จดหมายถึงคุณพ่อ
สวัสดีครับ คุณพ่อสบายดีนะครับ ผมเขียนมาหาคุณพ่อคราวนี้เป็นจดหมาย เพื่อที่มันจะสะดวกกว่าเวลาที่คุณพ่อต้องการอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก
ผมเขียนมาหานี้เพราะจากการคุยกันทางโทรศัพท์ครั้งที่แล้ว แม้ว่าจะกินเวลาไม่กี่นาที แต่มันทำให้ผมทราบว่า คุณพ่อยังไม่รู้ทิศทางใช่ไหมครับ มันเป็นเรื่องปกติของคนครับเมื่อไหร่ที่คนเราปฏิบัตแล้วไม่เห็นผล คนคนนั้นจะเริ่มละเลย หรือโรยราต่อการปฏิบัต
การที่ใครซักคนปฏิบัตแล้วไม่เห็นผลนั้น มีเพียงสองสาเหตุครับ
หนึ่ง ทำไม่ถูกวิธี
สอง ทำไม่ต่อเนื่อง
เพราะฉะนั้นคุณพ่ออย่าไปโทษบารมี บุญญาธิการนะครับ ตัวผมเองมาถึงจุดนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่จุดสูงสุด แต่อยู่ในระดับที่สามารถคุ้มตัวคุ้มครองตัวเองได้แล้วครับ และสิ่งนี้เกิดมาได้จากขาทั้งสองข้างของผม ที่เดินแล้วเดินอีก แขนทั้งสองข้างที่ยกแล้วยกอีก หัวใจของผมที่ไม่ยอมแพ้ต่อสภาวะบาดเจ็บต่างๆทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ชีวิตของผมที่ผ่านมายาล่อหลอกต่างๆ ผมทิ้งมันแทบจะทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่มีใครทำให้ผมครับ ไม่มีพระเจ้าที่ไหนบันดาลสภาวะนี้ให้ผม ไม่มีอรหันต์คนไหนมาเข้าฝันชี้ทางไปให้ผม เมื่อผมสับสนไร้หนทาง ไม่มีการภาวนาสวดมนต์อ้อนวอนขอความเห็นใจต่อรูปปั้นปางไหนทั้งนั้น ผมมาด้วยตัวผมเอง ผมเรียนรู้จากความผิดพลาดที่ผมมี ผมไม่ท้อถอยแม้บางทีหัวของผมขาของผมปวดจนแทบจะระเบิด เพราะยังไม่รู้ทิศทาง
ผมมิได้บอกคุณแม่ ว่าเทอมที่ผ่านมาผมดร็อปเรียนสถาปัตย์นะครับ ผมลงเรียนแค่วิชาที่ทำให้ผมต่อวีซ่าโดยที่ผมจะไม่มีปัญหาเท่านั้น เพราะผมต้องการเวลาเพื่อปฏิบัตทั้งวัน นี่คือความมั่นใจมุ่งมั่นของผม หลังจากที่ผมเข้าถึงสิ่งที่เรียกตามตำราว่า สกิทาคามี ผมก็สำนึกแล้วครับว่า นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของผม ที่ต้องทำให้เกิดขึ้นก่อนเหนือสิ่งอื่นใด
สำหรับผมไม่มีศาสตร์ไหนในโลกนี้ ที่มนุษย์ค้นพบแล้วที่ผมรู้จักแล้ว จะมีค่าต่อชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเท่ากับ ศาสตร์ที่เราเรียกกันว่า “ธรรม” ค่าของมันเทียบกันไม่ได้เลยครับ ศาสตร์ของสถาปัตยกรรมสำหรับผมกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ซึ่งตรงกับคำพูดของคนคนหนึ่งที่เคยสอนผมด้วยชีวิตของเค้า
