าจะมองตัวเองว่าเจ๋งพอตัว เค้าจะไม่เชื่อฟังใครเลย นอกจากคนที่เค้าเคารพศรัทธาเท่านั้น สำหรับคนที่อยู่สูงแล้ว เค้าเพียงสอนและพูดเมื่อถูกถาม แต่ความคาดหวังว่าคุณจะทำตามเชื่อฟังหรือไม่นั้นไม่มีเลย เมื่อการสนทนาเริ่มติดขัดเค้าจะเริ่มเงียบและเดินจากไป
มันจะกลายเป็นว่าฝ่ายหนึ่งมองว่า อีกฝ่ายถูกต้อนด้วยคำถามจนจนแต้ม เพราะไม่สามารถหาคำตอบอันเป็นที่พอใจมาให้ได้ ส่วนอีกฝ่ายมองว่า หาประโยชน์ในการสนทนาไม่ได้ มิสู้นิ่งเสียดีกว่า นี่คือสถานการณ์จริงที่เกิดในทุกวันนี้
บางคนอ่านบล็อกที่ผมเขียน เกิดความสนใจเดินเข้ามาบอกว่า ช่วยแนะนำผมด้วยครับ แต่เมื่อเราเริ่มสนทนากัน คำพูดที่ผมได้ยินทุกครั้งคือ “ตรงนี้ผมขอค้านครับ” “ตรงนี้ผมเห็นต่างออกไปครับ” “มันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ” “พระองค์นั้นไม่เห็นพูดอย่างนี้เลยครับ” ในเมื่อเค้าบอกเองว่า มีอะไรให้บอกให้เตือนได้เลย แต่เมื่อพูดแล้วเค้าก็ไม่ฟังเพราะมีเรื่องคัดค้านในหัวเต็มไปหมด คำพูดของเค้าที่ว่าให้ช่วยแนะนำผมหน่อย เตือนผมได้เลยก็เริ่มเลือนหายไปจากสมองผม
ผลสุดท้ายคือ เป็นการสนทนาที่เสียเวลาทั้งของผมและของเค้า ผมเองไม่มีหัวใจของโพธิสัตว์อวตาร ผมไม่สนใจการเผยแผ่ธรรมเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกหมู่มาก ผมมองทุกชีวิตเท่ากันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปทุ่มเทสอนใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ นอกเสียจากคนคนนั้นอยู่ในระยะที่ต้องการคำแนะนำจริงๆ เค้าจนแต้มและเปิดรับ ถ้าเป็นอย่างนั้นผมจะเดินเข้าไปหาเอง และไม่คาดหวังอะไรนอกจากเห็นเค้าผ่านปัญหาของเค้าได้
ผมยินดีจะทุ่มเทความสามารถที่ผมมีทั้งหมดสอนให้กับคนประเภทเดียวกัน และนั่นคือต้นกำเนิดของการเป็นศิษย์อาจารย์ มีชีวิตผูกพันกันด้วยมิตรภาพแห่งการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริง ผมมองตัวเองว่า ชีวิตนี้ผมคงมีศิษย์ไม่กี่คน เพราะคนที่อัดจนกว่าจะสลบ สามารถทิ้งอนาคต การฝึกฝนตัวเองต้องมาเป็นอันดับหนึ่งในชีวิต ไม่ว่าจะทำอะไรในชีวิตนี้ ปัจจัยแรกที่ต้องปรากฏขึ้นเพื่อใช้พิจารณาตัดสินใจคือ การฝึก จะมีซักกี่คนกัน
เมื่อผมตัดสินใจเดินทางนี้ผมจะเดินให้สุด และเมื่อผมตัดสินใจสอนใคร หมอนั่นต้องมาสุดด้วย คงเป็นนิสัยส่วนตัวที่ไม่นิยมการทำอะไรครึ่งๆกลางๆ และตราบใดที่ผมยังไปได้ไม่สุด ผมไม่สนการตั้งตัวเป็นอาจารย์รับใครเป็นศิษย์
มีคนถามผมว่า กะเอาให้ชาตินี้เป็นอรหันต์เลยใช่ไหม ผมเองไม่ทราบจะตอบอย่างไร เพราะผมสนใจเรื่องอรหันต์น้อยมาก สิ่งที่ผมสนใจคือ การเข้าใจศาสตร์ศาสตร์หนึ่งอย่างแท้จริงและจบสิ้น ถ้าสิ่งนั่นถูกเรียกว่า อรหันต์ ใช่ผมจะฝึกเพื่อเป็นอรหันต์
บางคนบอกว่าฝึกไปไม่ให้ทุกข์ก็พอแล้ว แต่ผมไม่พอใจตราบใดที่ยังไม่ถึงที่สุดมันจะยังมีทุกข์อยู่ดี อยู่ที่ว่ามองเห็นความละเอียดของมันหรือเปล่า มันก็เหมือนกับคนที่เริ่มฝึกเพราะอยากจะเป็นโสดาบันนั่นล่ะครับ เมื่อคุณไปถึงจุดนั้นคุณจะพบว่า โสดาบันไม่เห็นวิเศษอะไรเท่าไหร่ ยังมีจุดอ่อนเยอะมาก จึงพยายามจะปิดจุดอ่อนนั้น มันก็อยากจะเป็นสกิทาคามีต่อไป เมื่อคุณเดินมาถึงสกิทาคามีมันก็ยังมีจุดอ่อนที่คุณรู้อยู่เต็มอกอยู่อีก ทีนี้จะไม่เกี่ยวกับการเป็นอริยบุคคลขั้นไหนๆแล้ว มันจะหาทางเอาชนะทุกข์อย่างเดียว พอมันเดินมาถึงอนาคามี มันก็ยังมีทุกข์ขั้นละเอียดอยู่อีก แล้วมันจะเหลืออะไรอีกล่ะ ถ้าตามตำราเป็นจริงว่ามีสี่ระดับ มันก็ต้องไปจนถึงระดับสุดท้ายเท่านั้น เพื่อให้ภารกิจมันสิ้นจบไป ไม่ให้มีอะไรค้างคาชีวิตอยู่อีก
มันจึงไม่ใช่เรื่องของการกระหายอยากจะเป็นอริยบุคคล แต่เป็นเรื่องของความยังไม่เพอเฟ็กท์ เพราะฉะนั้นถ้าคำถาม ถามว่าจะฝึกปฏิบัติธรรมไปทำไม จุดมุ่งหมายคืออะไร ผมจะตอบว่า แล้วมันเรื่องอะไรที่จะไม่ปฏิบัติ ถ้าระดับสูงสุดเรียกว่าอรหันต์ ผมจะฝึกเพื่อที่จะเป็นอรหันต์ ถ้ามันเรียกว่านิพพาน ผมจะเข้าให้ถึงนิพพาน ถ้ามันเรียกว่า เชือกขาด ผมจะฝึกจนกว่ามันจะขาด ถ้าเรียกว่าจืดทั้งตัว ผมจะฝึกจนกว่าจะจืดทั้งตัว
มันเป็นเรื่องจุดมุ่งหมายของชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ที่จะทำอะไรซักอย่างเพื่อให้สามารถยอมรับตัวเองได้ เอาชนะตัวเองได้ นายทำสิ่งที่น้อยคนจะทำได้ การมีเงินมากๆ การทำงานดีดี การมีอำนาจ การมีวีรกรรมอันเป็นที่เล่าขานสืบไปอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีคนเป็นจำนวนมากที่ทำได้แล้ว ผมสนใจและทุ่มเทให้กับอะไรบางอย่าง อย่างธรรม ที่แม้แต่คนเก่งๆในสายงานด้านต่างๆจะพยายามเข้าถึงโดยใช้ชีวิตเป็นเดิมพันก็ยังทำไม่ได้ ผมสนใจอะไรที่โคตรยากแบบนี้
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
ผมเองแปลกใจกับคำตอบที่ได้อยู่มากเพราะแค่ครึ่งทางทำไมมีแค่ห้าเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมานึกถึงหนึ่งปีที่ผ่านมาตั้งแต่ผมเข้าใจเรื่องศีล ผมไม่เคยแนะนำใครได้จนมาถึงจุดนี้เลยทั้งๆที่พูดมาโดยตลอด แม้แต่พระในวัดเมื่อขึ้นเทศน์สอนแนะนำการปฏิบัติ พวกเค้าจะไม่พูดเรื่องศีลชนิดนี้
ในช่วงที่เข้าใจเรื่องศีลปรมัตถ์ มันจะติดจินตญาณ ผมรู้เลยว่าความเข้าใจที่เกิดกับผมมันเลยระดับพระทั่วๆไปที่อยู่ในวัดไปแล้ว มันจะขาดความเคารพพระไม่เชื่อฟังพระอารมณ์มันยังกระด้างกระเดื่อง เพราะว่ามันรู้ดีกว่าพระ มันเก่งกว่าพระ ต่อมาผมถึงได้เข้าใจว่า มันไม่ใช่ความผิดของเค้า การที่เค้ารู้มาไม่ถึงตรงนี้ทำให้เค้าสอนของพวกนี้ไม่ได้ เค้ารู้แค่ไหนเค้าก็สอนได้แค่นั้น ถ้าใช้คำพูดแบบชาวบ้านเลยก็คือ เค้ามีปัญญาแค่นั้น
ปัญหาของคนที่เข้าใจธรรมอยู่ตรงไหน อยู่ตรงที่คนเราเข้าใจธรรมไม่เท่ากัน และเมื่อคนพวกนี้มีหน้าที่ที่จะต้องสอน จะสอนไม่เหมือนกันและตรงที่เป็นช่องว่างของความต่างระดับนี่เองที่จะทำให้ขัดแย้งกัน เรื่องนี้ค่อนข้างละเอียดตั้งใจอ่านนะครับ
สมมติว่า ผมอยู่ในระยะโสดาบัน คุณอยู่ในระยะสกิทาคามี เราสองคนไม่รู้จักกัน ผมไม่ทราบว่าคุณเป็นสกิทาคามี คุณไม่ทราบว่าผมเป็นโสดาบัน เมื่อเราพบกันเริ่มคุยกันถึงสภาวธรรมของตนเอง เมื่อเราเริ่มคุยกันเรื่องพื้นฐานการสนทนาจะราบรื่นไปเรื่อยๆ ต่อมาเมื่อเริ่มคุยกันในระดับที่ลึกขึ้น ผมจะเริ่มไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณพูดและอธิบาย ผมจะเริ่มตั้งคำถามกับคุณพร้อมทั้งเริ่มโต้แย้ง สิ่งที่คุณพูดล้วนขัดแย้งต่อความเข้าใจของผม หรือขัดแย้งจากคำสอนของคนที่ผมเคารพศรัทธา ความไม่เชื่อถือจะเกิดตรงนี้
ในขณะเดียวกันคุณจะมองผมขาดทันทีว่า สภาวะระยะธรรมของผมยังอยู่แค่โสดาบัน เพราะคุณเคยมีอาการสงสัยเคลือบแคลงแบบนี้มาก่อน ฟังจากประสบการณ์ธรรมของผม ทัศนคติของผม คุณจะรู้ทันทีว่าผมอยู่ตรงไหน แต่คุณจะไม่พูดออกมาว่า นี่นายอยู่โสดาบันนะ ส่วนชั้นอยู่สกิทาคามีแล้ว
การพูดโกหกว่า ตนเองเข้าถึงสภาวะอริยบุคคลขั้นนั้นขั้นนี้ ต่อหน้าคนรู้จริงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เพราะเนื้อหาที่พูดออกมาจะเป็นตัวชี้ชัดเองว่า ผู้พูดนำธรรมะระดับไหนออกมาแสดง ต่อให้ผมจำคำพูดของผู้รู้จริงมาพูดแต่เมื่อโดนซักเรื่องรายละเอียดกระบวนการขั้นตอนการเข้าไปรู้ หรือที่เรียกว่าปัญญาญาณ ถ้าไม่ผ่านมาจริงโดนยิงร่วงทุกราย ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่น่าตลกก็คือ มีแต่ผู้ที่อยู่เหนือคุณเท่านั้นที่อ่านคุณออก คุณไม่สามารถอ่านคนที่อยู่เหนือคุณออกได้เลย มันจะมีเพียงความสงสัยและไม่มีศรัทธาในตัวเค้าเท่านั้น
เมื่อผู้ที่มีระดับความเข้าใจต่อธรรมไม่เท่ากันคุยกัน ส่วนใหญ่บทสนทนาจะจบลงตรงนี้ เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะสนทนาต่อไป นอกเสียจากว่า ผมจะติดขัดปัญหาบางอย่างอยู่ ซึ่งปัญหานั้นผมได้ทดลองมาทุกวิธีแล้วก็ผ่านไม่ได้ จริงอยู่ผมสงสัยว่าคุณอธิบายอะไรให้ผมฟัง ผมไม่เชื่อ แต่ผมลองทำดูเพราะสิ่งที่ผมลองมาทั้งหมดมันไม่ได้ผล แล้วเมื่อผลของการทดลองทำตามคำแนะนำของคุณนั้นทำให้จิตใจผมเปลี่ยนสภาพ ผมจึงจะยอมรับว่า คนที่ผมคุยด้วยอยู่ในระดับที่สูงกว่าผม ซึ่งกว่าจะยอมทดลองทำตามบางคนเสียเวลาเป็นปีปี จึงพึ่งระลึกได้ว่าเคยมีคนพูดอย่างนี้ไว้ เป็นเราเองที่ฟังคำพูดนั้นไม่ออก
ในความจริงมีคนประเภทที่ทดลองทำจำนวนน้อยเมื่อเจอคนที่อยู่สูงกว่าตัวเอง คงจะห้าเปอร์เซ็นต์นั่นล่ะเพราะมันมองไม่ออกครับ ระดับโสดาบันนั้นยังติดทิฐิหรือเรียกว่าอีโก้ เค้าจะมองตัวเองว่าเจ๋งพอตัว เค้าจะไม่เชื่อฟังใครเลย นอกจากคนที่เค้าเคารพศรัทธาเท่านั้น สำหรับคนที่อยู่สูงแล้ว เค้าเพียงสอนและพูดเมื่อถูกถาม แต่ความคาดหวังว่าคุณจะทำตามเชื่อฟังหรือไม่นั้นไม่มีเลย เมื่อการสนทนาเริ่มติดขัดเค้าจะเริ่มเงียบและเดินจากไป
มันจะกลายเป็นว่าฝ่ายหนึ่งมองว่า อีกฝ่ายถูกต้อนด้วยคำถามจนจนแต้ม เพราะไม่สามารถหาคำตอบอันเป็นที่พอใจมาให้ได้ ส่วนอีกฝ่ายมองว่า หาประโยชน์ในการสนทนาไม่ได้ มิสู้นิ่งเสียดีกว่า นี่คือสถานการณ์จริงที่เกิดในทุกวันนี้
บางคนอ่านบล็อกที่ผมเขียน เกิดความสนใจเดินเข้ามาบอกว่า ช่วยแนะนำผมด้วยครับ แต่เมื่อเราเริ่มสนทนากัน คำพูดที่ผมได้ยินทุกครั้งคือ “ตรงนี้ผมขอค้านครับ” “ตรงนี้ผมเห็นต่างออกไปครับ” “มันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ” “พระองค์นั้นไม่เห็นพูดอย่างนี้เลยครับ” ในเมื่อเค้าบอกเองว่า มีอะไรให้บอกให้เตือนได้เลย แต่เมื่อพูดแล้วเค้าก็ไม่ฟังเพราะมีเรื่องคัดค้านในหัวเต็มไปหมด คำพูดของเค้าที่ว่าให้ช่วยแนะนำผมหน่อย เตือนผมได้เลยก็เริ่มเลือนหายไปจากสมองผม
ผลสุดท้ายคือ เป็นการสนทนาที่เสียเวลาทั้งของผมและของเค้า ผมเองไม่มีหัวใจของโพธิสัตว์อวตาร ผมไม่สนใจการเผยแผ่ธรรมเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกหมู่มาก ผมมองทุกชีวิตเท่ากันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปทุ่มเทสอนใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ นอกเสียจากคนคนนั้นอยู่ในระยะที่ต้องการคำแนะนำจริงๆ เค้าจนแต้มและเปิดรับ ถ้าเป็นอย่างนั้นผมจะเดินเข้าไปหาเอง และไม่คาดหวังอะไรนอกจากเห็นเค้าผ่านปัญหาของเค้าได้
ผมยินดีจะทุ่มเทความสามารถที่ผมมีทั้งหมดสอนให้กับคนประเภทเดียวกัน และนั่นคือต้นกำเนิดของการเป็นศิษย์อาจารย์ มีชีวิตผูกพันกันด้วยมิตรภาพแห่งการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริง ผมมองตัวเองว่า ชีวิตนี้ผมคงมีศิษย์ไม่กี่คน เพราะคนที่อัดจนกว่าจะสลบ สามารถทิ้งอนาคต การฝึกฝนตัวเองต้องมาเป็นอันดับหนึ่งในชีวิต ไม่ว่าจะทำอะไรในชีวิตนี้ ปัจจัยแรกที่ต้องปรากฏขึ้นเพื่อใช้พิจารณาตัดสินใจคือ การฝึก จะมีซักกี่คนกัน