และจดหมายฉบับนี้ผมจะสอนคุณพ่อ ผมจะถ่ายเทคนิคให้คุณพ่อได้รู้ว่า คุณพ่อจะต้องทำอย่างไรต่อชีวิตในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เป็นทุกข์ คุณพ่ออาจจะมองว่าลูกคนดีมันอวดดีจริงๆ ริอาจจะมาสอนพ่อ ขอให้คุณพ่อเข้าใจไว้อย่างนึงนะครับ ความรู้ที่คุณพ่อมีเป็นความรู้แบบผู้ใหญ่ ที่ผ่านโลกผ่านประสบการณ์โชกโชนในชีวิต เมื่อเจอปัญหามันจึงนิ่ง และปลงได้ง่าย แต่ความรู้ที่ผมจะถ่ายทอดให้คุณพ่อนี้ คือเรื่องของ “เทคนิค” ล้วนๆ เมื่อคุณพ่อเอามันไปใช้ จะใช้ได้ทันทีโดยไม่ขึ้นกับอายุ และถ้าคุณพ่อลองแล้วใช้แล้วไม่เกิดผล คุณพ่อแก้ความทุกข์ที่เกิดกับคุณพ่อไม่ได้ ถ้านรกขุมที่ลึกที่สุดมีจริง ผมยินดีไปนั่งทำหน้าโง่ที่นั่น เพราะโกหกบุพการี และโปรดมั่นใจเลยครับว่าคุณพ่อไม่ใช่หนูลองยาของผม หนูลองยาตัวแรกของผมตอนนี้อยู่ที่โสดาบันครับ
และจดหมายนี้จะบรรจุด้วยความรู้หลายตอน ต่อเทคนิคหลายแบบ เพื่อใช้จัดการกับทุกข์ที่ต่างๆกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมผมต้องส่งมาในรูปของจดหมายให้คุณพ่อได้อ่านย้อนไปย้อนมาได้
ผมจะเริ่มด้วยหลักธรรมที่คุณพ่อคุณเคยนะครับ
“อริยสัจ”
ทุกข์ กำหนดรู้
สมุทัย ต้องละ
นิโรธ ทำให้แจ้ง
มรรค ต้องเจริญ
“ทุกข์”
อันนี้หมายถึง “ทุกข์ทางกาย” ครับ กำหนดรู้กำนดอย่างไร คือให้คุณพ่อ “เข้าไปรู้ครับ” เข้าไปรู้เพื่ออะไร เพื่อทำให้มัน “ชัด” ครับ เช่นมันคันให้รู้ให้ชัดว่ามันคัน แล้วก็ทำให้หายคันครับ มันหิวให้รู้ให้ชัดว่ามันหิว แล้วทำให้มันหายหิวครับ มันง่วงให้รู้ให้ชัดว่ามันง่วง แล้วทำให้มันหายง่วงครับ หลักการง่ายๆของมันคือ........ “ ไปรู้มันให้ชัด แล้วทำให้มันหายชัด ”........
“สมุทัย”
อันนี้หมายถึง ทุกข์ทางใจครับ ทุกข์ทางใจคือ “ความคิด” ครับ ให้คุณพ่อ “ละ” ครับ เมื่อมันคิด จง “เข้าไปรู้ให้มันชัดว่า คิด” แล้ว “ละ” ครับ ละในที่นี้ไม่ได้แปลว่าไปทำให้มันหายไปนะครับ คือให้คุณพ่อรู้ว่า คิด แล้วไม่ต้องไปสนใจกับความคิดนั้น เรียกว่าทิ้งครับ ถ้าทิ้งไม่ได้เพราะสติยังอ่อนให้รู้เฉยๆว่าคิดครับ รู้อยู่บนความคิด อย่าเข้าไปในความคิด หลักง่ายๆของมันคือ............. “ ไปรู้ให้มันชัดว่าคิด แล้วละทิ้งทันที ” ............
“นิโรธ”
ทำให้แจ้ง หมายถึง ทำให้มัน “ชัด” ครับ เมื่อรู้ทุกข์หรือรู้สมุทัย ชัด นั่นคือ นิโรธเกิดแล้วครับ เมื่อรู้ชัดถึงทุกข์ให้ทำให้หายชัด เมื่อรู้ัชัดถึงสมุทัยให้ละครับ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า นิโรธ ครับ
“มรรค”
เมื่อ นิโรธเกิดบ่อยๆเรียกว่ามรรคครับ
สภาวะของผมที่เกิดขึ้นจริง เกิดขึ้นแบบรวมกันทั้งหมดครับ แต่ผมจำเป็นต้องแยกออกมาให้คุณพ่อเข้าใจโดยใช้หลัก อริยสัจ เข้าอธิบาย
เมื่อ นิโรธเกิดขึ้นบ่อยๆ ผลที่ตามมาคือ การรู้เท่าทันต่อตัวเองในทุกการเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกครับ
เมื่อรู้เท่าทันอยู่เสมอ คุณพ่อจะเห็นชัดๆเลยครับว่า ความรู้สึกแต่ละแบบที่เกิดขึ้นต่อชีวิตคุณพ่อนั้นเป็นอย่างไร
เมื่อเห็นจนชำนาญแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “โทสะ โมหะ โลภะ” จะหลุดออกก่อนเลยครับ มันหลุดจางคลายไปเอง 3 สิ่งนี้ คือ ความรู้สึกที่ “แรง” ครับ มันมีอำนาจในการเปลี่ยนจิตใจชั่วขณะ หรือบงการให้ทำบางอย่างผ่านสิ่งที่เราเรียกกันว่า อารมณ์ ครับ ที่มันหลุดหรือจางคลายไปเองนั่นเป็นเพราะว่า กระบวนการทางธรรมชาติของชีวิตครับ เหมือนกับเมื่อคุณพ่อนั่งอยู่แล้วขามันเกร็ง ในขณะที่มันเกร็งคุณพ่อจะไม่รู้ใช่ไหมครับ และในวินาทีที่คุณพ่อเข้าไปรู้ว่ามันเกร็ง ขามันจะคลายตัวออกเองโดยธรรมชาติ นี่คือตัวอย่างง่ายๆครับ กลไกตัวนี้มีอยู่แล้วในคนทุกคน
โทสะ โมหะ โลภะ นี่หมายถึง ความพอใจหรือไม่พอใจ ลังเล งงงง ชอบหรือไม่ชอบ คืออารมณ์ขั้นหยาบทุกอย่างนั่นแหละครับ เมื่อ 3 ตัวนี่หลุดออก “ศีลปรมัตถ์” จะปรากฏครับ
คือเมื่อ ศีลปรมัตถ์ ปรากฏแล้ว อาการ “โกรธโลภหลง” เกิดขึ้นครั้งต่อมา ชีวิตมันจะไม่ไปด้วยครับ คืออาการนั้นๆเกิด แต่จิตไม่ไหลตามครับ มันทวนหรือมันต้านตัวเอง ซึ่งมันเกิดจากการที่คุณพ่อ “รู้สึกตัวอยู่เสมอ” นั่นเองครับ อย่างที่เขียนไว้ด้านบน มันเป็นความรู้สึกที่แรง เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วคุณพ่อ เข้าไปรู้มัน มันจะคลายออกครับ ซึ่งคุณพ่อไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ไปรู้มันให้ชัดเท่านั้นครับ มันจะค่อยๆหมดอานุภาพลงเรื่อยๆครับ
อย่าพยายามไปปราบมันหรือเอาชนะมันนะครับ ผมเคยพลาดมาแล้ว นั่นเป็นวิธีที่โง่เง่ามากสำหรับผมในตอนนี้ จงยอมรับมันครับ และหยุดการเข้ากระทำทั้งปวง และ รู้มัน เพียงเท่านั้นเองครับ มันง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ มันพลิกมุมกันนิดเดียวเอง เพียงแต่ผมไม่เข้าใจมันในตอนแรกครับ
ผมเขียนมาหานี้เพราะจากการคุยกันทางโทรศัพท์ครั้งที่แล้ว แม้ว่าจะกินเวลาไม่กี่นาที แต่มันทำให้ผมทราบว่า คุณพ่อยังไม่รู้ทิศทางใช่ไหมครับ มันเป็นเรื่องปกติของคนครับเมื่อไหร่ที่คนเราปฏิบัตแล้วไม่เห็นผล คนคนนั้นจะเริ่มละเลย หรือโรยราต่อการปฏิบัต
การที่ใครซักคนปฏิบัตแล้วไม่เห็นผลนั้น มีเพียงสองสาเหตุครับ
หนึ่ง ทำไม่ถูกวิธี
สอง ทำไม่ต่อเนื่อง