เมื่อผมตัดสินใจเดินทางนี้ผมจะเดินให้สุด และเมื่อผมตัดสินใจสอนใคร หมอนั่นต้องมาสุดด้วย คงเป็นนิสัยส่วนตัวที่ไม่นิยมการทำอะไรครึ่งๆกลางๆ และตราบใดที่ผมยังไปได้ไม่สุด ผมไม่สนการตั้งตัวเป็นอาจารย์รับใครเป็นศิษย์
มีคนถามผมว่า กะเอาให้ชาตินี้เป็นอรหันต์เลยใช่ไหม ผมเองไม่ทราบจะตอบอย่างไร เพราะผมสนใจเรื่องอรหันต์น้อยมาก สิ่งที่ผมสนใจคือ การเข้าใจศาสตร์ศาสตร์หนึ่งอย่างแท้จริงและจบสิ้น ถ้าสิ่งนั่นถูกเรียกว่า อรหันต์ ใช่ผมจะฝึกเพื่อเป็นอรหันต์
บางคนบอกว่าฝึกไปไม่ให้ทุกข์ก็พอแล้ว แต่ผมไม่พอใจตราบใดที่ยังไม่ถึงที่สุดมันจะยังมีทุกข์อยู่ดี อยู่ที่ว่ามองเห็นความละเอียดของมันหรือเปล่า มันก็เหมือนกับคนที่เริ่มฝึกเพราะอยากจะเป็นโสดาบันนั่นล่ะครับ เมื่อคุณไปถึงจุดนั้นคุณจะพบว่า โสดาบันไม่เห็นวิเศษอะไรเท่าไหร่ ยังมีจุดอ่อนเยอะมาก จึงพยายามจะปิดจุดอ่อนนั้น มันก็อยากจะเป็นสกิทาคามีต่อไป เมื่อคุณเดินมาถึงสกิทาคามีมันก็ยังมีจุดอ่อนที่คุณรู้อยู่เต็มอกอยู่อีก ทีนี้จะไม่เกี่ยวกับการเป็นอริยบุคคลขั้นไหนๆแล้ว มันจะหาทางเอาชนะทุกข์อย่างเดียว พอมันเดินมาถึงอนาคามี มันก็ยังมีทุกข์ขั้นละเอียดอยู่อีก แล้วมันจะเหลืออะไรอีกล่ะ ถ้าตามตำราเป็นจริงว่ามีสี่ระดับ มันก็ต้องไปจนถึงระดับสุดท้ายเท่านั้น เพื่อให้ภารกิจมันสิ้นจบไป ไม่ให้มีอะไรค้างคาชีวิตอยู่อีก
มันจึงไม่ใช่เรื่องของการกระหายอยากจะเป็นอริยบุคคล แต่เป็นเรื่องของความยังไม่เพอเฟ็กท์ เพราะฉะนั้นถ้าคำถาม ถามว่าจะฝึกปฏิบัติธรรมไปทำไม จุดมุ่งหมายคืออะไร ผมจะตอบว่า แล้วมันเรื่องอะไรที่จะไม่ปฏิบัติ ถ้าระดับสูงสุดเรียกว่าอรหันต์ ผมจะฝึกเพื่อที่จะเป็นอรหันต์ ถ้ามันเรียกว่านิพพาน ผมจะเข้าให้ถึงนิพพาน ถ้ามันเรียกว่า เชือกขาด ผมจะฝึกจนกว่ามันจะขาด ถ้าเรียกว่าจืดทั้งตัว ผมจะฝึกจนกว่าจะจืดทั้งตัว
มันเป็นเรื่องจุดมุ่งหมายของชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ที่จะทำอะไรซักอย่างเพื่อให้สามารถยอมรับตัวเองได้ เอาชนะตัวเองได้ นายทำสิ่งที่น้อยคนจะทำได้ การมีเงินมากๆ การทำงานดีดี การมีอำนาจ การมีวีรกรรมอันเป็นที่เล่าขานสืบไปอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีคนเป็นจำนวนมากที่ทำได้แล้ว ผมสนใจและทุ่มเทให้กับอะไรบางอย่าง อย่างธรรม ที่แม้แต่คนเก่งๆในสายงานด้านต่างๆจะพยายามเข้าถึงโดยใช้ชีวิตเป็นเดิมพันก็ยังทำไม่ได้ ผมสนใจอะไรที่โคตรยากแบบนี้
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
สอนน้อง
ไม่มีเรื่องจะอัพเดทครับ แต่เห็นตัวเคาว์เตอร์แล้วคงต้องเขียนอะไรลงไปบ้างเพราะคงมีคนเข้ามาเยี่ยมเสมอ
เอาเป็นวิธีสอนเด็กให้ฝึกรู้สึกตัวแล้วกันนะครับ ผมใช้วิธีอย่างนี้ครับและพบว่ามันได้ผล
ผมสอนเด็กคนหนึ่งให้เริ่มรู้สึกตัว ผมเริ่มตอนเค้าห้าขวบ ตอนนี้เค้าอายุเกือบจะหกขวบแล้วครับ
เด็กคนนี้ชอบผมมันจึงค่อนข้างง่าย ผมนั่งเล่นเกมส์คอมกับเค้า เล่นต่อสู้กับเค้า เล่นหุ่นยนต์กับเค้า เค้าก็เลยชอบผม
ผมเริ่มด้วยการให้เค้ายกมือสร้างจังหวะกับเดินจงกรม แต่เน้นนั่งมากกว่า ผมบอกว่าถ้านั่งยกมืออย่างนี้พี่จะเล่นด้วย เค้าจึงจำใจทำตาม ต่อมาเมื่อเค้าเริ่มร้องเรียกให้ผมเล่นด้วย ผมจะบอกก่อนเลยว่า มานั่งหลวงพ่อเทียนก่อนแล้วพี่จะเล่นด้วย เค้าก็จำใจทำเรื่อยมา เค้าก็จะทำได้ 2รอบบ้าง 3รอบบ้างในช่วงแรกๆ
ต่อมาผมเริ่มเพิ่มเงื่อนไขเพราะผมถือไพ่เหนือกว่า ถ้าไม่นั่งไม่ต้องมาเล่นด้วย ผมบอกว่าต่อไปเอาห้ารอบ เค้าก็จะต่อรองว่า อีกแล้วเหรอทำไมต้องนั่งด้วยเนี่ยไม่สนุกเลย น่าเบื่อมาก บางทีก็งอนผมบอกใจร้ายชอบบังคับ บางครั้งผมก็ยอมเค้าด้วยความทีเค้ายังเด็ก
ต่อมาผมบอกว่า 15 รอบ พอเค้านั่งจบผมบอกว่า คนเราต้องรู้จักให้มากกว่าคนที่เค้าร้องขอ ถ้าพี่ขอสิบห้าเธอต้องแถมให้เป็นสิบหกช่วงหลังผมชักได้ใจบอกเอา 20 รอบ เธอโตแล้วและต้องแถมให้สองรอบด้วย เค้าครางแล้วต่อรองว่า 19 แถมสามได้ไหม ผมทำท่าครุ่นคิดแล้วบอกว่าก็ได้
ในเวลาที่เค้ายกมือสร้างจังหวะเค้าจะหาว ผมก็บอกว่า ถ้าเรารู้สึกตัวไม่ชัดเราจะหาวนะ เธอหาวเพราะว่าเธอไม่ตั้งใจรู้สึกตัว
ผมจะคอยถามเค้าว่า รู้สึกตัวไหม รู้สึกยังไง เค้าจะตอบว่า รู้สึก ก็รู้สึกตัวไงละ เวลาที่เราไปข้างนอกด้วยกันผมจะให้เค้านั่งฝึกตลอดไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า เมืองทองธานี ร้านอาหาร โรงเรียน
มีวันนึงเรานั่งเล่นเกมด้วยกันผมเผลอทำคันบังคับหล่นจากมือไปโดนตัวเครื่องจนเกมมันค้าง เค้าพูดประโยคที่ทำให้ผมงงมากว่า "เห็นฤทธิ์ของความไม่รู้สึกตัวหรือยัง" ผมนึกในใจไอ้หมอนี่ใช้ได้แฮะ
และที่ทำให้ผมทึ่งมาก วันหนึ่งผมนั่งสร้างจังหวะอยู่ในห้อง เค้ามาเคาะห้องบอกว่าจะฝึกด้วย พาเพื่อนอายุประมาณหกขวบมาด้วยหนึ่งคน แล้วเริ่มสอนเพื่อนตัวเองต่อหน้าผม ว่านั่งยังไง หมอนี่พูดคำพูดผมแป๊ะๆเลย สอนเพื่อนว่า เคลื่อนแล้วหยุด เคลื่อนแล้วหยุดอย่างนี้นะ แล้วสอนเพื่อนต่อไปว่า ถ้าทำไปแล้วหาวแสดงว่าไม่รู้สึกตัวนะ ผมอดยิ้มไม่ได้จริงๆ เด็กสองคนนั่งข้างหน้าผม กำลังพูดเรื่องความรู้สึกตัว ตอนหกขวบคำว่ารู้สึกตัวไม่เคยออกจากปากผมเลยมั้งนี่ และผมเห็นความแตกต่างชัดเจนคนนึงฝึกรู้สึกตัวมาอีกคนหนึ่งไม่เคย ลักษณะการนั่ง ความลอกแลก ความนิ่ง มันเห็นชัดมาก
ผมแกล้งถามเจ้าหมอนี่ว่า เห็นความคิดไหม เค้าบอกว่า เห็น ผมไม่แน่ใจจึงถามว่า ตะกี้คิดเรื่องอะไร เค้านิ่งเหมือนคิดอะไรซักอย่างแล้วเค้าตอบว่าคิดเรื่องที่ครูสอนที่โรงเรียน ผมจึงแกล้งถามต่อไปว่า คิดแล้วทำยังไงเพราะยังไม่เคยสอนไปถึงช่วงให้รู้จักความคิด คำตอบเค้าทำเอาผมตะลึง เค้าบอกว่า "ก็กลับมารู้สึกตัวไง" ผมยังไม่เคยบอกให้ทำอย่างนี้เลยหมอนี่รู้ได้ยังไงเนี่ย นี่มันคำพูดของเด็กหกขวบหรือ ผมกำลังสร้างตัวอะไรขึ้นมานี่
ลองเอาไปสอนลูกหลานดูครับ ยิ่งเด็กจะยิ่งสอนง่ายมากๆ เพียงต้องอดทนและมีเทคนิคหน่อยเท่านั้น
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
เอาเป็นวิธีสอนเด็กให้ฝึกรู้สึกตัวแล้วกันนะครับ ผมใช้วิธีอย่างนี้ครับและพบว่ามันได้ผล
ผมสอนเด็กคนหนึ่งให้เริ่มรู้สึกตัว ผมเริ่มตอนเค้าห้าขวบ ตอนนี้เค้าอายุเกือบจะหกขวบแล้วครับ
เด็กคนนี้ชอบผมมันจึงค่อนข้างง่าย ผมนั่งเล่นเกมส์คอมกับเค้า เล่นต่อสู้กับเค้า เล่นหุ่นยนต์กับเค้า เค้าก็เลยชอบผม
ผมเริ่มด้วยการให้เค้ายกมือสร้างจังหวะกับเดินจงกรม แต่เน้นนั่งมากกว่า ผมบอกว่าถ้านั่งยกมืออย่างนี้พี่จะเล่นด้วย เค้าจึงจำใจทำตาม ต่อมาเมื่อเค้าเริ่มร้องเรียกให้ผมเล่นด้วย ผมจะบอกก่อนเลยว่า มานั่งหลวงพ่อเทียนก่อนแล้วพี่จะเล่นด้วย เค้าก็จำใจทำเรื่อยมา เค้าก็จะทำได้ 2รอบบ้าง 3รอบบ้างในช่วงแรกๆ
ต่อมาผมเริ่มเพิ่มเงื่อนไขเพราะผมถือไพ่เหนือกว่า ถ้าไม่นั่งไม่ต้องมาเล่นด้วย ผมบอกว่าต่อไปเอาห้ารอบ เค้าก็จะต่อรองว่า อีกแล้วเหรอทำไมต้องนั่งด้วยเนี่ยไม่สนุกเลย น่าเบื่อมาก บางทีก็งอนผมบอกใจร้ายชอบบังคับ บางครั้งผมก็ยอมเค้าด้วยความทีเค้ายังเด็ก
ต่อมาผมบอกว่า 15 รอบ พอเค้านั่งจบผมบอกว่า คนเราต้องรู้จักให้มากกว่าคนที่เค้าร้องขอ ถ้าพี่ขอสิบห้าเธอต้องแถมให้เป็นสิบหกช่วงหลังผมชักได้ใจบอกเอา 20 รอบ เธอโตแล้วและต้องแถมให้สองรอบด้วย เค้าครางแล้วต่อรองว่า 19 แถมสามได้ไหม ผมทำท่าครุ่นคิดแล้วบอกว่าก็ได้
ในเวลาที่เค้ายกมือสร้างจังหวะเค้าจะหาว ผมก็บอกว่า ถ้าเรารู้สึกตัวไม่ชัดเราจะหาวนะ เธอหาวเพราะว่าเธอไม่ตั้งใจรู้สึกตัว
ผมจะคอยถามเค้าว่า รู้สึกตัวไหม รู้สึกยังไง เค้าจะตอบว่า รู้สึก ก็รู้สึกตัวไงละ เวลาที่เราไปข้างนอกด้วยกันผมจะให้เค้านั่งฝึกตลอดไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า เมืองทองธานี ร้านอาหาร โรงเรียน
มีวันนึงเรานั่งเล่นเกมด้วยกันผมเผลอทำคันบังคับหล่นจากมือไปโดนตัวเครื่องจนเกมมันค้าง เค้าพูดประโยคที่ทำให้ผมงงมากว่า "เห็นฤทธิ์ของความไม่รู้สึกตัวหรือยัง" ผมนึกในใจไอ้หมอนี่ใช้ได้แฮะ
และที่ทำให้ผมทึ่งมาก วันหนึ่งผมนั่งสร้างจังหวะอยู่ในห้อง เค้ามาเคาะห้องบอกว่าจะฝึกด้วย พาเพื่อนอายุประมาณหกขวบมาด้วยหนึ่งคน แล้วเริ่มสอนเพื่อนตัวเองต่อหน้าผม ว่านั่งยังไง หมอนี่พูดคำพูดผมแป๊ะๆเลย สอนเพื่อนว่า เคลื่อนแล้วหยุด เคลื่อนแล้วหยุดอย่างนี้นะ แล้วสอนเพื่อนต่อไปว่า ถ้าทำไปแล้วหาวแสดงว่าไม่รู้สึกตัวนะ ผมอดยิ้มไม่ได้จริงๆ เด็กสองคนนั่งข้างหน้าผม กำลังพูดเรื่องความรู้สึกตัว ตอนหกขวบคำว่ารู้สึกตัวไม่เคยออกจากปากผมเลยมั้งนี่ และผมเห็นความแตกต่างชัดเจนคนนึงฝึกรู้สึกตัวมาอีกคนหนึ่งไม่เคย ลักษณะการนั่ง ความลอกแลก ความนิ่ง มันเห็นชัดมาก
ผมแกล้งถามเจ้าหมอนี่ว่า เห็นความคิดไหม เค้าบอกว่า เห็น ผมไม่แน่ใจจึงถามว่า ตะกี้คิดเรื่องอะไร เค้านิ่งเหมือนคิดอะไรซักอย่างแล้วเค้าตอบว่าคิดเรื่องที่ครูสอนที่โรงเรียน ผมจึงแกล้งถามต่อไปว่า คิดแล้วทำยังไงเพราะยังไม่เคยสอนไปถึงช่วงให้รู้จักความคิด คำตอบเค้าทำเอาผมตะลึง เค้าบอกว่า "ก็กลับมารู้สึกตัวไง" ผมยังไม่เคยบอกให้ทำอย่างนี้เลยหมอนี่รู้ได้ยังไงเนี่ย นี่มันคำพูดของเด็กหกขวบหรือ ผมกำลังสร้างตัวอะไรขึ้นมานี่
ลองเอาไปสอนลูกหลานดูครับ ยิ่งเด็กจะยิ่งสอนง่ายมากๆ เพียงต้องอดทนและมีเทคนิคหน่อยเท่านั้น
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
ลำดับอารมณ์ ..... level up
ผมได้ย้อนกลับมาอ่านสิ่งที่หลวงพ่อเทียนเขียนเรื่องลำดับอารมณ์วิปัสสนาด้วยลายมือของท่านเอง มันเป็นความแตกต่างอย่างที่สุดของการสอนธรรมของหลวงพ่อเทียนกับอาจารย์กรรมฐานท่านอื่นๆที่ผมรู้จัก เพราะท่านบอกขั้นตอนแต่ละขั้นไว้อย่างชัดเจน สิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้นอีกคือ ผู้ที่เดินตามคำสอนของท่านจะพบสิ่งที่ท่านบอกไว้ตามลำดับขั้นตอนไม่ผิดเพี้ยนเลย และในบทความนี้ผมจะแตกรายละเอียดออกมาทั้งหมด ตามความเข้าใจที่ผมประสบพบเห็น ยกเว้นเพียงในระดับสูงสุดที่ยังไม่สามารถแจกแจงได้
นี่คือสิ่งหลวงพ่อเทียนเขียนไว้
- อาการเกิดดับ
-----------------------
- กุศลทาง กายวาจาใจ รวมกัน
- กุศลทางใจ
- กุศลทางวาจา
- กุศลทางกาย
- อกุศลทาง กายวาจาใจ รวมกัน
- อกุศลทางใจ
- อกุศลทางวาจา
- อกุศลทางกาย
-----------------------
- อวิชาสาวะ
- ภวาสาวะ
- กามาสาวะ
- ปัญญาขันธ
- สมาธิขันธ
- ศีลขันธ
-----------------------
- กรรม
- อุปาทาน
- ตัณหา
- กิเลส
-----------------------
- วิญญาณ
- สังขาร
- สัญญา
- เวทนา
- โทสะ
- โมหะ
- โลภะ
- อาการ
- ปรมัตถ์
- วัตถุ
-----------------------
- รูปนาม
................................................................................
ผมได้ทดลองเขียนเป็นแผนภาพเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จากการฟังคำบรรยายของหลวงพ่อเทียนจากซีดี ท่านพูดแบบรวดเดียวจบ จากต้นไปหาปลาย ซึ่งหลายๆอย่างฟังแล้วไม่เข้าใจว่าท่านหมายถึงอะไร เช่นขันธสี่ ขันธสาม ขันธสอง ขันธเดียว มันมีบางอย่างที่ทับซ้อนกันตามความเข้าใจของคนที่มีความรู้จากตำรา ว่ามันอยู่ช่วงไหนระยะไหน ส่วนหนึ่งเพราะว่ามันเป็นประสบการณ์ส่วนตัวจึงใช้คำพูดต่างกัน แต่ถ้าเดินตามกันมาจะเข้าใจของพวกนี้ได้เอง ผมได้เทียบเอาไว้ในแผนภาพดังข้างล่างนี้
ถ้าใครก็ตามที่ฝึกตามแนวทางหลวงพ่อเทียนอยู่ เมื่ออ่านจากแผนภาพด้านล่างนี้แล้ว ท่านจะทราบว่าการเลเวลอัพ ไม่สามารถกระโดดข้ามขั้นได้ และของพวกนี้ไม่สามารถพูดโกหกกันได้ว่ามาถึงสภาวะนั้นสภาวะนี้แล้ว เนื่องจากผู้ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าจะฟังออกทันที ว่าคุณโกหกหรือไม่ ส่วนเค้าจะตอบสนองต่อคำพูดนั้นๆอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อีกประการหนึ่งคือ ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าในความเป็นจริงไม่มีขั้นแบ่งอะไรทั้งนั้น อันนี้จริงในแง่การไม่ยึดติดต่อสมมต แต่ถ้าใครก็ตามที่เดินตามทางหลวงพ่อเทียน แล้วสภาวะของเค้าเปลี่ยนจากเดิมเป็นขั้นเป็นตอน คนพวกนี้จะสามารถไล่ลำดับอารมณ์ในแต่ละขั้นได้อย่างแน่นอนและมันต้องเป็นทุกคน เพราะมันมีความแตกต่างของอารมณ์วิปัสสนาในแต่ละช่วง แล้วถ้ามาเทียบกับของคนอื่นที่อยู่ในระดับเดียวกันจะพบว่ามันเหมือนกันอีกด้วย แต่การจะเทียบและมองขั้นออกจะต้องเดินมาถึงที่ระดับศีลปรมัตถ์ก่อนเป็นอย่างน้อยไม่อย่างนั้นจะมองไม่ออก เพราะว่าอารมณ์ของโสดาบันกับสกิทาคามีและอนาคามีนั้นไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยู่ที่โสดาบันคุณไม่สามารถเปรียบเทียบกับอะไรได้นอกจากปุถุชนที่ไม่ได้ฝึก ถ้าคุณอยู่ที่สกิทาคามีคุณจะเปรียบเทียบระดับได้ชัดเจนจากโสดาบันและปุถุชน ถ้าคุณอยู่ที่อนาคามีคุณจะรู้ว่าอะไรคือความต่างของสกิทาคามีโสดาบันและปุถุชน มันจะเห็นระดับอารมณ์เป็นชั้นๆอย่างนั้นเลย
และคำพูดที่ผมใช้เกี่ยวกับอริยบุคคลต่างๆนี้ มิได้มีจุดประสงค์อวดอ้าง เพียงแต่เป็นการนำคำสอนของหลวงพ่อเทียนและตำรามาเทียบเคียงกันตามความเข้าใจส่วนตัวเท่านั้น ทุกวันนี้การสอนธรรมนั้นกระจัดกระจายไปตามสายต่างๆและไร้ระบบที่ชัดเจน มันคล้ายจะพูดได้เลยว่าฝึกๆไปส่งเดชอย่าไปคาดหวังอะไร วันดีคืนดีถ้าตั้งใจจริงมันจะเกิดขึ้นเอง ผมไม่เห็นด้วยเลย
นำมาทำเป็นตารางให้ดูง่ายๆ
เทียบกับขั้นของอริยบุคคล อุปสรรค และวิธีเทคนิคผ่าน
การที่คนเราไปติดอยู่ที่ขั้นไหนนานๆ เพราะมันไม่รู้เทคนิควิธีฝึกที่ถูกต้องนั้นเอง
ขันธต่างๆ ที่ท่านเรียกชื่อเอง
ความเข้าใจที่จะเกิดในแต่ละขั้น
เมื่อนำมารวมกันจะเห็นว่า คำสอนมีการซ้อนทับกันหลายชั้น แต่ถ้าแยกอออกมาเป็นเลเยอร์จะเข้าใจได้ง่ายมาก
การไล่ลำดับอารมณ์ลักษณะนี้แตกต่างจากการไล่ลำดับตามตำรา ตัวอย่างเช่น ญาณ 16 คุณจะพบว่ามันไม่เรียงจากหนึ่งไปสอง จากสองไปสามเสมอไปในแต่ละคน แต่มันกระโดดข้ามไปข้ามมาได้(ตามความเข้าใจของตัวเอง) มันคล้ายๆกับการเก็บหน่วยกิต เก็บตัวไหนก่อนก็ได้ เก็บหมดมันก็จบหลักสูตรอย่างนั้นหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงผู้บรรลุธรรมคงเดินเตะฝุ่นกันเกลื่อนกระมัง นั่นเพราะตัวหนังสือจากตำราไม่ได้สื่อถึงปรมัตถ์แต่มันสื่อถึงชื่อเรียกปรมัตถ์ เมื่อเรารู้ชื่อเรียกก่อนเราจะจับมันไปลงกับปรมัตถ์ตัวไหนก็ได้ตามความหลงผิด
การสอนของหลวงพ่อเทียนจึงเป็นอะไรที่แปลกมาก สำหรับคนที่เรียนหนังสือมาตามระบบการศึกษาอย่างผม แม้ผมรู้ว่าเค้าพูดอะไร แต่ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร มันเป็นคำพูดง่ายๆศัพท์แสงต่างๆก็คล้ายเคยได้ยินจากตำรามาบ้าง แต่ไปเปิดหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากไหนไม่สามารถเจอได้เลย ถึงเจอก็ไม่ใช่เพราะมันไม่ได้เป็น แม้แต่ตัวคำสอนของท่านเองก็ไม่บอกไว้ชัดๆว่าคืออะไร เช่น ศีลปรมัตถ์ จินตญาณ ต้นกำเนิดของความคิด วิปลาส ขันธสี่สามสองหนึ่ง
ครูผู้สอนจึงเป็นตัวสำคัญอย่างมากในการเช็คระยะความเข้าใจของศิษย์ เนื่องจากไปหาคำตอบจากที่ไหนไม่ได้ ศิษย์จึงต้องหาคำตอบจากการฝึกเท่านั้น เมื่อศิษย์ถูกถามแล้วสามารถตอบคำถามได้ จึงเป็นตัวเช็คที่ใช้ได้ตัวหนึ่ง และคำตอบนี้จะเหมือนกันกับทุกคนที่ผ่านก้าวข้ามจุดนั้นๆไปแล้ว อีกทั้งคำตอบลักษณะนี้จะโกหกไม่ได้อีกด้วย นั่นเพราะว่าทันทีที่ศิษย์ทราบคำตอบ พฤติกรรมการกระทำบางอย่างของศิษย์จะเปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งสังเกตกันได้ง่ายๆ ว่าตอบจากการจำคำใครมา คำตอบแบบนี้จึงไม่ใช่การรู้แต่ตอบจากการเป็น
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมจะเขียนไว้เพราะคิดว่าเนื้อหานั้นคาบเกี่ยวกัน คือ การใช้สังโยชน์เป็นตัววัดระดับความเป็นอริยบุคคล ผมไม่ทราบว่าสังโยชน์แต่ละขั้นมีอะไรบ้างเพราะไม่เคยจำได้ มีเพียงอันเดียวที่จำได้แม่นคือ อนาคามีละกามารมณ์ได้ เมื่อผมสังเกตคนอื่นที่ได้สนทนาเกี่ยวกับสภาวะธรรมให้ฟัง คนหลายคนเข้าใจว่า เมื่อไม่มีอาการโกรธเกิดขึ้นเลยหรือไม่มีความต้องการทางเพศเกิดขึ้นเลย เป็นระยะเวลานานจนถึงในขณะที่พูดนั้น ตนสามารถละสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว
สิ่งที่เคยเกิดกับผมและผมสามารถพูดยืนยันได้ว่ามันไม่ใช่อย่างนั้นเลย
การที่สิ่งที่เคยแล้วไม่เกิดอีกเลย เป็นอาการที่เรียกว่า ปีติ หรือคุณอยู่ในสภาพที่ไม่มีใครมารบกวนกระทบกระทั่งคุณ สิ่งเหล่านี้จึงไม่แสดงตัวออกมา แต่ถ้ามีสิ่งที่กระทบคุณแบบจังจังหน้างานคุณจะรู้สึกถึงความพ่ายแพ้และความเข้าใจผิดของตัวเอง ต่อมาผมได้ค้นพบว่าวิธีการละของพวกนี้ที่ถูกต้องไม่ใช่การที่ของพวกนี้ไม่เกิดอีกเลย แต่เป็นการที่มันเกิดขึ้นตามปรกติแล้วเราสามารถเอาชนะมันได้ทุกครั้ง และเวลาในการเอาชนะเร็วขึ้นเรื่อยๆ อันนี้วัดกันเป็นวินาทีหรือเสี้ยววินาทีนะครับ ยกตัวอย่างเช่นการจะชนะกามได้ เราจะต้องพัวพันคลุกคลีอยู่กับมันจนเข้าใจตัวจริงของมัน แต่ไม่ใช่คลุกคลีแบบลงไปเสพมัน ถ้ามันไม่เกิดขึ้นจะเอาอะไรมาฝึก และมันไม่ใช่ลักษณะของการเสพกามแบบอิ่มหมีพีมันจนเบื่อแล้วมันจะเบื่อไปทั้งชีวิต การละราคะได้แบบหมดจดชนิดที่เท้าเหยียบประตูอนาคามีไม่ใช่แบบนั้น
มีช่วงที่กามเล่นงานผมอย่างหนัก เห็นผู้หญิงไม่ได้เลยไม่ว่าใครก็ตาม ผมอยากจะวิ่งไปดูดคอเหมือนผีดูดเลือด อวัยวะเพศจะแข็งตัวทันที เปิดหนังโป๊นั่งดูไป แต่ไม่ช่วยตัวเองครับใจมันแข็งกว่าความต้องการ ตอนอยุ่คนเดียวนี่ล่ะทีอันตรายที่สุดเพราะจะเสพยังไงก็ไม่มีใครรู้ แต่มันอายครับว่าจะแพ้ตัวเอง อยากดูหนังโป๊เอ้าเปิดเลย อยากดูดูไป แต่ไม่มีการช่วยตัวเองนะบอกไว้ก่อนเลย มันฝึกอยู่อย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนมันรู้วิธีเองว่าเราผ่านตัวนี้ได้ด้วยวิธีไหน แล้วเมื่อรู้วิธีจะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของแรงขับทางเพศอีกต่อไป
เหมือนกับการที่คุณจะผ่านการรัดร้อยของขันธ์ห้า ขันธ์ห้าต้องโจมตีคุณแบบเต็มเหนี่ยวแล้วคุณสามารถทะลวงผ่านมาได้ ประสบการณ์พวกนี้มีอยู่จริงนะครับผมขอเป็นคนหนึ่งที่รับรองให้ แล้วคุณจะไม่แพ้ขันธ์ห้าอีกเลย มันไม่ใช่ว่านั่งๆนอนๆชิลๆ แล้วบอกไม่มีอะไรจะต้องทำต้องละ นี่มันเป็นคนละเรื่องกันเลยพวกนี้เจอหน้างานจอดแน่ผมมั่นใจ
การที่คุณจะผ่านตัวไหนได้ ตัวนั้นจะต้องเล่นคุณอย่างหนักหน่วงแล้วคุณสามารถชนะให้เห็นกันจะจะ ไม่ใช่เค้าไม่ได้ขึ้นสังเวียนแล้วคุณประกาศเอาเองว่าคุณชนะเพราะคู่ต่อสู้ไม่มาขึ้นชก
ขอให้วันนี้ของทุกท่านสวยงามต่อไปครับ
นี่คือสิ่งหลวงพ่อเทียนเขียนไว้
- อาการเกิดดับ
-----------------------
- กุศลทาง กายวาจาใจ รวมกัน
- กุศลทางใจ
- กุศลทางวาจา
- กุศลทางกาย
- อกุศลทาง กายวาจาใจ รวมกัน
- อกุศลทางใจ
- อกุศลทางวาจา
- อกุศลทางกาย
-----------------------
- อวิชาสาวะ
- ภวาสาวะ
- กามาสาวะ
- ปัญญาขันธ
- สมาธิขันธ
- ศีลขันธ
-----------------------
- กรรม
- อุปาทาน
- ตัณหา
- กิเลส
-----------------------
- วิญญาณ
- สังขาร
- สัญญา
- เวทนา
- โทสะ
- โมหะ
- โลภะ
- อาการ
- ปรมัตถ์
- วัตถุ
-----------------------
- รูปนาม
................................................................................
ผมได้ทดลองเขียนเป็นแผนภาพเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จากการฟังคำบรรยายของหลวงพ่อเทียนจากซีดี ท่านพูดแบบรวดเดียวจบ จากต้นไปหาปลาย ซึ่งหลายๆอย่างฟังแล้วไม่เข้าใจว่าท่านหมายถึงอะไร เช่นขันธสี่ ขันธสาม ขันธสอง ขันธเดียว มันมีบางอย่างที่ทับซ้อนกันตามความเข้าใจของคนที่มีความรู้จากตำรา ว่ามันอยู่ช่วงไหนระยะไหน ส่วนหนึ่งเพราะว่ามันเป็นประสบการณ์ส่วนตัวจึงใช้คำพูดต่างกัน แต่ถ้าเดินตามกันมาจะเข้าใจของพวกนี้ได้เอง ผมได้เทียบเอาไว้ในแผนภาพดังข้างล่างนี้
ถ้าใครก็ตามที่ฝึกตามแนวทางหลวงพ่อเทียนอยู่ เมื่ออ่านจากแผนภาพด้านล่างนี้แล้ว ท่านจะทราบว่าการเลเวลอัพ ไม่สามารถกระโดดข้ามขั้นได้ และของพวกนี้ไม่สามารถพูดโกหกกันได้ว่ามาถึงสภาวะนั้นสภาวะนี้แล้ว เนื่องจากผู้ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าจะฟังออกทันที ว่าคุณโกหกหรือไม่ ส่วนเค้าจะตอบสนองต่อคำพูดนั้นๆอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อีกประการหนึ่งคือ ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าในความเป็นจริงไม่มีขั้นแบ่งอะไรทั้งนั้น อันนี้จริงในแง่การไม่ยึดติดต่อสมมต แต่ถ้าใครก็ตามที่เดินตามทางหลวงพ่อเทียน แล้วสภาวะของเค้าเปลี่ยนจากเดิมเป็นขั้นเป็นตอน คนพวกนี้จะสามารถไล่ลำดับอารมณ์ในแต่ละขั้นได้อย่างแน่นอนและมันต้องเป็นทุกคน เพราะมันมีความแตกต่างของอารมณ์วิปัสสนาในแต่ละช่วง แล้วถ้ามาเทียบกับของคนอื่นที่อยู่ในระดับเดียวกันจะพบว่ามันเหมือนกันอีกด้วย แต่การจะเทียบและมองขั้นออกจะต้องเดินมาถึงที่ระดับศีลปรมัตถ์ก่อนเป็นอย่างน้อยไม่อย่างนั้นจะมองไม่ออก เพราะว่าอารมณ์ของโสดาบันกับสกิทาคามีและอนาคามีนั้นไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยู่ที่โสดาบันคุณไม่สามารถเปรียบเทียบกับอะไรได้นอกจากปุถุชนที่ไม่ได้ฝึก ถ้าคุณอยู่ที่สกิทาคามีคุณจะเปรียบเทียบระดับได้ชัดเจนจากโสดาบันและปุถุชน ถ้าคุณอยู่ที่อนาคามีคุณจะรู้ว่าอะไรคือความต่างของสกิทาคามีโสดาบันและปุถุชน มันจะเห็นระดับอารมณ์เป็นชั้นๆอย่างนั้นเลย
และคำพูดที่ผมใช้เกี่ยวกับอริยบุคคลต่างๆนี้ มิได้มีจุดประสงค์อวดอ้าง เพียงแต่เป็นการนำคำสอนของหลวงพ่อเทียนและตำรามาเทียบเคียงกันตามความเข้าใจส่วนตัวเท่านั้น ทุกวันนี้การสอนธรรมนั้นกระจัดกระจายไปตามสายต่างๆและไร้ระบบที่ชัดเจน มันคล้ายจะพูดได้เลยว่าฝึกๆไปส่งเดชอย่าไปคาดหวังอะไร วันดีคืนดีถ้าตั้งใจจริงมันจะเกิดขึ้นเอง ผมไม่เห็นด้วยเลย