เพราะฉะนั้นคุณพ่ออย่าไปโทษบารมี บุญญาธิการนะครับ ตัวผมเองมาถึงจุดนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่จุดสูงสุด แต่อยู่ในระดับที่สามารถคุ้มตัวคุ้มครองตัวเองได้แล้วครับ และสิ่งนี้เกิดมาได้จากขาทั้งสองข้างของผม ที่เดินแล้วเดินอีก แขนทั้งสองข้างที่ยกแล้วยกอีก หัวใจของผมที่ไม่ยอมแพ้ต่อสภาวะบาดเจ็บต่างๆทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ชีวิตของผมที่ผ่านมายาล่อหลอกต่างๆ ผมทิ้งมันแทบจะทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่มีใครทำให้ผมครับ ไม่มีพระเจ้าที่ไหนบันดาลสภาวะนี้ให้ผม ไม่มีอรหันต์คนไหนมาเข้าฝันชี้ทางไปให้ผม เมื่อผมสับสนไร้หนทาง ไม่มีการภาวนาสวดมนต์อ้อนวอนขอความเห็นใจต่อรูปปั้นปางไหนทั้งนั้น ผมมาด้วยตัวผมเอง ผมเรียนรู้จากความผิดพลาดที่ผมมี ผมไม่ท้อถอยแม้บางทีหัวของผมขาของผมปวดจนแทบจะระเบิด เพราะยังไม่รู้ทิศทาง
ผมมิได้บอกคุณแม่ ว่าเทอมที่ผ่านมาผมดร็อปเรียนสถาปัตย์นะครับ ผมลงเรียนแค่วิชาที่ทำให้ผมต่อวีซ่าโดยที่ผมจะไม่มีปัญหาเท่านั้น เพราะผมต้องการเวลาเพื่อปฏิบัตทั้งวัน นี่คือความมั่นใจมุ่งมั่นของผม หลังจากที่ผมเข้าถึงสิ่งที่เรียกตามตำราว่า สกิทาคามี ผมก็สำนึกแล้วครับว่า นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของผม ที่ต้องทำให้เกิดขึ้นก่อนเหนือสิ่งอื่นใด
สำหรับผมไม่มีศาสตร์ไหนในโลกนี้ ที่มนุษย์ค้นพบแล้วที่ผมรู้จักแล้ว จะมีค่าต่อชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเท่ากับ ศาสตร์ที่เราเรียกกันว่า “ธรรม” ค่าของมันเทียบกันไม่ได้เลยครับ ศาสตร์ของสถาปัตยกรรมสำหรับผมกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ซึ่งตรงกับคำพูดของคนคนหนึ่งที่เคยสอนผมด้วยชีวิตของเค้า
และจดหมายฉบับนี้ผมจะสอนคุณพ่อ ผมจะถ่ายเทคนิคให้คุณพ่อได้รู้ว่า คุณพ่อจะต้องทำอย่างไรต่อชีวิตในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เป็นทุกข์ คุณพ่ออาจจะมองว่าลูกคนดีมันอวดดีจริงๆ ริอาจจะมาสอนพ่อ ขอให้คุณพ่อเข้าใจไว้อย่างนึงนะครับ ความรู้ที่คุณพ่อมีเป็นความรู้แบบผู้ใหญ่ ที่ผ่านโลกผ่านประสบการณ์โชกโชนในชีวิต เมื่อเจอปัญหามันจึงนิ่ง และปลงได้ง่าย แต่ความรู้ที่ผมจะถ่ายทอดให้คุณพ่อนี้ คือเรื่องของ “เทคนิค” ล้วนๆ เมื่อคุณพ่อเอามันไปใช้ จะใช้ได้ทันทีโดยไม่ขึ้นกับอายุ และถ้าคุณพ่อลองแล้วใช้แล้วไม่เกิดผล คุณพ่อแก้ความทุกข์ที่เกิดกับคุณพ่อไม่ได้ ถ้านรกขุมที่ลึกที่สุดมีจริง ผมยินดีไปนั่งทำหน้าโง่ที่นั่น เพราะโกหกบุพการี และโปรดมั่นใจเลยครับว่าคุณพ่อไม่ใช่หนูลองยาของผม หนูลองยาตัวแรกของผมตอนนี้อยู่ที่โสดาบันครับ
และจดหมายนี้จะบรรจุด้วยความรู้หลายตอน ต่อเทคนิคหลายแบบ เพื่อใช้จัดการกับทุกข์ที่ต่างๆกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมผมต้องส่งมาในรูปของจดหมายให้คุณพ่อได้อ่านย้อนไปย้อนมาได้
ผมจะเริ่มด้วยหลักธรรมที่คุณพ่อคุณเคยนะครับ
“อริยสัจ”
ทุกข์ กำหนดรู้
สมุทัย ต้องละ
นิโรธ ทำให้แจ้ง
มรรค ต้องเจริญ
“ทุกข์”
อันนี้หมายถึง “ทุกข์ทางกาย” ครับ กำหนดรู้กำนดอย่างไร คือให้คุณพ่อ “เข้าไปรู้ครับ” เข้าไปรู้เพื่ออะไร เพื่อทำให้มัน “ชัด” ครับ เช่นมันคันให้รู้ให้ชัดว่ามันคัน แล้วก็ทำให้หายคันครับ มันหิวให้รู้ให้ชัดว่ามันหิว แล้วทำให้มันหายหิวครับ มันง่วงให้รู้ให้ชัดว่ามันง่วง แล้วทำให้มันหายง่วงครับ หลักการง่ายๆของมันคือ........ “ ไปรู้มันให้ชัด แล้วทำให้มันหายชัด ”........
“สมุทัย”
อันนี้หมายถึง ทุกข์ทางใจครับ ทุกข์ทางใจคือ “ความคิด” ครับ ให้คุณพ่อ “ละ” ครับ เมื่อมันคิด จง “เข้าไปรู้ให้มันชัดว่า คิด” แล้ว “ละ” ครับ ละในที่นี้ไม่ได้แปลว่าไปทำให้มันหายไปนะครับ คือให้คุณพ่อรู้ว่า คิด แล้วไม่ต้องไปสนใจกับความคิดนั้น เรียกว่าทิ้งครับ ถ้าทิ้งไม่ได้เพราะสติยังอ่อนให้รู้เฉยๆว่าคิดครับ รู้อยู่บนความคิด อย่าเข้าไปในความคิด หลักง่ายๆของมันคือ............. “ ไปรู้ให้มันชัดว่าคิด แล้วละทิ้งทันที ” ............
“นิโรธ”
ทำให้แจ้ง หมายถึง ทำให้มัน “ชัด” ครับ เมื่อรู้ทุกข์หรือรู้สมุทัย ชัด นั่นคือ นิโรธเกิดแล้วครับ เมื่อรู้ชัดถึงทุกข์ให้ทำให้หายชัด เมื่อรู้ัชัดถึงสมุทัยให้ละครับ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า นิโรธ ครับ
“มรรค”
เมื่อ นิโรธเกิดบ่อยๆเรียกว่ามรรคครับ
สภาวะของผมที่เกิดขึ้นจริง เกิดขึ้นแบบรวมกันทั้งหมดครับ แต่ผมจำเป็นต้องแยกออกมาให้คุณพ่อเข้าใจโดยใช้หลัก อริยสัจ เข้าอธิบาย
เมื่อ นิโรธเกิดขึ้นบ่อยๆ ผลที่ตามมาคือ การรู้เท่าทันต่อตัวเองในทุกการเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกครับ
เมื่อรู้เท่าทันอยู่เสมอ คุณพ่อจะเห็นชัดๆเลยครับว่า ความรู้สึกแต่ละแบบที่เกิดขึ้นต่อชีวิตคุณพ่อนั้นเป็นอย่างไร
เมื่อเห็นจนชำนาญแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “โทสะ โมหะ โลภะ” จะหลุดออกก่อนเลยครับ มันหลุดจางคลายไปเอง 3 สิ่งนี้ คือ ความรู้สึกที่ “แรง” ครับ มันมีอำนาจในการเปลี่ยนจิตใจชั่วขณะ หรือบงการให้ทำบางอย่างผ่านสิ่งที่เราเรียกกันว่า อารมณ์ ครับ ที่มันหลุดหรือจางคลายไปเองนั่นเป็นเพราะว่า กระบวนการทางธรรมชาติของชีวิตครับ เหมือนกับเมื่อคุณพ่อนั่งอยู่แล้วขามันเกร็ง ในขณะที่มันเกร็งคุณพ่อจะไม่รู้ใช่ไหมครับ และในวินาทีที่คุณพ่อเข้าไปรู้ว่ามันเกร็ง ขามันจะคลายตัวออกเองโดยธรรมชาติ นี่คือตัวอย่างง่ายๆครับ กลไกตัวนี้มีอยู่แล้วในคนทุกคน
โทสะ โมหะ โลภะ นี่หมายถึง ความพอใจหรือไม่พอใจ ลังเล งงงง ชอบหรือไม่ชอบ คืออารมณ์ขั้นหยาบทุกอย่างนั่นแหละครับ เมื่อ 3 ตัวนี่หลุดออก “ศีลปรมัตถ์” จะปรากฏครับ
คือเมื่อ ศีลปรมัตถ์ ปรากฏแล้ว อาการ “โกรธโลภหลง” เกิดขึ้นครั้งต่อมา ชีวิตมันจะไม่ไปด้วยครับ คืออาการนั้นๆเกิด แต่จิตไม่ไหลตามครับ มันทวนหรือมันต้านตัวเอง ซึ่งมันเกิดจากการที่คุณพ่อ “รู้สึกตัวอยู่เสมอ” นั่นเองครับ อย่างที่เขียนไว้ด้านบน มันเป็นความรู้สึกที่แรง เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วคุณพ่อ เข้าไปรู้มัน มันจะคลายออกครับ ซึ่งคุณพ่อไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ไปรู้มันให้ชัดเท่านั้นครับ มันจะค่อยๆหมดอานุภาพลงเรื่อยๆครับ