นำมาทำเป็นตารางให้ดูง่ายๆ
เทียบกับขั้นของอริยบุคคล อุปสรรค และวิธีเทคนิคผ่าน
การที่คนเราไปติดอยู่ที่ขั้นไหนนานๆ เพราะมันไม่รู้เทคนิควิธีฝึกที่ถูกต้องนั้นเอง
ขันธต่างๆ ที่ท่านเรียกชื่อเอง
ความเข้าใจที่จะเกิดในแต่ละขั้น
เมื่อนำมารวมกันจะเห็นว่า คำสอนมีการซ้อนทับกันหลายชั้น แต่ถ้าแยกอออกมาเป็นเลเยอร์จะเข้าใจได้ง่ายมาก
การไล่ลำดับอารมณ์ลักษณะนี้แตกต่างจากการไล่ลำดับตามตำรา ตัวอย่างเช่น ญาณ 16 คุณจะพบว่ามันไม่เรียงจากหนึ่งไปสอง จากสองไปสามเสมอไปในแต่ละคน แต่มันกระโดดข้ามไปข้ามมาได้(ตามความเข้าใจของตัวเอง) มันคล้ายๆกับการเก็บหน่วยกิต เก็บตัวไหนก่อนก็ได้ เก็บหมดมันก็จบหลักสูตรอย่างนั้นหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงผู้บรรลุธรรมคงเดินเตะฝุ่นกันเกลื่อนกระมัง นั่นเพราะตัวหนังสือจากตำราไม่ได้สื่อถึงปรมัตถ์แต่มันสื่อถึงชื่อเรียกปรมัตถ์ เมื่อเรารู้ชื่อเรียกก่อนเราจะจับมันไปลงกับปรมัตถ์ตัวไหนก็ได้ตามความหลงผิด
การสอนของหลวงพ่อเทียนจึงเป็นอะไรที่แปลกมาก สำหรับคนที่เรียนหนังสือมาตามระบบการศึกษาอย่างผม แม้ผมรู้ว่าเค้าพูดอะไร แต่ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร มันเป็นคำพูดง่ายๆศัพท์แสงต่างๆก็คล้ายเคยได้ยินจากตำรามาบ้าง แต่ไปเปิดหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากไหนไม่สามารถเจอได้เลย ถึงเจอก็ไม่ใช่เพราะมันไม่ได้เป็น แม้แต่ตัวคำสอนของท่านเองก็ไม่บอกไว้ชัดๆว่าคืออะไร เช่น ศีลปรมัตถ์ จินตญาณ ต้นกำเนิดของความคิด วิปลาส ขันธสี่สามสองหนึ่ง
ครูผู้สอนจึงเป็นตัวสำคัญอย่างมากในการเช็คระยะความเข้าใจของศิษย์ เนื่องจากไปหาคำตอบจากที่ไหนไม่ได้ ศิษย์จึงต้องหาคำตอบจากการฝึกเท่านั้น เมื่อศิษย์ถูกถามแล้วสามารถตอบคำถามได้ จึงเป็นตัวเช็คที่ใช้ได้ตัวหนึ่ง และคำตอบนี้จะเหมือนกันกับทุกคนที่ผ่านก้าวข้ามจุดนั้นๆไปแล้ว อีกทั้งคำตอบลักษณะนี้จะโกหกไม่ได้อีกด้วย นั่นเพราะว่าทันทีที่ศิษย์ทราบคำตอบ พฤติกรรมการกระทำบางอย่างของศิษย์จะเปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งสังเกตกันได้ง่ายๆ ว่าตอบจากการจำคำใครมา คำตอบแบบนี้จึงไม่ใช่การรู้แต่ตอบจากการเป็น
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมจะเขียนไว้เพราะคิดว่าเนื้อหานั้นคาบเกี่ยวกัน คือ การใช้สังโยชน์เป็นตัววัดระดับความเป็นอริยบุคคล ผมไม่ทราบว่าสังโยชน์แต่ละขั้นมีอะไรบ้างเพราะไม่เคยจำได้ มีเพียงอันเดียวที่จำได้แม่นคือ อนาคามีละกามารมณ์ได้ เมื่อผมสังเกตคนอื่นที่ได้สนทนาเกี่ยวกับสภาวะธรรมให้ฟัง คนหลายคนเข้าใจว่า เมื่อไม่มีอาการโกรธเกิดขึ้นเลยหรือไม่มีความต้องการทางเพศเกิดขึ้นเลย เป็นระยะเวลานานจนถึงในขณะที่พูดนั้น ตนสามารถละสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว
สิ่งที่เคยเกิดกับผมและผมสามารถพูดยืนยันได้ว่ามันไม่ใช่อย่างนั้นเลย
การที่สิ่งที่เคยแล้วไม่เกิดอีกเลย เป็นอาการที่เรียกว่า ปีติ หรือคุณอยู่ในสภาพที่ไม่มีใครมารบกวนกระทบกระทั่งคุณ สิ่งเหล่านี้จึงไม่แสดงตัวออกมา แต่ถ้ามีสิ่งที่กระทบคุณแบบจังจังหน้างานคุณจะรู้สึกถึงความพ่ายแพ้และความเข้าใจผิดของตัวเอง ต่อมาผมได้ค้นพบว่าวิธีการละของพวกนี้ที่ถูกต้องไม่ใช่การที่ของพวกนี้ไม่เกิดอีกเลย แต่เป็นการที่มันเกิดขึ้นตามปรกติแล้วเราสามารถเอาชนะมันได้ทุกครั้ง และเวลาในการเอาชนะเร็วขึ้นเรื่อยๆ อันนี้วัดกันเป็นวินาทีหรือเสี้ยววินาทีนะครับ ยกตัวอย่างเช่นการจะชนะกามได้ เราจะต้องพัวพันคลุกคลีอยู่กับมันจนเข้าใจตัวจริงของมัน แต่ไม่ใช่คลุกคลีแบบลงไปเสพมัน ถ้ามันไม่เกิดขึ้นจะเอาอะไรมาฝึก และมันไม่ใช่ลักษณะของการเสพกามแบบอิ่มหมีพีมันจนเบื่อแล้วมันจะเบื่อไปทั้งชีวิต การละราคะได้แบบหมดจดชนิดที่เท้าเหยียบประตูอนาคามีไม่ใช่แบบนั้น
มีช่วงที่กามเล่นงานผมอย่างหนัก เห็นผู้หญิงไม่ได้เลยไม่ว่าใครก็ตาม ผมอยากจะวิ่งไปดูดคอเหมือนผีดูดเลือด อวัยวะเพศจะแข็งตัวทันที เปิดหนังโป๊นั่งดูไป แต่ไม่ช่วยตัวเองครับใจมันแข็งกว่าความต้องการ ตอนอยุ่คนเดียวนี่ล่ะทีอันตรายที่สุดเพราะจะเสพยังไงก็ไม่มีใครรู้ แต่มันอายครับว่าจะแพ้ตัวเอง อยากดูหนังโป๊เอ้าเปิดเลย อยากดูดูไป แต่ไม่มีการช่วยตัวเองนะบอกไว้ก่อนเลย มันฝึกอยู่อย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนมันรู้วิธีเองว่าเราผ่านตัวนี้ได้ด้วยวิธีไหน แล้วเมื่อรู้วิธีจะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของแรงขับทางเพศอีกต่อไป
เหมือนกับการที่คุณจะผ่านการรัดร้อยของขันธ์ห้า ขันธ์ห้าต้องโจมตีคุณแบบเต็มเหนี่ยวแล้วคุณสามารถทะลวงผ่านมาได้ ประสบการณ์พวกนี้มีอยู่จริงนะครับผมขอเป็นคนหนึ่งที่รับรองให้ แล้วคุณจะไม่แพ้ขันธ์ห้าอีกเลย มันไม่ใช่ว่านั่งๆนอนๆชิลๆ แล้วบอกไม่มีอะไรจะต้องทำต้องละ นี่มันเป็นคนละเรื่องกันเลยพวกนี้เจอหน้างานจอดแน่ผมมั่นใจ
การที่คุณจะผ่านตัวไหนได้ ตัวนั้นจะต้องเล่นคุณอย่างหนักหน่วงแล้วคุณสามารถชนะให้เห็นกันจะจะ ไม่ใช่เค้าไม่ได้ขึ้นสังเวียนแล้วคุณประกาศเอาเองว่าคุณชนะเพราะคู่ต่อสู้ไม่มาขึ้นชก
ขอให้วันนี้ของทุกท่านสวยงามต่อไปครับ
วิปลาส
เป็นโชคดีอีกครั้งที่ได้คุยกับพระท่านเดิม ผมนับถือเค้าเป็นอาจารย์เพราะเค้ารู้ลำดับอารมณ์ผมและกระตุ้นผมถูกจุดมาโดยตลอด เมื่อได้คุยกันคราวนี้เค้าทักว่า ระยะนี้เธอจะเห็นผิดเป็นชอบ ผมก็ไม่เข้าใจว่าอะไรยังไง เค้าเล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่เค้ายังไม่เข้าใจอาการตัวนี้ เค้าเหยียบมด ฆ่าสัตว์ แต่ไม่ใช่การพยายามฆ่า แล้วเค้าไม่มีความสนใจไม่แคร์ มันเป็นเรื่องของการใช้ชีวิตไม่ละเอียดไม่ระวังไม่สำรวมตัว พอเค้าเอ่ยแค่นี้ผมรู้ทันที ใช่เลยมันกำลังเกิดขึ้นกับผม แต่กับผมไม่ใช่เกี่ยวกับการทำลายชีวิตสัตว์ แต่เป็นเรื่องนิสัยบางอย่างของผมเริ่มเปลี่ยนไป ผมเริ่มเก็บข้าวของไม่เป็นระเบียบ ทั้งที่เมื่อก่อนห้องจะสะอาดเรียบร้อย เวลาทำความสะอาดก็ทำให้มันจบจบไป ผมเริ่มถอดรองเท้าไม่เรียง ผมเริ่มโหลดหนังโป๊มาดูยังไงผมก็ไม่ช่วยตัวเองอยู่แล้ว ผมเริ่มฝึกบ้างไม่ฝึกบ้างเพราะยังไงมันก็รู้สึกตัวเกือบตลอดเวลาอยู่แล้ว ผมเริ่มนอนหลับรวดเดียวถึงเช้าไม่ตื่นระหว่างคืนอีก
ที่ทำไปทั้งหมดนี่มีสาเหตุจากการที่สภาวะจิตมันหลุดจากการครอบงำ มันจึงจะทำหรือจะไม่ทำอะไรก็ได้ ยังไงชีวิตมันก็ไม่ทุกข์ มันเหมือนมีคำพูดในหัวตลอดว่า อะไรยังไงก็ได้ ไม่ทุกข์ร้อนกับอะไรเลย ยังไงใจก็ไม่ทุกข์ประคองกายให้สบายๆไว้
ห้องหับไม่ต้องจัดมาก ยังไงชีวิตชั้นก็อยู่ได้โดยไม่ทุกข์ เดินจงกรมจะเหยียบมดแมลงสักตัวก็ไม่เห็นเป็นอะไร ชั้นไม่ทุกข์ซะอย่าง ความรู้สึกตัวมันไม่เปลี่ยนเลยไม่ว่าจะฆ่าสัตว์หรือไม่ ตอนนี้สภาวะมันหวนกลับลงมาที่ตัวเอง มันดูแลใจตัวเองไม่ให้ทุกข์ได้แล้ว แต่ว่าผมไม่ทันได้พิจารณาถึงเลยว่า ชีวิตแบบนี้ไม่ใช่สภาวะแบบพระพุทธเจ้า มันเป็นสภาวะแบบพรหม เพราะมันไม่สนใจอะไรเลย มันอยู่ได้ด้วยตัวมันเองโดดๆ ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับใคร หิวก็กินง่วงก็นอน ชีวิตแบบนี้ไม่มีทุกข์ก็จริง แต่มันไม่มีประโยชน์กับคนอื่นหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆเลย
แต่พระพุทธเจ้าคือสิ่งที่ไปเกินจากนั้น มันเป็นต้นแบบของความดีงามทั้งปวง มันเป็นชีวิตที่มีคุณภาพต่อสิ่งอื่นๆรอบตัว ไม่ใช่ว่าเราไม่ทุกข์ก็จบภารกิจแล้วนั่นมันเห็นแก่ตัวเกินไป ตรงนี้เองที่เป็นข้อแตกต่างของอนาคามีกับอรหันต์ มันต้องมีสิ่งดีงามในทุกอิริยาบถด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ การพูดและทะลวงไปถึงการคิด
การกระทำและคำพูดยังโกหกได้ แต่ความคิดนั้นไม่มีใครรู้เลย เราจะรู้ตัวเองดีเท่านั้นว่าเรากำลังคิดดีหรือชั่ว จะทำยังไงให้ชีวิตนี้คิดแต่เรื่องเป็นกุศล บางคนบอกว่าความคิดควบคุมไม่ได้มันก็ถูก แต่สำหรับผู้ผ่านการเข้าใจต้นกำเนิดของความคิดมาแล้วจะรู้ว่ามันเป็นไปได้ เพียงแต่ต้องเอากันแบบสุดทางไปเลยเท่านั้น
หลวงพ่อเทียนบอกว่า วิปลาส ให้ทวนอารมณ์ เมื่อก่อนนี้ผมยังเข้าใจคำว่าอารมณ์ไม่แตกฉาน แต่พอมาถึงจุดนี้ผมรู้แล้วว่ามันคืออะไร พอเข้าใจมันจะไปโยงกับเรื่อง ลักษณะกรรมฐานแบบสมถะ และลักษณะกรรมฐานแบบวิปัสสนา มันเข้าใจไปหมดเลยรวดเดียว มันจึงเหลือแต่การฝึกที่เป็นวิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีสมถะอีกแล้ว
สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านผมจะเขียนแนบเอาไว้ซักนิดว่า วิปัสสนา ในความหมายของหลวงพ่อเทียนตามที่ผมเข้าใจ และมั่นใจอย่างมากว่าไม่มีทางผิด แม้ท่านจะไม่สามารถยืนยันให้ได้เพราะจากไปแล้ว ความรู้สึกตัวล้วนๆ นั่นเองที่เป็นตัววิปัสสนา มิน่าทำไมทั้งชีวิตหลวงพ่อเทียนพูดอยู่เรื่องเดียว ให้รู้สึกตัว อะไรอะไรก็รู้สึกตัว ตัวเดียวนี่เองคือตัวอริยสัจ คือตัวสติสัมปชัญญะ คือตัวธรรม คือตัวศีลสมาธิปัญญา คือตัวบุญกุศล คือตัวมรรค คือตัวอริยบุคคล คือตัวพุทธะ ทุกอย่างมาลงรวมกันอยู่ตรงนี้เอง
มันไม่เหมือนกับคำว่าวิปัสสนาที่สำนักอื่นๆหรือตำราสอนกันที่ต้องมานั่งพิจารณาอะไร รู้แบบนั้นมันยังมีความสงสัยในสิ่งที่รู้ แต่พอมารู้วิปัสสนาแบบนี้ จบสิ้นความสงสัย ตลอดชีวิตนี้ผมจะไม่ถามใครในเรื่องนี้อีกเลย
เมื่อผมถามพระท่านนั้นว่า ทำไมเมื่อหลวงพี่บอกว่า จิตผมมันมาอยู่สูงแล้ว แต่ผมไม่รู้สึกสูงต่ำอะไรเลย และทำไมผมยังมีอาการง่วงอยู่อีก ผมไม่ทุกข์กับอาการง่วงก็จริง แต่มันไม่สดชื่น เค้าบอกว่าหลวงพี่ไม่สามารถให้คำตอบได้แล้ว เพราะตัวหลวงพี่เองหรือครูของหลวงพี่เองก็อยู่จุดเดียวกันนี่ ตัวหลวงพี่อยู่ที่ระยะนี้มาสามสี่ปีแล้ว ส่วนอาจารย์ของหลวงพี่อยู่ตรงนี้มาสิบปีแล้ว แม้แต่คำตอบจากหลวงพ่อคำเขียนต่อจุดนี้หลวงพี่ก็ไม่สามารถเข้าใจได้แล้ว ว่าการจะผ่านตรงนี้ไปทำอย่างไร ถ้าเราผ่านตรงนี้ได้กลับมาบอกหลวงพี่ด้วยนะเพราะหลวงพี่ปัญญาน้อย (เป็นครั้งที่สองในชีวิตที่ผมได้ยินตัวเจ๋งๆพูดถ่อมตัว มันเป็นคำพูดที่ไม่มีอารมณ์ในน้ำเสียง)
ผมฟังแล้วแปลกใจมากทีเดียวที่รู้ว่า ตัวเซียนๆถูกเด็ดปีกอยู่ตรงนี้นี่เอง มิน่าหลวงพ่อเทียนถึงบอกว่าอารมณ์ตัวสุดท้ายนี่หนักที่สุด ยังโชคดีอยู่บ้างที่ผมมีคนเตือนจึงพอแก้ไขบางส่วนได้
ถ้าผ่านได้ผมจะมาเขียนต่อครับ
ที่ทำไปทั้งหมดนี่มีสาเหตุจากการที่สภาวะจิตมันหลุดจากการครอบงำ มันจึงจะทำหรือจะไม่ทำอะไรก็ได้ ยังไงชีวิตมันก็ไม่ทุกข์ มันเหมือนมีคำพูดในหัวตลอดว่า อะไรยังไงก็ได้ ไม่ทุกข์ร้อนกับอะไรเลย ยังไงใจก็ไม่ทุกข์ประคองกายให้สบายๆไว้
ห้องหับไม่ต้องจัดมาก ยังไงชีวิตชั้นก็อยู่ได้โดยไม่ทุกข์ เดินจงกรมจะเหยียบมดแมลงสักตัวก็ไม่เห็นเป็นอะไร ชั้นไม่ทุกข์ซะอย่าง ความรู้สึกตัวมันไม่เปลี่ยนเลยไม่ว่าจะฆ่าสัตว์หรือไม่ ตอนนี้สภาวะมันหวนกลับลงมาที่ตัวเอง มันดูแลใจตัวเองไม่ให้ทุกข์ได้แล้ว แต่ว่าผมไม่ทันได้พิจารณาถึงเลยว่า ชีวิตแบบนี้ไม่ใช่สภาวะแบบพระพุทธเจ้า มันเป็นสภาวะแบบพรหม เพราะมันไม่สนใจอะไรเลย มันอยู่ได้ด้วยตัวมันเองโดดๆ ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับใคร หิวก็กินง่วงก็นอน ชีวิตแบบนี้ไม่มีทุกข์ก็จริง แต่มันไม่มีประโยชน์กับคนอื่นหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆเลย
แต่พระพุทธเจ้าคือสิ่งที่ไปเกินจากนั้น มันเป็นต้นแบบของความดีงามทั้งปวง มันเป็นชีวิตที่มีคุณภาพต่อสิ่งอื่นๆรอบตัว ไม่ใช่ว่าเราไม่ทุกข์ก็จบภารกิจแล้วนั่นมันเห็นแก่ตัวเกินไป ตรงนี้เองที่เป็นข้อแตกต่างของอนาคามีกับอรหันต์ มันต้องมีสิ่งดีงามในทุกอิริยาบถด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ การพูดและทะลวงไปถึงการคิด
การกระทำและคำพูดยังโกหกได้ แต่ความคิดนั้นไม่มีใครรู้เลย เราจะรู้ตัวเองดีเท่านั้นว่าเรากำลังคิดดีหรือชั่ว จะทำยังไงให้ชีวิตนี้คิดแต่เรื่องเป็นกุศล บางคนบอกว่าความคิดควบคุมไม่ได้มันก็ถูก แต่สำหรับผู้ผ่านการเข้าใจต้นกำเนิดของความคิดมาแล้วจะรู้ว่ามันเป็นไปได้ เพียงแต่ต้องเอากันแบบสุดทางไปเลยเท่านั้น
หลวงพ่อเทียนบอกว่า วิปลาส ให้ทวนอารมณ์ เมื่อก่อนนี้ผมยังเข้าใจคำว่าอารมณ์ไม่แตกฉาน แต่พอมาถึงจุดนี้ผมรู้แล้วว่ามันคืออะไร พอเข้าใจมันจะไปโยงกับเรื่อง ลักษณะกรรมฐานแบบสมถะ และลักษณะกรรมฐานแบบวิปัสสนา มันเข้าใจไปหมดเลยรวดเดียว มันจึงเหลือแต่การฝึกที่เป็นวิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีสมถะอีกแล้ว
สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านผมจะเขียนแนบเอาไว้ซักนิดว่า วิปัสสนา ในความหมายของหลวงพ่อเทียนตามที่ผมเข้าใจ และมั่นใจอย่างมากว่าไม่มีทางผิด แม้ท่านจะไม่สามารถยืนยันให้ได้เพราะจากไปแล้ว ความรู้สึกตัวล้วนๆ นั่นเองที่เป็นตัววิปัสสนา มิน่าทำไมทั้งชีวิตหลวงพ่อเทียนพูดอยู่เรื่องเดียว ให้รู้สึกตัว อะไรอะไรก็รู้สึกตัว ตัวเดียวนี่เองคือตัวอริยสัจ คือตัวสติสัมปชัญญะ คือตัวธรรม คือตัวศีลสมาธิปัญญา คือตัวบุญกุศล คือตัวมรรค คือตัวอริยบุคคล คือตัวพุทธะ ทุกอย่างมาลงรวมกันอยู่ตรงนี้เอง
มันไม่เหมือนกับคำว่าวิปัสสนาที่สำนักอื่นๆหรือตำราสอนกันที่ต้องมานั่งพิจารณาอะไร รู้แบบนั้นมันยังมีความสงสัยในสิ่งที่รู้ แต่พอมารู้วิปัสสนาแบบนี้ จบสิ้นความสงสัย ตลอดชีวิตนี้ผมจะไม่ถามใครในเรื่องนี้อีกเลย
เมื่อผมถามพระท่านนั้นว่า ทำไมเมื่อหลวงพี่บอกว่า จิตผมมันมาอยู่สูงแล้ว แต่ผมไม่รู้สึกสูงต่ำอะไรเลย และทำไมผมยังมีอาการง่วงอยู่อีก ผมไม่ทุกข์กับอาการง่วงก็จริง แต่มันไม่สดชื่น เค้าบอกว่าหลวงพี่ไม่สามารถให้คำตอบได้แล้ว เพราะตัวหลวงพี่เองหรือครูของหลวงพี่เองก็อยู่จุดเดียวกันนี่ ตัวหลวงพี่อยู่ที่ระยะนี้มาสามสี่ปีแล้ว ส่วนอาจารย์ของหลวงพี่อยู่ตรงนี้มาสิบปีแล้ว แม้แต่คำตอบจากหลวงพ่อคำเขียนต่อจุดนี้หลวงพี่ก็ไม่สามารถเข้าใจได้แล้ว ว่าการจะผ่านตรงนี้ไปทำอย่างไร ถ้าเราผ่านตรงนี้ได้กลับมาบอกหลวงพี่ด้วยนะเพราะหลวงพี่ปัญญาน้อย (เป็นครั้งที่สองในชีวิตที่ผมได้ยินตัวเจ๋งๆพูดถ่อมตัว มันเป็นคำพูดที่ไม่มีอารมณ์ในน้ำเสียง)
ผมฟังแล้วแปลกใจมากทีเดียวที่รู้ว่า ตัวเซียนๆถูกเด็ดปีกอยู่ตรงนี้นี่เอง มิน่าหลวงพ่อเทียนถึงบอกว่าอารมณ์ตัวสุดท้ายนี่หนักที่สุด ยังโชคดีอยู่บ้างที่ผมมีคนเตือนจึงพอแก้ไขบางส่วนได้
ถ้าผ่านได้ผมจะมาเขียนต่อครับ
วิปัสสนู จินตญาณ
อุปสรรคขัดขวางการเดินทางของนักปฏิบัติ ผู้ที่กำลังติดโดยมากจะไม่รู้ ผมจะเขียนจากประสบการณ์ที่มันเกิดกับผมและที่ผมได้พบเห็น
วิปัสสนู
เป็นอาการที่มาพร้อมกับการเข้าใจธรรมเบื้องต้น เรียกรวมๆว่า รู้รูปนาม ความรู้ในช่วงนี้วนเวียนอยู่ที่ ไตรลักษณ์ สมมติ ความรู้สึกตัว (จริงๆขั้นนี้ยังไม่ใช่ความรู้สึกตัวแท้ๆ แต่เป็นความรู้สึกของอารมณ์ แต่พวกเค้าจะเรียกมันรวมๆว่าความรู้สึกตัว)จากการสังเกตคนที่ติดอยู่ตรงนี้จะมีอาการสองประเภทที่เห็นได้ชัด
แบบที่หนึ่ง พูดสอนคนอื่นในสิ่งที่รู้
แบบที่สอง พูดเล่าสภาวะตัวเองให้คนอื่นฟัง
ตอนที่มันเกิดกับผม ผมกำลังอยู่ต่างประเทศความรู้มันวนเวียนในหัวซ้ำไปซ้ำมาตลอด มันอึดอัดในใจอย่างมากเพราะอยากจะป่าวประกาศให้ชาวโลกรู้ว่า ธรรมะคืออะไร เราเก่งแค่ไหน แต่ผมไม่ได้พูดธรรมให้คนอื่นฟังเลยเพราะพูดภาษายังไม่แข็ง คนที่จะฟังผมมีเพียงคุณแม่และน้องสาว แต่เค้าก็ไม่สนสิ่งที่ผมพูดซักนิดเดียว ผมเพ้อเจ้ออะไร จะไม่กราบไหว้พระ จะไม่สวดมนต์อีกต่อไป โสดาบันบ้าบออะไร ยิ่งอยากสอนคนอื่นผมยิ่งหงุดหงิดมากขึ้นทุกที ในหัวมีภาพตัวเองยืนแสดงธรรมสอนชาวต่างชาติตลอด คิดหาเทคนิควิธีสอนชาวประชาอยู่ไม่ได้ขาด จะสอนจะพูดแบบไหนดีนะ แต่ในชีวิตจริงมีแต่พวกหน้าโง่เดินเหินเต็มแผ่นดิน ทำไมไม่ยอมมาฟังผมบรรยายธรรม ผมเป็นบ้าอย่างนั้นประมาณสี่ห้าดือน มันค่อยๆหลุดเรื่องการพูดการสอนคนเพราะผมไม่มีลูกศิษย์มานั่งฟังสิ่งที่ผมพล่าม ถ้ามีผมหายนะแน่
ความรู้ของวิปัสสนูไม่ใช่ความรู้ที่ผิดนะครับ มันถูกเลยล่ะเป็นความเข้าใจที่เถียงไม่ได้ คนที่ติดความรู้ตรงนี้เค้ารู้เค้าเข้าใจมันจริงๆนะครับ แต่มันติดตรงที่ มันพยายามจะสอนคนอื่นในสิ่งที่ตัวเองรู้ขึ้นมา ความรู้พวกนี้ไม่ได้มาจากการอ่านตำรา หรือฟังมาจากคนอื่น มันรู้ขึ้นเองครับ เรื่องสมุทัย เรื่องปัจจุบัน เรื่องพระ เรื่องบวช เรื่องศาสนาพุทธ เรื่องสมมติ พวกนี้ล้วนรู้ขึ้นเองทั้งสิ้น และเพราะการที่มันเข้าใจขึ้นเองนี่เองที่เป็นปัญหา คือมันอยากจะประกาศธรรมช่วยเหลือผู้คน มันติดความดี อยากให้คนอื่นมารู้เหมือนเรา เข้าใจเหมือนเรา แต่คนพวกนี้จะไม่บอกวิธีฝึกเพื่อให้คนอื่นรู้ แต่จะบอกเลยว่าตัวเองรู้อะไร คนที่ศึกษาจากตำรามามากแล้วพยายามสอนคนอื่นถึงสิ่งที่ตัวเองรู้ อาการอย่างนั้นไม่ใช่วิปัสสนูครับ ความรู้ของวิปัสสนูมีลักษณะเฉพาะตรงที่ รู้ขึ้นเอง ฉีกตำรา ตรงข้ามกับความเชื่อถือของคนส่วนใหญ่ และอยากสอนคนอื่นใจจะขาด แม้ได้สอนไปแล้ว ความอยากสอนจะไม่ลดลง สามารถพูดซ้ำๆได้โดยไม่เบื่อหน่าย
คนที่ติดวิปัสสนูจะพูดวนๆซ้ำๆเรื่องเดิม แต่ถ้าจี้ลงลึกถามนอกเหนือสิ่งที่พูดจะจนแต้มตอบไม่ได้ และจะพยายามพูดวกกลับมาเรื่องที่ตัวเองรู้ ผมเองได้เห็นคนเป็นวิปัสสนูตัวเป็นๆ (นอกจากตัวเอง) ตอนที่ดร็อปเรียนกลับไปเมืองไทย คนแรกเป็นพระสูงอายุ คนที่สองเป็นภิกษุณีจากเมืองจีน
คนแรกมาถึงยืนองอาจมองหน้าผม ผมนั่งสร้างจังหวะอยู่ มาถึงชวนผมคุยทั้งๆที่ผมกำลังฝึก ผมเสียเวลาฝึกเพื่อมาฟังหมอนั่นประมาณสี่สิบห้านาที เค้าพูดไปจะร้องไห้ไป พักเดียวอารมณ์เปลี่ยนกลายเป็นโอหัง สลับไปสลับมา หมอนั่นไม่มีทีท่าว่าจะหยุดพูด ผมจึงกราบสามครั้งแล้วลุกออกมา จากนั้นผมสังเกตเห็นเค้าจะพุ่งเข้าหาทุกคนไม่ว่าโยมหรือพระด้วยกัน เมื่อเค้าเริ่มต้นจะคุยกับผม ผมยิ้มชวนคุยเปลี่ยนเรื่องแล้วหลบฉากอยู่ครั้งสองครั้ง จากนั้นหมอนี่ไม่พุ่งเข้าหาผมอีกเลย
คนที่สองออกแนวหวานคงเพราะเป็นผู้หญิง เหมือนเดิมผมนั่งฝึกสร้างจังหวะอยู่แล้วมาชวนคุย คือพอคนมันจับความรู้สึกตัวได้มันจะมองกันอออกครับ เค้าพยายามพูดกับผมแต่ด้วยความที่ภาษาอังกฤษห่วยพอกันทั้งคู่ ผมจับใจความได้ว่า เค้ารู้สึกตัวชัดไปหมด จากนั้นเปิดสมุดจดบันทึกเรื่องการปฏิบัติเป็นภาษาจีนยาวเป็นหน้าๆให้ผมดู เค้าหยิบจับอะไรเป็นสติไปหมด ผมบอกว่าให้รู้สึกตัวเอาไว้ ไม่ต้องสนว่าเข้าใจอะไร เค้าเล่าอะไรต่ออะไรให้ผมฟังต่อไปที่ผมฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง ผมบอกซ้ำว่าให้รู้สึกตัวเอาไว้ ซักพักเค้าเริ่มยัวะบอกว่าทำไมผมไม่ฟังสิ่งที่เค้ากำลังพูด พูดขัดจังหวะอยู่นั่นล่ะ ถึงขนาดโทรหาล่ามคนไทยเพื่อแปลให้ผมเข้าใจว่าเค้าจะบอกอะไรผม ซักพักยืนอมยิ้มเล่นหูเล่นตาบิดไปมา ทำหน้าเหมือนตัวการ์ตูนเด็กอารมณ์ดี ผมคิดในใจยัยนี่เทวดาตัวตลกประทับทรง เช้าตรู่วันต่อมาคนอื่นๆนั่งฝึกรวมกันในศาลาอยู่ดีดีเค้าร้องไห้โฮออกมาดังลั่น จากนั้นก็ขังตัวเองอยู่ในห้อง
ผมแปลกใจเหมือนกันทำไมพฤติรรมเหล่านี้ไม่เกิดกับผม ผมได้คุยกับพระที่สอนผม เค้าเล่าให้ฟังว่า วิปัสสนูจะมีปัญหาอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดกับพระและจะแก้ยากมาก เพราะเมื่อพระที่เป็นวิปัสสนูสอนโยม โยมไม่กล้าลุกหนีต้องนั่งฟังอย่างเดียว โยมโดยส่วนใหญ่เชื่อถือและเคารพพระ จึงเข้าทางของวิปัสสนู และพระนั้นไม่ได้ใช้ชีวิตแบบฆราวาสเรื่องกระทบกระทั้งมีไม่มาก ถ้าคุณสงสัยว่าตัวเองติดวิปัสสนูหรือไม่ ให้สังเกตตัวเองว่า คุณมีความคิดวนเวียนที่จะสอนคนอื่นซ้ำไปซ้ำมาหรือไม่ พูดแต่เรื่องเดิมๆหรือไม่ คนที่ติดวิปัสสนูจะไม่สอนคนอื่นตามสถานการณ์ แต่จะสอนเฉพาะสิ่งที่ตัวเองรู้
บางคนหลุดจากวิปัสสนูแต่ก็ไปต่อไม่ได้ ผมเห็นพระติดอยู่ตรงนี้เยอะเลย และพระที่ผมพบเห็นส่วนใหญ่ในสายหลวงพ่อเทียนจะมาคาอยู่ตรงนี้ มันจะติด ญาณ ปิติ แบบต่างๆ ความเข้าใจจะมาคาอยู่ตรงเรื่องไตรลักษณ์และความว่างของใจ ตอนที่ผมไปอยู่วัดใหม่ๆพระหลายคนหมั่นไส้ผมมาก ผมเรียกพระว่าพี่ ถูกมองเป็นเด็กนอกไม่เห็นหัวผู้ใหญ่ ไม่เข้าหาพระ ไม่เคยเดินไปขอคำแนะนำ ผมฝึกของผมคนเดียวไม่พูดจากับใคร ผมค่อนข้างเบื่อหน่ายกับคนพวกนี้ เพราะเค้าจะคอยพูดกระแทกอยู่เสมอว่า ผมเพ่งจ้องเกินไป ผมฝึกหนักมากเกินไป ต้องทำสบายๆแบบอาตมานี่ เหนื่อยก็หยุดพัก ผมไม่เคยฟังและแสดงออกด้วยการโหมฝึกให้หนักขึ้น สิบเดือนที่อยู่นั่นผมไม่เคยหยุดพัก กำลังไม่เคยตกมีแต่ฝึกมากขึ้นๆ พอย่างเข้าเดือนที่ห้าพวกพระเหล่านั้นคงเอือมระอาผมเต็มทนที่ไม่ฟังคำแนะนำของพวกเค้า สุดท้ายก็หยุดเตือน มีเพียงพระที่อยู่เกินจากผมไปที่มองออกและเมตตาสอนให้ เค้าเพียงตั้งข้อสงสัยว่า เธอผ่านวิปัสสนูมาได้ยังไงโดยไม่มีคนแนะนำ พอผมบอกว่าไม่มีคนฟังสิ่งที่ผมพูดเลย เค้าจึงยิ้มแล้วบอกว่าโชคดีจริงๆ
ถ้าคุณศึกษาคำสอนหลวงพ่อเทียนคุณจะพบว่า ท่านจัดเรื่องการเข้าใจไตรลักษณ์ไว้ที่ระยะเกือบต้นสุดของการเข้าใจธรรมะ คือยังอยู่ในระยะรูปนามอยู่เลย ซึ่งต่างจากครูบาอาจารย์สายอื่นๆที่จัดความเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ไว้ปลายสุด คือเมื่อเห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่จีรังเที่ยงแท้เมื่อไหร่คือเห็นธรรม จิตจะปล่อยวางไม่ทุกข์ สำหรับผมนี่คือคำสอนที่เลอะเทอะที่สุดอันหนึ่ง จิตไม่มีทางปล่อยโดยตัวจิตเอง ถ้าลองสังเกตจากความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ที่สอนคนอื่นเรื่อง ไตรลักษณ์ ทำไมเมื่อมีเรื่องกระทู้เดือด ตัวผู้ที่เคยสอนคนอื่นปาวๆจึงโดดร่วมวงด้วยอารมณ์เสมอ นั่นเพราะ ไตรลักษณ์ ผ่านโทสะโมหะโลภะยังไม่ได้นั่นเอง แค่หญ้าปากคอกยังผ่านไม่ได้คำสอนแบบนี้จะไปอยู่ปลายสุดได้อย่างไร