อย่าพยายามไปปราบมันหรือเอาชนะมันนะครับ ผมเคยพลาดมาแล้ว นั่นเป็นวิธีที่โง่เง่ามากสำหรับผมในตอนนี้ จงยอมรับมันครับ และหยุดการเข้ากระทำทั้งปวง และ รู้มัน เพียงเท่านั้นเองครับ มันง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ มันพลิกมุมกันนิดเดียวเอง เพียงแต่ผมไม่เข้าใจมันในตอนแรกครับ
a.. b.. and then.. c ที่จะเขียนต่อไปนี้อาจจะผิดนะครับ พี่อย่าเชื่อผม ผมเขียนจากมุมมองของผมเองนะครับ ผมสังเกตพี่เสมอ ผมเข้าใจว่า พี่เคยผ่านการฝึกแบบสมถะมาก่อน พี่จึงค่อนข้างใส่ใจสภาวะที่มันเกิดกับพี่ใช่ไหมครับ พี่พยายามหาคำตอบบางอย่าง ให้กับสิ่งที่เกิดกับพี่ใช่ไหมครับ อย่างที่พี่ถามผมว่า หรือเล่าให้ผมฟังว่า ลูกพี่ล้มลงมานอนทับ หรือ รู้สึกว่าความมีตัวตนมันได้หายไปชั่วขณะ หรือการที่พี่ตอบใครในกระทู้ก็ตามว่า ปฏิบัติไปซักระยะ เราจะรู้ขึ้นมาเองว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา ไม่มีอะไรที่เป็นเรา อะไรลักษณะนั้น สิ่งที่ผมเป็นไม่ใช่อย่างนั้นเลยครับ ผมเคยมีความเข้าใจอย่างพี่ แต่มาถึงจุดนึงมันไม่ใช่ครับ ความเข้าใจมันเปลี่ยนครับ เพราะมันได้เข้าไปรู้ความจริงในขั้นต่างๆ พี่อ่านดีดีนะครับ การที่เราฝึกความรู้สึกตัวนั้น ไม่ใช่ว่า เราฝึกเพื่อที่เราจะทำให้มันต่อเนื่องตลอดเวลานะครับ ความรู้สึกคนเรามันมีของมันต่อเนื่องตลอดเวลาอยู่แล้วครับ ถ้าไม่มีก็คือคนตาย ผมพูดแบบซัดเป้าหมายหลักเลยนะครับ เราฝึกความรู้สึกตัวเพื่อ ตามความคิดของเราให้ทัน เพราะความคิดมันเร็วมาก ไม่มีอะไรไปจับ ไปรู้ทันมันได้ นอกจากการมี ความรู้สึกตัวที่ไวมาก การรู้สึกตัวอันนี้ที่ผมเข้าใจ ไม่ใช่รู้สึกแขนขา โน่นไหวนี่ขยับจากร่างกายนะครับ มันถูกอยู่ครับ แต่พี่ควรปล่อยให้มันเป็นรอง การรู้สึกตัวเมื่อฝึกมากเข้ามากเข้า มันจะไปรู้สึกถึงการขยับของความคิดครับ การไหวของอารมณ์ภายใน สิ่งเหล่านี้ละเอียดกว่า การรู้สึกภายนอกมากครับ ทุกข์ ที่แก้ได้ มันเกิดตรงนี้ครับ มันไม่ได้ไปเกิดที่กาย มันเกิดที่ข้างใน จุดที่พี่ไม่เข้าใจอยู่ตรงนี้ครับ เมื่อเรารู้สึกตัวมากเข้ามากเข้า มันจะมาถึงทางแยกครับ คือ แยกไปอัดให้มีความรู้สึกมากขึ้นมากขึ้น