ตอนที่ผมอยู่ในระยะการเข้าใจไตรลักษณ์ ผมรู้อยู่เต็มอกเรื่องการไม่จีรังของอารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แม้รู้อย่างนั้นเมื่อมีอารมณ์แรงๆเกิดขึ้น ผมกลับผ่านไม่ได้ ไอ้ตัว "ตั้งอยู่" นี่ล่ะปัญหา ผมเคยคิดว่าผมยังฝึกไม่ดีพอ ไม่หนักพอ ผมโหมฝึกหนักขึ้นเรื่อยๆ ถึงกับยอมหยุดเรียนเพื่อเอาเวลามาฝึก ลงทะเบียนให้น้อยที่สุดเพื่อที่ผมจะได้มีเวลาฝึกเต็มที่ มันก็ยังผ่านไม่ได้มันยังติดโทสะโมหะโลภะ ต่อให้มันตั้งอยู่แค่วูบเดียวก็เถอะ ผมแสวงหาความเพอเฟ็กท์ ที่สุดของทุกข์ต้องเพอเฟ็กท์ มันต้องไม่ใช่การมานั่งปลอบใจตัวเองว่า มันแค่ตั้งอยู่ชั่วคราวเดี๋ยวมันก็ดับ ผมไม่ได้ฝึกอย่างหนักเพื่อมานั่งบอกตัวเองว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง จงทำใจยอมรับเถอะ ความไม่ทุกข์ต้องเป็นสภาวะที่ไม่ทุกข์กันจริงๆ ไม่ใช่มาโกหกตัวเอง บอกสภาวะที่มันทุกข์ว่ามันไม่ทุกข์
นี่คือข้อชี้ที่สำคัญที่สุด คนที่ติดวิปัสสนูจงถามตัวเองว่า ในเมื่อคุณรู้นั่นรู้นี้มากขนาดนี้ ทำไมคุณผ่านโทสะโมหะโลภะไม่ได้ ถ้าคุณไม่เฉลียวใจตรงนี้คุณจะผ่านวิปัสสนูไม่ได้ครับ ตราบใดที่เจ้าตัวไม่รู้ว่าตัวเองติดอารมณ์วิปัสสนูจะแก้ได้ยากมาก
จินตญาณ
ตัวนี้จะเกิดหลังจากเข้าใจศีลปรมัตถ์ สำหรับผมตัวนี้ไม่เท่าไหร่เพราะมีพระมาบอกใบ้ให้ เมื่อก่อนผมเคยเข้าใจว่าจินตญาณคืออาการที่ติดในญาณ มันจะสว่างทั้งตัวโล่งสบายไปหมด และผมเคยเข้าใจว่า ความสว่างโล่งโปร่งของใจคือศีลที่แท้จริง พอประสบแล้วอยากจะพบเจออีก แต่เปล่าเลยอันนั้นเป็นเพียงปิติไม่ใช่จินตญาณไม่ใช่ศีล
หลังจากที่ผมเข้าใจเรื่องศีลปรมัตถ์ ผมคิดว่าผมติดวิปัสสนูอีกรอบ เพราะความคิดวนเวียนอยู่กับความรู้ ที่พึ่งรู้ขึ้นใหม่ตลอดเวลา มันคิดซ้ำไปซ้ำมากลัวว่าจะลืม แม้ว่าจะรู้แล้วมันก็ยังคิดอยู่อย่างนั้น มันคิดไล่ลำดับอารมณ์ตั้งแต่รูปนาม ไตรลักษณ์ สมมติ คิดย้อนไปย้อนมา บวกกับธรรมะชุดใหญ่ที่ทะลักออกมายิ่งกว่าความรู้ในขั้นรูปนาม ธรรมะทะลักออกมาไม่หยุด มันหยุดคิดหยุดรู้ธรรมะไม่ได้ ผมเป็นอยู่สามวัน มันคิดซ้ำไปซ้ำมาอยู่อย่างนี้เหมือนคนบ้า วันสุดท้ายพระคนเดิมทำทีเดินมาคุยด้วยผมรู้อยู่แล้วเค้าแกล้งชวนคุยสอบอารมณ์ ผมไม่รอช้าซัดเลยว่า ศีลคือ "....." ใช่ไหมครับ เค้ายิ้มแล้วบอกว่าใช่ ปัญญาดีแฮะ ผมจึงบอกเค้าว่า ผมติดวิปัสสนูอีกรอบครับ มันกลับมาอีก ความคิดคิดทวนสิ่งที่รู้ซ้ำไปซ้ำมาอยู่ตลอด ผมหยุดอาการนี่ไม่ได้ แต่แปลกจากเดิมนิดหน่อยตรงที่ผมไม่ได้อยากสอนใคร เค้าทำท่าแปลกใจเดินมาจับมือผมบีบแล้วบอกว่า ดีใจด้วยนะ มาถึงครึ่งทางจนได้ เป็นพระได้ซะทีนะเรา ผมงงไม่เข้าใจ หมอนี่กำลังพูดถึงอะไร
จากนั้นเค้าตั้งคำถามผมยอะแยะ เหมือนชี้ทางให้กระรอก ให้ผมตอบคำถามที่ผมถามขึ้นเอง จนผมเข้าใจและพูดออกมาเองว่า ผมอยู่ในระยะของจินตญาณ พอผมรู้ว่าเจ้านี่คือจินตญาณ ผมติดอาการแบบนั้นอีกสองวัน แล้วไม่มีอาการอย่างนั้นอีกเลย ตัวพระท่านนั้นบอกว่าเค้าติดอาการอย่างนี้อยู่หกเดือน ตอนที่เกิดกับเค้าเค้าก็ไม่เข้าใจว่าตัวเองเป็นอะไร เพราะความคิดมันจะคิดซ้ำๆอยู่นั่นในเรื่องซ้ำๆ รู้แล้วรู้อีก เค้าแปลกใจว่าทำไมผมถึงหลุดได้เร็ว แต่เมื่อผมนึกย้อนดูมันไม่ใช่ว่าผมเก่ง เพียงแต่ผมรู้ว่าผมติดผมจึงออกได้ง่าย คนที่หลุดออกมาได้ช้าเพราะเค้าไม่รู้ว่าเค้าติดอยู่
พอผมหลุดผมจึงรู้ว่าทำไมหลวงพ่อเทียนบอกว่า วิปัสสนูและจินตญาณให้แก้เหมือนกัน คือแก้ที่วิธีทำ "ให้มาอยู่กับกาย อย่าไปอยู่กับใจ"
ผมแปลกใจตรงที่ผมกระโดดไปเร็วกว่าคนอื่นมาก คงเพราะว่าวันๆผมไม่พูดคุยกับใคร ผมฝึกอย่างหนักทุกวันไม่ต่ำกว่าเก้าชั่วโมงต่อวัน เพียงสี่เดือนต่อจากนั้น ความเข้าใจก็กระโดดไปเรื่องต้นกำเนิดของความคิด ตอนนั้นผมก็มีปัญหาสับสนในความเข้าใจอีก ระหว่าง สมมติฐานของความคิด อันเป็นความรู้พื้นฐานในขั้นรูปนาม กับต้นกำเนิดของความคิด
ในระยะรูปนาม สมมติฐานของความคิด มาจากความจำมันคิดถึงสิ่งที่จำ ถ้าจำไม่ได้ก็คิดไม่ได้ ความคิดเทียบเคียงกับสิ่งที่จำได้มาปรุงเป็นสังขาร แต่พอมาถึงจุดนี้ความเข้าใจดีดตีกลับหมดสยบความรู้เดิม ผมกำลังจะนอนหลับโทรศัพท์ผมดัง พระโทรมาหมอนี่รู้ได้ยังไงถึงโทรมาถูกจังหวะแบบนี้ ผมพูดทันทีว่า ต้นกำเนิดของความคิดคือ "....." นี่ครับ ผมไม่เข้าใจเลยมันมาลงแบบนี้ได้ยังไง เค้าบอกว่า เก่งมากเลยนะมาถึงจุดนี้จนได้ ผมไม่ได้สนใจคำชมเพราะผมกำลังสับสนกับความรู้เดิม ความรู้เก่ามันขวางความรู้ใหม่เอาไว้ ผมจึงอัดคำถามอย่างเดียว เค้าจึงได้บอกว่ามันเป็นความรู้คนละขั้นกันแล้วล่ะ อีกนิดเดียวเราก็มาอยู่จุดเดียวกันแล้ว พูดไม่นานแล้วเค้าก็วางไป
เมื่อผมเข้าใจเรื่องต้นกำเนิดของความคิด ผมจึงรู้ว่าวิปัสสนูและจินตญาณเกิดมาจากอะไร มันเข้าใจจริงๆนะครับ นั่นเพราะว่าความรู้สึกตัวยังไม่เข้มแข็งพอจะตัดความคิดออกโดยตัวมันเอง คนติดจินตญาณจึงติดตัวความคิดที่คิดเกี่ยวกับธรรมะ แต่หาใช่ตัวธรรมแท้ไม่
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
วิปัสสนู
เป็นอาการที่มาพร้อมกับการเข้าใจธรรมเบื้องต้น เรียกรวมๆว่า รู้รูปนาม ความรู้ในช่วงนี้วนเวียนอยู่ที่ ไตรลักษณ์ สมมติ ความรู้สึกตัว (จริงๆขั้นนี้ยังไม่ใช่ความรู้สึกตัวแท้ๆ แต่เป็นความรู้สึกของอารมณ์ แต่พวกเค้าจะเรียกมันรวมๆว่าความรู้สึกตัว)จากการสังเกตคนที่ติดอยู่ตรงนี้จะมีอาการสองประเภทที่เห็นได้ชัด
แบบที่หนึ่ง พูดสอนคนอื่นในสิ่งที่รู้
แบบที่สอง พูดเล่าสภาวะตัวเองให้คนอื่นฟัง
ตอนที่มันเกิดกับผม ผมกำลังอยู่ต่างประเทศความรู้มันวนเวียนในหัวซ้ำไปซ้ำมาตลอด มันอึดอัดในใจอย่างมากเพราะอยากจะป่าวประกาศให้ชาวโลกรู้ว่า ธรรมะคืออะไร เราเก่งแค่ไหน แต่ผมไม่ได้พูดธรรมให้คนอื่นฟังเลยเพราะพูดภาษายังไม่แข็ง คนที่จะฟังผมมีเพียงคุณแม่และน้องสาว แต่เค้าก็ไม่สนสิ่งที่ผมพูดซักนิดเดียว ผมเพ้อเจ้ออะไร จะไม่กราบไหว้พระ จะไม่สวดมนต์อีกต่อไป โสดาบันบ้าบออะไร ยิ่งอยากสอนคนอื่นผมยิ่งหงุดหงิดมากขึ้นทุกที ในหัวมีภาพตัวเองยืนแสดงธรรมสอนชาวต่างชาติตลอด คิดหาเทคนิควิธีสอนชาวประชาอยู่ไม่ได้ขาด จะสอนจะพูดแบบไหนดีนะ แต่ในชีวิตจริงมีแต่พวกหน้าโง่เดินเหินเต็มแผ่นดิน ทำไมไม่ยอมมาฟังผมบรรยายธรรม ผมเป็นบ้าอย่างนั้นประมาณสี่ห้าดือน มันค่อยๆหลุดเรื่องการพูดการสอนคนเพราะผมไม่มีลูกศิษย์มานั่งฟังสิ่งที่ผมพล่าม ถ้ามีผมหายนะแน่
ความรู้ของวิปัสสนูไม่ใช่ความรู้ที่ผิดนะครับ มันถูกเลยล่ะเป็นความเข้าใจที่เถียงไม่ได้ คนที่ติดความรู้ตรงนี้เค้ารู้เค้าเข้าใจมันจริงๆนะครับ แต่มันติดตรงที่ มันพยายามจะสอนคนอื่นในสิ่งที่ตัวเองรู้ขึ้นมา ความรู้พวกนี้ไม่ได้มาจากการอ่านตำรา หรือฟังมาจากคนอื่น มันรู้ขึ้นเองครับ เรื่องสมุทัย เรื่องปัจจุบัน เรื่องพระ เรื่องบวช เรื่องศาสนาพุทธ เรื่องสมมติ พวกนี้ล้วนรู้ขึ้นเองทั้งสิ้น และเพราะการที่มันเข้าใจขึ้นเองนี่เองที่เป็นปัญหา คือมันอยากจะประกาศธรรมช่วยเหลือผู้คน มันติดความดี อยากให้คนอื่นมารู้เหมือนเรา เข้าใจเหมือนเรา แต่คนพวกนี้จะไม่บอกวิธีฝึกเพื่อให้คนอื่นรู้ แต่จะบอกเลยว่าตัวเองรู้อะไร คนที่ศึกษาจากตำรามามากแล้วพยายามสอนคนอื่นถึงสิ่งที่ตัวเองรู้ อาการอย่างนั้นไม่ใช่วิปัสสนูครับ ความรู้ของวิปัสสนูมีลักษณะเฉพาะตรงที่ รู้ขึ้นเอง ฉีกตำรา ตรงข้ามกับความเชื่อถือของคนส่วนใหญ่ และอยากสอนคนอื่นใจจะขาด แม้ได้สอนไปแล้ว ความอยากสอนจะไม่ลดลง สามารถพูดซ้ำๆได้โดยไม่เบื่อหน่าย
คนที่ติดวิปัสสนูจะพูดวนๆซ้ำๆเรื่องเดิม แต่ถ้าจี้ลงลึกถามนอกเหนือสิ่งที่พูดจะจนแต้มตอบไม่ได้ และจะพยายามพูดวกกลับมาเรื่องที่ตัวเองรู้ ผมเองได้เห็นคนเป็นวิปัสสนูตัวเป็นๆ (นอกจากตัวเอง) ตอนที่ดร็อปเรียนกลับไปเมืองไทย คนแรกเป็นพระสูงอายุ คนที่สองเป็นภิกษุณีจากเมืองจีน
คนแรกมาถึงยืนองอาจมองหน้าผม ผมนั่งสร้างจังหวะอยู่ มาถึงชวนผมคุยทั้งๆที่ผมกำลังฝึก ผมเสียเวลาฝึกเพื่อมาฟังหมอนั่นประมาณสี่สิบห้านาที เค้าพูดไปจะร้องไห้ไป พักเดียวอารมณ์เปลี่ยนกลายเป็นโอหัง สลับไปสลับมา หมอนั่นไม่มีทีท่าว่าจะหยุดพูด ผมจึงกราบสามครั้งแล้วลุกออกมา จากนั้นผมสังเกตเห็นเค้าจะพุ่งเข้าหาทุกคนไม่ว่าโยมหรือพระด้วยกัน เมื่อเค้าเริ่มต้นจะคุยกับผม ผมยิ้มชวนคุยเปลี่ยนเรื่องแล้วหลบฉากอยู่ครั้งสองครั้ง จากนั้นหมอนี่ไม่พุ่งเข้าหาผมอีกเลย
คนที่สองออกแนวหวานคงเพราะเป็นผู้หญิง เหมือนเดิมผมนั่งฝึกสร้างจังหวะอยู่แล้วมาชวนคุย คือพอคนมันจับความรู้สึกตัวได้มันจะมองกันอออกครับ เค้าพยายามพูดกับผมแต่ด้วยความที่ภาษาอังกฤษห่วยพอกันทั้งคู่ ผมจับใจความได้ว่า เค้ารู้สึกตัวชัดไปหมด จากนั้นเปิดสมุดจดบันทึกเรื่องการปฏิบัติเป็นภาษาจีนยาวเป็นหน้าๆให้ผมดู เค้าหยิบจับอะไรเป็นสติไปหมด ผมบอกว่าให้รู้สึกตัวเอาไว้ ไม่ต้องสนว่าเข้าใจอะไร เค้าเล่าอะไรต่ออะไรให้ผมฟังต่อไปที่ผมฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง ผมบอกซ้ำว่าให้รู้สึกตัวเอาไว้ ซักพักเค้าเริ่มยัวะบอกว่าทำไมผมไม่ฟังสิ่งที่เค้ากำลังพูด พูดขัดจังหวะอยู่นั่นล่ะ ถึงขนาดโทรหาล่ามคนไทยเพื่อแปลให้ผมเข้าใจว่าเค้าจะบอกอะไรผม ซักพักยืนอมยิ้มเล่นหูเล่นตาบิดไปมา ทำหน้าเหมือนตัวการ์ตูนเด็กอารมณ์ดี ผมคิดในใจยัยนี่เทวดาตัวตลกประทับทรง เช้าตรู่วันต่อมาคนอื่นๆนั่งฝึกรวมกันในศาลาอยู่ดีดีเค้าร้องไห้โฮออกมาดังลั่น จากนั้นก็ขังตัวเองอยู่ในห้อง
ผมแปลกใจเหมือนกันทำไมพฤติรรมเหล่านี้ไม่เกิดกับผม ผมได้คุยกับพระที่สอนผม เค้าเล่าให้ฟังว่า วิปัสสนูจะมีปัญหาอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดกับพระและจะแก้ยากมาก เพราะเมื่อพระที่เป็นวิปัสสนูสอนโยม โยมไม่กล้าลุกหนีต้องนั่งฟังอย่างเดียว โยมโดยส่วนใหญ่เชื่อถือและเคารพพระ จึงเข้าทางของวิปัสสนู และพระนั้นไม่ได้ใช้ชีวิตแบบฆราวาสเรื่องกระทบกระทั้งมีไม่มาก ถ้าคุณสงสัยว่าตัวเองติดวิปัสสนูหรือไม่ ให้สังเกตตัวเองว่า คุณมีความคิดวนเวียนที่จะสอนคนอื่นซ้ำไปซ้ำมาหรือไม่ พูดแต่เรื่องเดิมๆหรือไม่ คนที่ติดวิปัสสนูจะไม่สอนคนอื่นตามสถานการณ์ แต่จะสอนเฉพาะสิ่งที่ตัวเองรู้
บางคนหลุดจากวิปัสสนูแต่ก็ไปต่อไม่ได้ ผมเห็นพระติดอยู่ตรงนี้เยอะเลย และพระที่ผมพบเห็นส่วนใหญ่ในสายหลวงพ่อเทียนจะมาคาอยู่ตรงนี้ มันจะติด ญาณ ปิติ แบบต่างๆ ความเข้าใจจะมาคาอยู่ตรงเรื่องไตรลักษณ์และความว่างของใจ ตอนที่ผมไปอยู่วัดใหม่ๆพระหลายคนหมั่นไส้ผมมาก ผมเรียกพระว่าพี่ ถูกมองเป็นเด็กนอกไม่เห็นหัวผู้ใหญ่ ไม่เข้าหาพระ ไม่เคยเดินไปขอคำแนะนำ ผมฝึกของผมคนเดียวไม่พูดจากับใคร ผมค่อนข้างเบื่อหน่ายกับคนพวกนี้ เพราะเค้าจะคอยพูดกระแทกอยู่เสมอว่า ผมเพ่งจ้องเกินไป ผมฝึกหนักมากเกินไป ต้องทำสบายๆแบบอาตมานี่ เหนื่อยก็หยุดพัก ผมไม่เคยฟังและแสดงออกด้วยการโหมฝึกให้หนักขึ้น สิบเดือนที่อยู่นั่นผมไม่เคยหยุดพัก กำลังไม่เคยตกมีแต่ฝึกมากขึ้นๆ พอย่างเข้าเดือนที่ห้าพวกพระเหล่านั้นคงเอือมระอาผมเต็มทนที่ไม่ฟังคำแนะนำของพวกเค้า สุดท้ายก็หยุดเตือน มีเพียงพระที่อยู่เกินจากผมไปที่มองออกและเมตตาสอนให้ เค้าเพียงตั้งข้อสงสัยว่า เธอผ่านวิปัสสนูมาได้ยังไงโดยไม่มีคนแนะนำ พอผมบอกว่าไม่มีคนฟังสิ่งที่ผมพูดเลย เค้าจึงยิ้มแล้วบอกว่าโชคดีจริงๆ