กับแยกไปรู้สึกเฉยๆ ครับ ตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจครับ ผมจะอธิบายเท่าที่ทำได้นะครับ ระยะหลังนี้ผมพูดไม่ค่อยได้ คือความรู้มันไม่ประมวลเป็นคำพูดน่ะครับ มันหลอมเป็นความเข้าใจโดยไม่ต้องพูดครับ การแยกไปอัดให้รู้มากขึ้นมากขึ้นนั้น เพราะพี่ได้หลงลืมไปแล้ว ว่า อะไรคือทุกข์ มันเกิดจากการบังคับตัวเองให้ทำ คือเราอยู่ภายใต้ความคิดที่มันสั่งให้เรารู้สึกตัว ให้เราทำ ให้เราฝึก มันไม่เป็นธรรมชาติครับ และการรู้สึกมากขึ้นมากขึ้นแบบนั้นนั่นเอง มันจะมีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้นมาเอง ที่เกิดกับผมนะครับ ตัวจะเบา สมองจะว่างเปล่า โล่งๆ ลอยๆ จากนั้นความคิดจะเข้าเล่นงานทันที .. “อย่างนี้เอง ไม่มีตัวตน” มันก็ดีนะครับ แต่ผมกลับพบว่า มันมีเวลาจำกัด มันจะคงสภาวะอยู่ในช่วงเวลาใด ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ตามที่ผมเข้าใจ สภาวะอย่างนั้น ไม่มีประโยชน์บนพื้นฐานของการใช้ชีวิตตามความเป็นจริง คำว่า “ไม่มีตัวตน” ที่ผมเข้าใจ ไม่ใช่การพูดออกมาจาก สภาวะทางร่างกายที่ไร้ตัวตน แต่เป็นการพูดเปรียบเทียบเชิงอุปมา กับสภาวะที่เราไม่ได้ไปอยู่กับความไม่รู้อีกแล้ว (may be I am wrong) “ตัวเราไม่มีอีกแล้ว” “หลุดจากอัตตา” สำหรับผมมันหมายถึง การไม่ขึ้นกับความคิดตัวเองอีกแล้ว สภาวะขาดไปแล้ว (condition, which follow any thought) ความคิดไม่มีบทบาทอะไรกับตัวเราอีกแล้ว or You don’t have something to glue. Or you don’t have any conditions to care. แต่ถ้าพี่เอาคำคำนี้ไปเปรียบเทียบกับ สภาวะที่เกิด พี่จะวนอยู่ในความไม่รู้ครับ ส่วนการแยกไปรู้สึกเฉยๆ นั้น มันมาจากการเข้าใจว่า ทุกข์คืออะไร และจะวางตัวกับมันเช่นไร มันเป็นการดูความคิด รู้สึกถึงการไหวแบบภายในล้วนๆ ครับ ไม่ได้มีสภาวะพิสดารอะไรให้ไปเปรียบเทียบกับอะไร มันเพียงรู้ทุกข์ ละทุกข์ มันเป็นขั้นตอนที่เกิดพร้อมกัน ที่มันเป็นอย่างนั้น เพราะ คนเรามันไม่เข้าใจครับ มันไม่รู้ทิศทาง มันใช้ความรู้สึกตัวไม่เป็น มันรู้แต่ว่า ต้องให้รู้สึก ให้รู้สึก ผมถึงบอกพี่อยู่เสมอว่า มันขึ้นอยู่กับว่า ความเข้าใจของพี่ต่อสิ่งที่เรียกว่า ทุกข์ อยู่ที่ระดับไหน พี่จำได้ไหมครับ พี่เคยถามผมว่า ผมเคยมีสภาวะอย่างนั้น อย่างนี้เกิดขึ้นกี่ครั้ง สำหรับพี่ 2 ครั้ง สำหรับผมมันเป็นคำถามที่ตลกมาก ผมไม่ทราบว่า มันเกิดกี่ครั้ง ผมไม่ได้สนใจ สภาวะที่เกิดกับผม