ถ้าคุณศึกษาคำสอนหลวงพ่อเทียนคุณจะพบว่า ท่านจัดเรื่องการเข้าใจไตรลักษณ์ไว้ที่ระยะเกือบต้นสุดของการเข้าใจธรรมะ คือยังอยู่ในระยะรูปนามอยู่เลย ซึ่งต่างจากครูบาอาจารย์สายอื่นๆที่จัดความเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ไว้ปลายสุด คือเมื่อเห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่จีรังเที่ยงแท้เมื่อไหร่คือเห็นธรรม จิตจะปล่อยวางไม่ทุกข์ สำหรับผมนี่คือคำสอนที่เลอะเทอะที่สุดอันหนึ่ง จิตไม่มีทางปล่อยโดยตัวจิตเอง ถ้าลองสังเกตจากความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ที่สอนคนอื่นเรื่อง ไตรลักษณ์ ทำไมเมื่อมีเรื่องกระทู้เดือด ตัวผู้ที่เคยสอนคนอื่นปาวๆจึงโดดร่วมวงด้วยอารมณ์เสมอ นั่นเพราะ ไตรลักษณ์ ผ่านโทสะโมหะโลภะยังไม่ได้นั่นเอง แค่หญ้าปากคอกยังผ่านไม่ได้คำสอนแบบนี้จะไปอยู่ปลายสุดได้อย่างไร
ตอนที่ผมอยู่ในระยะการเข้าใจไตรลักษณ์ ผมรู้อยู่เต็มอกเรื่องการไม่จีรังของอารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แม้รู้อย่างนั้นเมื่อมีอารมณ์แรงๆเกิดขึ้น ผมกลับผ่านไม่ได้ ไอ้ตัว "ตั้งอยู่" นี่ล่ะปัญหา ผมเคยคิดว่าผมยังฝึกไม่ดีพอ ไม่หนักพอ ผมโหมฝึกหนักขึ้นเรื่อยๆ ถึงกับยอมหยุดเรียนเพื่อเอาเวลามาฝึก ลงทะเบียนให้น้อยที่สุดเพื่อที่ผมจะได้มีเวลาฝึกเต็มที่ มันก็ยังผ่านไม่ได้มันยังติดโทสะโมหะโลภะ ต่อให้มันตั้งอยู่แค่วูบเดียวก็เถอะ ผมแสวงหาความเพอเฟ็กท์ ที่สุดของทุกข์ต้องเพอเฟ็กท์ มันต้องไม่ใช่การมานั่งปลอบใจตัวเองว่า มันแค่ตั้งอยู่ชั่วคราวเดี๋ยวมันก็ดับ ผมไม่ได้ฝึกอย่างหนักเพื่อมานั่งบอกตัวเองว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง จงทำใจยอมรับเถอะ ความไม่ทุกข์ต้องเป็นสภาวะที่ไม่ทุกข์กันจริงๆ ไม่ใช่มาโกหกตัวเอง บอกสภาวะที่มันทุกข์ว่ามันไม่ทุกข์
นี่คือข้อชี้ที่สำคัญที่สุด คนที่ติดวิปัสสนูจงถามตัวเองว่า ในเมื่อคุณรู้นั่นรู้นี้มากขนาดนี้ ทำไมคุณผ่านโทสะโมหะโลภะไม่ได้ ถ้าคุณไม่เฉลียวใจตรงนี้คุณจะผ่านวิปัสสนูไม่ได้ครับ ตราบใดที่เจ้าตัวไม่รู้ว่าตัวเองติดอารมณ์วิปัสสนูจะแก้ได้ยากมาก
จินตญาณ
ตัวนี้จะเกิดหลังจากเข้าใจศีลปรมัตถ์ สำหรับผมตัวนี้ไม่เท่าไหร่เพราะมีพระมาบอกใบ้ให้ เมื่อก่อนผมเคยเข้าใจว่าจินตญาณคืออาการที่ติดในญาณ มันจะสว่างทั้งตัวโล่งสบายไปหมด และผมเคยเข้าใจว่า ความสว่างโล่งโปร่งของใจคือศีลที่แท้จริง พอประสบแล้วอยากจะพบเจออีก แต่เปล่าเลยอันนั้นเป็นเพียงปิติไม่ใช่จินตญาณไม่ใช่ศีล
หลังจากที่ผมเข้าใจเรื่องศีลปรมัตถ์ ผมคิดว่าผมติดวิปัสสนูอีกรอบ เพราะความคิดวนเวียนอยู่กับความรู้ ที่พึ่งรู้ขึ้นใหม่ตลอดเวลา มันคิดซ้ำไปซ้ำมากลัวว่าจะลืม แม้ว่าจะรู้แล้วมันก็ยังคิดอยู่อย่างนั้น มันคิดไล่ลำดับอารมณ์ตั้งแต่รูปนาม ไตรลักษณ์ สมมติ คิดย้อนไปย้อนมา บวกกับธรรมะชุดใหญ่ที่ทะลักออกมายิ่งกว่าความรู้ในขั้นรูปนาม ธรรมะทะลักออกมาไม่หยุด มันหยุดคิดหยุดรู้ธรรมะไม่ได้ ผมเป็นอยู่สามวัน มันคิดซ้ำไปซ้ำมาอยู่อย่างนี้เหมือนคนบ้า วันสุดท้ายพระคนเดิมทำทีเดินมาคุยด้วยผมรู้อยู่แล้วเค้าแกล้งชวนคุยสอบอารมณ์ ผมไม่รอช้าซัดเลยว่า ศีลคือ "....." ใช่ไหมครับ เค้ายิ้มแล้วบอกว่าใช่ ปัญญาดีแฮะ ผมจึงบอกเค้าว่า ผมติดวิปัสสนูอีกรอบครับ มันกลับมาอีก ความคิดคิดทวนสิ่งที่รู้ซ้ำไปซ้ำมาอยู่ตลอด ผมหยุดอาการนี่ไม่ได้ แต่แปลกจากเดิมนิดหน่อยตรงที่ผมไม่ได้อยากสอนใคร เค้าทำท่าแปลกใจเดินมาจับมือผมบีบแล้วบอกว่า ดีใจด้วยนะ มาถึงครึ่งทางจนได้ เป็นพระได้ซะทีนะเรา ผมงงไม่เข้าใจ หมอนี่กำลังพูดถึงอะไร
จากนั้นเค้าตั้งคำถามผมยอะแยะ เหมือนชี้ทางให้กระรอก ให้ผมตอบคำถามที่ผมถามขึ้นเอง จนผมเข้าใจและพูดออกมาเองว่า ผมอยู่ในระยะของจินตญาณ พอผมรู้ว่าเจ้านี่คือจินตญาณ ผมติดอาการแบบนั้นอีกสองวัน แล้วไม่มีอาการอย่างนั้นอีกเลย ตัวพระท่านนั้นบอกว่าเค้าติดอาการอย่างนี้อยู่หกเดือน ตอนที่เกิดกับเค้าเค้าก็ไม่เข้าใจว่าตัวเองเป็นอะไร เพราะความคิดมันจะคิดซ้ำๆอยู่นั่นในเรื่องซ้ำๆ รู้แล้วรู้อีก เค้าแปลกใจว่าทำไมผมถึงหลุดได้เร็ว แต่เมื่อผมนึกย้อนดูมันไม่ใช่ว่าผมเก่ง เพียงแต่ผมรู้ว่าผมติดผมจึงออกได้ง่าย คนที่หลุดออกมาได้ช้าเพราะเค้าไม่รู้ว่าเค้าติดอยู่
พอผมหลุดผมจึงรู้ว่าทำไมหลวงพ่อเทียนบอกว่า วิปัสสนูและจินตญาณให้แก้เหมือนกัน คือแก้ที่วิธีทำ "ให้มาอยู่กับกาย อย่าไปอยู่กับใจ"
ผมแปลกใจตรงที่ผมกระโดดไปเร็วกว่าคนอื่นมาก คงเพราะว่าวันๆผมไม่พูดคุยกับใคร ผมฝึกอย่างหนักทุกวันไม่ต่ำกว่าเก้าชั่วโมงต่อวัน เพียงสี่เดือนต่อจากนั้น ความเข้าใจก็กระโดดไปเรื่องต้นกำเนิดของความคิด ตอนนั้นผมก็มีปัญหาสับสนในความเข้าใจอีก ระหว่าง สมมติฐานของความคิด อันเป็นความรู้พื้นฐานในขั้นรูปนาม กับต้นกำเนิดของความคิด
ในระยะรูปนาม สมมติฐานของความคิด มาจากความจำมันคิดถึงสิ่งที่จำ ถ้าจำไม่ได้ก็คิดไม่ได้ ความคิดเทียบเคียงกับสิ่งที่จำได้มาปรุงเป็นสังขาร แต่พอมาถึงจุดนี้ความเข้าใจดีดตีกลับหมดสยบความรู้เดิม ผมกำลังจะนอนหลับโทรศัพท์ผมดัง พระโทรมาหมอนี่รู้ได้ยังไงถึงโทรมาถูกจังหวะแบบนี้ ผมพูดทันทีว่า ต้นกำเนิดของความคิดคือ "....." นี่ครับ ผมไม่เข้าใจเลยมันมาลงแบบนี้ได้ยังไง เค้าบอกว่า เก่งมากเลยนะมาถึงจุดนี้จนได้ ผมไม่ได้สนใจคำชมเพราะผมกำลังสับสนกับความรู้เดิม ความรู้เก่ามันขวางความรู้ใหม่เอาไว้ ผมจึงอัดคำถามอย่างเดียว เค้าจึงได้บอกว่ามันเป็นความรู้คนละขั้นกันแล้วล่ะ อีกนิดเดียวเราก็มาอยู่จุดเดียวกันแล้ว พูดไม่นานแล้วเค้าก็วางไป
เมื่อผมเข้าใจเรื่องต้นกำเนิดของความคิด ผมจึงรู้ว่าวิปัสสนูและจินตญาณเกิดมาจากอะไร มันเข้าใจจริงๆนะครับ นั่นเพราะว่าความรู้สึกตัวยังไม่เข้มแข็งพอจะตัดความคิดออกโดยตัวมันเอง คนติดจินตญาณจึงติดตัวความคิดที่คิดเกี่ยวกับธรรมะ แต่หาใช่ตัวธรรมแท้ไม่
ขอให้วันนี้สวยงามต่อไปครับ
เทคนิคการฝึก .... secret technique
ในทัศนะของผม ธรรมะ ที่สอนกันอยู่ในทุกวันนี้ ถ้าจัดตามลำดับอารมณ์กรรมฐานตามสายหลวงพ่อเทียน คือระดับที่อยู่ในระยะของ รูป นาม ระยะนี้สภาวะจะไปสุดตรง การเข้าสัมผัสความว่างของใจ และ ความเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ แต่จะไม่สามารถไปต่อจากจุดนี้ได้อีก ผมติดจุดนี้อยู่สี่ปี
ขั้นถัดมาจากรูปนาม คือการเข้าใจ เรื่องศีลปรมัตถ์ ถ้าเรียกตามตำราคือระยะสกิทาคามีตามความเข้าใจของผม และผมมีความเห็นจากการทบทวนตัวเอง เห็นความผิดพลาดหลายจุดหลายครั้งว่า การที่ใครซักคนจะเริ่มสอนหรือแนะนำ ธรรม ให้คนอื่น เค้าผู้นั้นควรจะผ่านการเข้าใจเรื่อง ศีลปรมัตถ์ ให้แจ่มแจ้งเสียก่อนเป็นอย่างน้อย มิฉะนั้นแล้วเราจะพาผู้ที่เดินตามเราไปตันตรงจุดที่เรากำลังหันหน้าหันหลังอยู่ หากแต่ผู้สอนจะไม่ทราบว่าทางนั้นไปต่อไม่ได้แล้ว ที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่า ลักษณะอย่างหนึ่งของผู้ที่ยังติดอยู่ในอารมณ์รูปนาม คือ ไม่สามารถผ่าน กาลามสูตรที่ว่า อย่าเชื่อโดยตรึกตรองตามอาการ คนเหล่านี้จะติดความคิดที่ละเอียดลงไปอีกขั้นหนึ่ง คือ เราใกล้จะถึงแล้วเราใกล้จะจบอีกไม่ไกลแล้ว เพราะสภาวะหลายๆอย่างมันแสดงตัวออกมาให้เห็นว่า นี่คือสิ่งวิเศษของมนุษย์ บวกกับการตีความเอาตามความเห็นตัวเองต่อคำพูดคำคมต่างๆที่เคยได้ยินว่ามันลงตัวเปี๊ยบเลย ระยะนี้จึงเรียกได้เลยว่า พายเรืออยู่ในอ่าง แต่ไม่หยุดพาย เพราะอ่างมันใหญ่เกินไปที่จะรู้สังเกตว่ามันพายมาที่เดิม คราวใดที่ผมนึกถึงเรื่องพวกนี้ขึ้นมา ผมขำปนสมน้ำหน้าตัวเองและรู้สึกผิดต่อคำพูดคำสอนตัวเอง
ระยะรูปนามก็หมือนกับ เด็กที่เรียนชั้นมัธยมที่เก่งมากซักคน พวกเค้ารู้แจ้งเห็นจริง สิ่งที่พวกเค้าพูดไม่ผิดเลย เพียงแต่มันเก่งในระดับมัธยม เมื่อไหร่ที่เค้าคนนั้นก้าวข้ามมาสู่ระยะศีลปรมัตถ์ เค้าจะเหมือนกับการเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย เค้าจะสำเนียกเองทันทีว่า เรายังอยู่อีกไกลยิ่งนัก มีสิ่งอื่นๆให้ต้องรู้รอบจบครบอีกมหาศาลเลย จากรั้วแคบๆที่มองว่าประตูอยู่ตรงไหนใกล้ๆตัวนี่เอง จะกลายเป็นไม่มีรั้วอะไรอีกแล้ว มันกว้างเกินไป มีเพียงทางที่จะรู้ได้เองว่าต้องเดินไปทางนี้ ทัศนะประเภทเราใกล้จบกิจแล้วจะถูกทำลายตรงนี้
ตอนที่ผมเข้ามาสู่ตรงนี้ มีพระมาเตือนแล้วว่า คนที่เข้าใจจุดนี้มีน้อยคนแม้แต่พระสงฆ์ในสายหลวงพ่อเทียนเองก็มีไม่มาก และเธอไม่สามารถสอนใครให้มาถึงจุดนี้ด้วยการมานั่งแจกแจงพูดคุยได้อีกแล้ว มันเป็นคนละอย่างกับระยะ รูป นาม มันเป็นความรู้คนละขั้น เมื่อกระโดดมาแล้วจะเดินกลับไม่ได้อีก แต่ด้วยความดื้อรั้นและไม่เชื่ออะไรของผม ผมไม่เชื่อว่าคนเราจะพูดจะสอนกันไม่รู้เรื่อง แต่มันพิสูจน์แล้วว่าผมพลาดจริงๆที่ไม่เชื่อคำเตือนของพระท่านนั้น ผมพูดมาตลอดปีกว่าเกี่ยวกับเรื่องศีลปรมัตถ์ ไม่มีใครเข้าใจเลยแม้แต่คนที่ตามผมมาได้ใกล้ที่สุดก็ไม่เข้าใจ
ผมนั่งหาคำตอบมาโดยตลอด ทำไมกับเรื่องง่ายๆแบบนี้ถึงไม่เข้าใจ และคำตอบที่พบไม่ใช่อะไรอื่น มันคือการไม่เชื่อฟังและดื้อรั้น ผมเองไม่แปลกใจเพราะผมเองเคยเป็นมาก่อนและเป็นหนักกว่าพวกเค้าเสียอีก ผมยังพบอีกด้วยว่า การสอนที่ถูกต้องในระยะศีลปรมัตถ์ ไม่ใช่การบอกว่า ศีลปรมัตถ์คืออะไร แต่ต้องเป็นการบอกวิธีฝึกเท่านั้น ซึ่งมันจะเหมือนกับขับรถบนทางโค้งหักศอกแบบไม่ลดความเร็ว ขับมาตรงๆอยู่ดีดีต้องเลี้ยวหักขึ้นเนินชันสูงเร่งกำลังอย่างนั้นเลย (เรียกว่า drift ละมั้ง) เพราะทิศทางการฝึกจะเปลี่ยนจากการมานั่งดูใจดูจิต มาอยู่กับการเคลื่อนไหวของกายล้วนๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไม่ใช่ว่าความพยายามในหนึ่งปีที่ผ่านมาจะสูญค่าเสียทีเดียว เพราะเริ่มมีคนเข้าใจ แม้แต่ครูบาอาจารย์ที่เค้าเคารพ เค้าก็จากมาด้วยความเคารพ เพราะรู้ว่าทางมันไปต่อไม่ได้ ทางมันสวนแนวกันอยู่ เรื่องสายการฝึกเป็นอะไรที่ขัดกันอย่างนี้เอง
ในบทความต่อจากนี้ผมจะเขียนเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆที่ผมเคยใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้นพบเองประยุกต์เอง มันอาจขัดแย้งกับคำแนะนำของอาจารย์ท่านอื่นๆในบางอย่าง ผมเคยทำตามขั้นตอนของอาจารย์ท่านต่างๆและพบว่าผมไม่สามารถทะลวงปัญหาที่ผมเจอได้ด้วยวิธีตามพวกเค้าเหล่านั้น โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าเทคนิคการฝึกนี้เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่ง ของพวกนี้เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัว จึงอาจจะใช้ไม่ได้ผลต่อทุกคน แต่ใช้ได้ผลกับผม จึงคาดว่ามันจะช่วยทำให้ผู้ฝึกประหยัดเวลาในการลองผิดลองถูก
เทคนิคในการยกมือสร้างจังหวะ
ประการที่หนึ่ง : อย่าเร่งจังหวะให้เร็ว ให้สร้างจังหวะช้าๆแต่ไม่ใช่สโลว์โมชั่น เพราะการเคลื่อนไหวที่ช้าจะสัมผัสความรู้สึกตัวของการเคลื่อนไหวได้ชัดเจนมากกว่า
ประการที่สอง : จังหวะการยกมือสร้างจังหวะควรจะสม่ำเสมอคงที่ตลอด ไม่ใช่เดี๋ยวช้าเดี๋ยวเร็ว เพราะนี่เป็นการฝึกสติ ไม่ว่าคุณจะเหนื่อยหรือง่วงนอนขณะฝึกก็ตาม ต้องยกมือเป็นจังหวะสม่ำเสมอเท่าเดิมไม่แปรเปลี่ยนตามอารมณ์ความเบื่อหน่าย หรือนิวรณ์ตัวต่างๆ
ประการที่สาม : ให้เคลื่อนมือเบาๆ เมื่อคุณยกมือแต่ละตำแหน่ง ให้เคลื่อนมือในลักษณะใบไผ่ปลิวลม ให้พลิ้วไปตามการเคลื่อนไหวดั่งลมอ่อน
ประการที่สี่ : ให้รู้สึกทั้งตัวไม่ใช่แค่ตำแหน่งที่มือเคลื่อนอย่างเดียว กระพริบตา กลืนน้ำลาย หายใจเข้าออก มือข้างที่ยังไม่ได้เคลื่อน หัวเข่า เท้า ให้รู้สึกสังเกตสิ่งที่เคลื่อนและไม่เคลื่อนตลอดเวลา
ประการที่ห้า : เมื่อเริ่มรู้สึกว่าปวดเหมื่อยขาเหน็บกินให้เปลี่ยนท่าทันที อย่านั่งทนทรมาน ถ้านั่งขวาทับซ้ายให้เปลี่ยนเป็นซ้ายทับขวา ถ้าเหมื่อยอีกให้เปลี่ยนเป็นพับเพียบข้างซ้าย และถ้ายังเมื่อยต่อไปอีกให้เปลี่ยนเป็นพับเพียบข้างขวา ถ้าไม่รู้จะเปลี่ยนไปนั่งท่าไหนแล้วให้ลุกขึ้นเดินจงกรม
เทคนิคในการเดินจงกรม
ประการที่หนึ่ง : อย่าเดินเร็วเร่งจังหวะ เพราะมันจะสะสมจนกลายเป็นความเหนื่อยและแปรสภาพเป็นง่วง
ประการที่สอง : จังหวะควรสม่ำเสมอเพราะนี่คือการฝึกสติ
ประการที่สาม : จงรู้สึกทั้งตัวทุกส่วน อย่าเพ่งจ้องส่วนใดส่วนหนึ่ง
ประการที่สี่ : จงฝึกเดินในทุกที่ ที่มีที่ให้เดิน
ประการที่ห้า : เมื่อเดินเอามือไขว้หลังให้หมั่นกำมือ แบมือเป็นจังหวะเอาไว้
ประการที่หก : การหมุนตัวกลับควรหยุดชะงักเว้นจังหวะซักครู่จึงเริ่มเดินต่อ เพื่อให้การเดินทุกเที่ยวมีความตั้งใจรวมอยู่ด้วย
ประการที่เจ็ด : เดินสบายๆเหมือนคนปรกติเดิน อย่าเดินแบบ ยก ย่าง เหยียบบวกคำภาวนา เพราะนี่เป็นการฝึกเดินเพื่อใช้ในชีวิตปรกติของมนุษย์
และต่อไปนี้คือแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆ
ความอ่อนแอ ..... ให้แก้ด้วยการ ฝึกจนกว่าจะสลบ ถ้าไม่สลบอย่าหยุดฝึก (คุณจะไม่มีทางสลบ ผมไม่เคยสลบขณะฝึกซักครั้ง)
ความง่วง ..... ให้แก้ด้วยการเคลื่อนไหวเบาๆ แต่ต้องชัดเจนแนบแน่นในความเบานั้น (ง่วงเพราะอารมณ์กรรมฐาน)
ความเบื่อ ..... ให้แก้ด้วยการรู้เท่าทันความเบื่อ แล้วอย่ายอมแพ้ ให้ฝืนความเบื่อหน่าย
ความฟุ้งซ่าน ..... ให้แก้ด้วยการอย่าห้ามความคิด จงปล่อยให้คิดระยะหนึ่ง แต่ให้ไปแก้ตรงความอยากจะสงบแทน
ปวดหัว ..... ให้แก้ด้วยการคิดอะไรก็ได้ ต้องแก้ด้วยคิดดีชั่วอะไรก็ได้ปล่อยคิดสบายๆ
นอนไม่หลับ ..... ให้แก้ด้วยการไม่ต้องนอน ให้ลุกขึ้นมาฝึกต่อไป ไม่ต้องกลัวการนอนไม่พอ
วิปัสสนู ..... ให้แก้ด้วยการเน้นลงไปที่ความรู้สึกกาย (ในกรณีที่รู้ตัวว่าติด)
จินตญาณ ..... ให้แก้ด้วยการเน้นลงไปที่ความรู้สึกกายล้วนๆ (ในกรณีที่รู้ตัวว่าติด)
ราคะ ..... ให้แก้ด้วยการเห็นแจ้งในส่วนประกอบของราคะ ต้องให้ความรู้สึกกายล้วนๆแสดงตัวชัดกว่า อารมณ์กาม
กลัว ..... ให้แก้เหมือน ราคะ
คงเป็นประโยชน์กับใครได้บ้าง
ไม่สงวนสิทธิ์ในการนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตามสถานการณ์ครับ
ขอให้รู้สึกตัวไว้ประการเดียวเท่านั้น มันจะลงไปแก้ที่รากของทุกตัว
ขั้นถัดมาจากรูปนาม คือการเข้าใจ เรื่องศีลปรมัตถ์ ถ้าเรียกตามตำราคือระยะสกิทาคามีตามความเข้าใจของผม และผมมีความเห็นจากการทบทวนตัวเอง เห็นความผิดพลาดหลายจุดหลายครั้งว่า การที่ใครซักคนจะเริ่มสอนหรือแนะนำ ธรรม ให้คนอื่น เค้าผู้นั้นควรจะผ่านการเข้าใจเรื่อง ศีลปรมัตถ์ ให้แจ่มแจ้งเสียก่อนเป็นอย่างน้อย มิฉะนั้นแล้วเราจะพาผู้ที่เดินตามเราไปตันตรงจุดที่เรากำลังหันหน้าหันหลังอยู่ หากแต่ผู้สอนจะไม่ทราบว่าทางนั้นไปต่อไม่ได้แล้ว ที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่า ลักษณะอย่างหนึ่งของผู้ที่ยังติดอยู่ในอารมณ์รูปนาม คือ ไม่สามารถผ่าน กาลามสูตรที่ว่า อย่าเชื่อโดยตรึกตรองตามอาการ คนเหล่านี้จะติดความคิดที่ละเอียดลงไปอีกขั้นหนึ่ง คือ เราใกล้จะถึงแล้วเราใกล้จะจบอีกไม่ไกลแล้ว เพราะสภาวะหลายๆอย่างมันแสดงตัวออกมาให้เห็นว่า นี่คือสิ่งวิเศษของมนุษย์ บวกกับการตีความเอาตามความเห็นตัวเองต่อคำพูดคำคมต่างๆที่เคยได้ยินว่ามันลงตัวเปี๊ยบเลย ระยะนี้จึงเรียกได้เลยว่า พายเรืออยู่ในอ่าง แต่ไม่หยุดพาย เพราะอ่างมันใหญ่เกินไปที่จะรู้สังเกตว่ามันพายมาที่เดิม คราวใดที่ผมนึกถึงเรื่องพวกนี้ขึ้นมา ผมขำปนสมน้ำหน้าตัวเองและรู้สึกผิดต่อคำพูดคำสอนตัวเอง
ระยะรูปนามก็หมือนกับ เด็กที่เรียนชั้นมัธยมที่เก่งมากซักคน พวกเค้ารู้แจ้งเห็นจริง สิ่งที่พวกเค้าพูดไม่ผิดเลย เพียงแต่มันเก่งในระดับมัธยม เมื่อไหร่ที่เค้าคนนั้นก้าวข้ามมาสู่ระยะศีลปรมัตถ์ เค้าจะเหมือนกับการเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย เค้าจะสำเนียกเองทันทีว่า เรายังอยู่อีกไกลยิ่งนัก มีสิ่งอื่นๆให้ต้องรู้รอบจบครบอีกมหาศาลเลย จากรั้วแคบๆที่มองว่าประตูอยู่ตรงไหนใกล้ๆตัวนี่เอง จะกลายเป็นไม่มีรั้วอะไรอีกแล้ว มันกว้างเกินไป มีเพียงทางที่จะรู้ได้เองว่าต้องเดินไปทางนี้ ทัศนะประเภทเราใกล้จบกิจแล้วจะถูกทำลายตรงนี้
ตอนที่ผมเข้ามาสู่ตรงนี้ มีพระมาเตือนแล้วว่า คนที่เข้าใจจุดนี้มีน้อยคนแม้แต่พระสงฆ์ในสายหลวงพ่อเทียนเองก็มีไม่มาก และเธอไม่สามารถสอนใครให้มาถึงจุดนี้ด้วยการมานั่งแจกแจงพูดคุยได้อีกแล้ว มันเป็นคนละอย่างกับระยะ รูป นาม มันเป็นความรู้คนละขั้น เมื่อกระโดดมาแล้วจะเดินกลับไม่ได้อีก แต่ด้วยความดื้อรั้นและไม่เชื่ออะไรของผม ผมไม่เชื่อว่าคนเราจะพูดจะสอนกันไม่รู้เรื่อง แต่มันพิสูจน์แล้วว่าผมพลาดจริงๆที่ไม่เชื่อคำเตือนของพระท่านนั้น ผมพูดมาตลอดปีกว่าเกี่ยวกับเรื่องศีลปรมัตถ์ ไม่มีใครเข้าใจเลยแม้แต่คนที่ตามผมมาได้ใกล้ที่สุดก็ไม่เข้าใจ
ผมนั่งหาคำตอบมาโดยตลอด ทำไมกับเรื่องง่ายๆแบบนี้ถึงไม่เข้าใจ และคำตอบที่พบไม่ใช่อะไรอื่น มันคือการไม่เชื่อฟังและดื้อรั้น ผมเองไม่แปลกใจเพราะผมเองเคยเป็นมาก่อนและเป็นหนักกว่าพวกเค้าเสียอีก ผมยังพบอีกด้วยว่า การสอนที่ถูกต้องในระยะศีลปรมัตถ์ ไม่ใช่การบอกว่า ศีลปรมัตถ์คืออะไร แต่ต้องเป็นการบอกวิธีฝึกเท่านั้น ซึ่งมันจะเหมือนกับขับรถบนทางโค้งหักศอกแบบไม่ลดความเร็ว ขับมาตรงๆอยู่ดีดีต้องเลี้ยวหักขึ้นเนินชันสูงเร่งกำลังอย่างนั้นเลย (เรียกว่า drift ละมั้ง) เพราะทิศทางการฝึกจะเปลี่ยนจากการมานั่งดูใจดูจิต มาอยู่กับการเคลื่อนไหวของกายล้วนๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไม่ใช่ว่าความพยายามในหนึ่งปีที่ผ่านมาจะสูญค่าเสียทีเดียว เพราะเริ่มมีคนเข้าใจ แม้แต่ครูบาอาจารย์ที่เค้าเคารพ เค้าก็จากมาด้วยความเคารพ เพราะรู้ว่าทางมันไปต่อไม่ได้ ทางมันสวนแนวกันอยู่ เรื่องสายการฝึกเป็นอะไรที่ขัดกันอย่างนี้เอง
ในบทความต่อจากนี้ผมจะเขียนเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆที่ผมเคยใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้นพบเองประยุกต์เอง มันอาจขัดแย้งกับคำแนะนำของอาจารย์ท่านอื่นๆในบางอย่าง ผมเคยทำตามขั้นตอนของอาจารย์ท่านต่างๆและพบว่าผมไม่สามารถทะลวงปัญหาที่ผมเจอได้ด้วยวิธีตามพวกเค้าเหล่านั้น โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าเทคนิคการฝึกนี้เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่ง ของพวกนี้เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัว จึงอาจจะใช้ไม่ได้ผลต่อทุกคน แต่ใช้ได้ผลกับผม จึงคาดว่ามันจะช่วยทำให้ผู้ฝึกประหยัดเวลาในการลองผิดลองถูก
เทคนิคในการยกมือสร้างจังหวะ
ประการที่หนึ่ง : อย่าเร่งจังหวะให้เร็ว ให้สร้างจังหวะช้าๆแต่ไม่ใช่สโลว์โมชั่น เพราะการเคลื่อนไหวที่ช้าจะสัมผัสความรู้สึกตัวของการเคลื่อนไหวได้ชัดเจนมากกว่า
ประการที่สอง : จังหวะการยกมือสร้างจังหวะควรจะสม่ำเสมอคงที่ตลอด ไม่ใช่เดี๋ยวช้าเดี๋ยวเร็ว เพราะนี่เป็นการฝึกสติ ไม่ว่าคุณจะเหนื่อยหรือง่วงนอนขณะฝึกก็ตาม ต้องยกมือเป็นจังหวะสม่ำเสมอเท่าเดิมไม่แปรเปลี่ยนตามอารมณ์ความเบื่อหน่าย หรือนิวรณ์ตัวต่างๆ
ประการที่สาม : ให้เคลื่อนมือเบาๆ เมื่อคุณยกมือแต่ละตำแหน่ง ให้เคลื่อนมือในลักษณะใบไผ่ปลิวลม ให้พลิ้วไปตามการเคลื่อนไหวดั่งลมอ่อน
ประการที่สี่ : ให้รู้สึกทั้งตัวไม่ใช่แค่ตำแหน่งที่มือเคลื่อนอย่างเดียว กระพริบตา กลืนน้ำลาย หายใจเข้าออก มือข้างที่ยังไม่ได้เคลื่อน หัวเข่า เท้า ให้รู้สึกสังเกตสิ่งที่เคลื่อนและไม่เคลื่อนตลอดเวลา
ประการที่ห้า : เมื่อเริ่มรู้สึกว่าปวดเหมื่อยขาเหน็บกินให้เปลี่ยนท่าทันที อย่านั่งทนทรมาน ถ้านั่งขวาทับซ้ายให้เปลี่ยนเป็นซ้ายทับขวา ถ้าเหมื่อยอีกให้เปลี่ยนเป็นพับเพียบข้างซ้าย และถ้ายังเมื่อยต่อไปอีกให้เปลี่ยนเป็นพับเพียบข้างขวา ถ้าไม่รู้จะเปลี่ยนไปนั่งท่าไหนแล้วให้ลุกขึ้นเดินจงกรม
เทคนิคในการเดินจงกรม
ประการที่หนึ่ง : อย่าเดินเร็วเร่งจังหวะ เพราะมันจะสะสมจนกลายเป็นความเหนื่อยและแปรสภาพเป็นง่วง
ประการที่สอง : จังหวะควรสม่ำเสมอเพราะนี่คือการฝึกสติ
ประการที่สาม : จงรู้สึกทั้งตัวทุกส่วน อย่าเพ่งจ้องส่วนใดส่วนหนึ่ง
ประการที่สี่ : จงฝึกเดินในทุกที่ ที่มีที่ให้เดิน
ประการที่ห้า : เมื่อเดินเอามือไขว้หลังให้หมั่นกำมือ แบมือเป็นจังหวะเอาไว้
ประการที่หก : การหมุนตัวกลับควรหยุดชะงักเว้นจังหวะซักครู่จึงเริ่มเดินต่อ เพื่อให้การเดินทุกเที่ยวมีความตั้งใจรวมอยู่ด้วย
ประการที่เจ็ด : เดินสบายๆเหมือนคนปรกติเดิน อย่าเดินแบบ ยก ย่าง เหยียบบวกคำภาวนา เพราะนี่เป็นการฝึกเดินเพื่อใช้ในชีวิตปรกติของมนุษย์
และต่อไปนี้คือแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆ
ความอ่อนแอ ..... ให้แก้ด้วยการ ฝึกจนกว่าจะสลบ ถ้าไม่สลบอย่าหยุดฝึก (คุณจะไม่มีทางสลบ ผมไม่เคยสลบขณะฝึกซักครั้ง)
ความง่วง ..... ให้แก้ด้วยการเคลื่อนไหวเบาๆ แต่ต้องชัดเจนแนบแน่นในความเบานั้น (ง่วงเพราะอารมณ์กรรมฐาน)
ความเบื่อ ..... ให้แก้ด้วยการรู้เท่าทันความเบื่อ แล้วอย่ายอมแพ้ ให้ฝืนความเบื่อหน่าย
ความฟุ้งซ่าน ..... ให้แก้ด้วยการอย่าห้ามความคิด จงปล่อยให้คิดระยะหนึ่ง แต่ให้ไปแก้ตรงความอยากจะสงบแทน
ปวดหัว ..... ให้แก้ด้วยการคิดอะไรก็ได้ ต้องแก้ด้วยคิดดีชั่วอะไรก็ได้ปล่อยคิดสบายๆ
นอนไม่หลับ ..... ให้แก้ด้วยการไม่ต้องนอน ให้ลุกขึ้นมาฝึกต่อไป ไม่ต้องกลัวการนอนไม่พอ
วิปัสสนู ..... ให้แก้ด้วยการเน้นลงไปที่ความรู้สึกกาย (ในกรณีที่รู้ตัวว่าติด)
จินตญาณ ..... ให้แก้ด้วยการเน้นลงไปที่ความรู้สึกกายล้วนๆ (ในกรณีที่รู้ตัวว่าติด)
ราคะ ..... ให้แก้ด้วยการเห็นแจ้งในส่วนประกอบของราคะ ต้องให้ความรู้สึกกายล้วนๆแสดงตัวชัดกว่า อารมณ์กาม
กลัว ..... ให้แก้เหมือน ราคะ
คงเป็นประโยชน์กับใครได้บ้าง
ไม่สงวนสิทธิ์ในการนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตามสถานการณ์ครับ
ขอให้รู้สึกตัวไว้ประการเดียวเท่านั้น มันจะลงไปแก้ที่รากของทุกตัว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)