มันเกิดบ่อยๆ เกิดอยู่เสมอ และมันไม่ได้พิสดารอะไร ที่ต้องไปจดจำว่า มันเกิดมาแล้วกี่ครั้ง ผมไม่เคยนับเลย ในกรณีของพี่ หรือระยะของพี่ จิตมันกำลังสนใจเรื่องของสภาวะที่เกิด มันไม่เป็นอิสระต่อสภาวะที่เกิดครับ แต่พี่ครับผมอาจจะผิดก็ได้ ขอโทษนะครับที่ผมไม่ใช่อรหันต์ จะได้ชี้ผั๊วะๆ ไปเลยว่า นั่นผิด นี่ถูก Schoenen Tag noch จากคุณ : koknam - [ 9 ม.ค. 50 17:53:47 ] |
“รู้” ไม่ใช่ “ทำให้รู้”
“การทำให้รู้” คือขั้นตอนเริ่มแรกที่สุดของระยะหัดเดิน ถ้าท่านยังไม่เข้าใจว่า อะไรคือ “รู้” แล้วท่านเป็นคนหนึ่งที่สนใจจะฝึกฝน คนส่วนใหญ่โดยมากจะสอนให้ท่าน จับเอาอะไรบางอย่างมาเป็นฐานของการระลึกรู้ ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกเรียกรวมๆ ว่า “ฝึกสติ”
โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าเข้าใจว่า ถ้าคนคนนั้นเป็นคนที่รู้จัก “พลิก” มันเป็นการเริ่มต้นที่ไม่เลวนัก แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า คนส่วนใหญ่พลิกไม่เป็น เมื่อท่านถูกสอนให้จับเอาอะไรบางอย่างเป็นฐานของสติ ท่านก็จะจับมันอยู่นั่นล่ะ ท่านจะจี้เข้าจี้เข้า เน้นเข้าทะลวงเข้า โดยที่ท่านจะไม่รู้จักอย่างอื่นเลย ท่านจะรู้แต่เพียง สิ่งที่ท่านถูกสอนให้จับเท่านั้น และตามความเข้าใจของข้าพเจ้า ท่านกำลังยืนอยู่ที่ปากทางของ “สมถะ” มันคือการ “ไปทำให้รู้ ในสิ่งที่มันเข้าใจเอาเองว่า นี่ล่ะถูก”
ชีวิตของท่าน ในขณะที่ท่านกำลังรู้ในสิ่งที่ท่านเข้าใจว่า “ใช่” นั้น จะไม่มีอะไรเลยเกิดขึ้นเลยนอกจากความสงบ และสภาวะพิสดารต่างๆ ทำไมมันถึงสงบ เพราะมันเป็นธรรมชาติของจิต ที่จับจ้องอยู่กับอะไรบางอย่างเป็นเวลานานนาน แต่.....
“ท่านกำลังรู้อย่างไม่รู้”
ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ฝึกด้วยวิธี “ทำให้รู้” ท่านคงตอบตัวเองได้อย่างตรงไปตรงมา ว่า โทสะ โมหะ โลภะ ของท่านมันจืดลงไปหรือไม่ ในเหตุการณ์อย่างเดียวกันท่านต้องใช้กำลังอย่างมากเพื่อสะกดมันไว้ หรือว่า มันอ่อนแรงโดยตัวของมันเอง มันไม่เกิดขึ้นมาเอง หรือท่านกำลังหลอกตัวเองและคนอื่นว่า มันไม่เกิด
และนี่คือต้นเหตุ ที่ท่านไม่เข้าใจว่า ทำไมท่านถึงสะดุ้ง ใจสั่น เพราะว่าสภาวะตามธรรมชาติของการ “ทำให้รู้” ของมนุษย์ ยังอยู่ในกฎไตรลักษณ์ ท่านไม่มีทางจะ “จับ” อะไรให้รู้ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีอะไรที่มีกำลังแรงกว่ากำลังของการเข้าจับที่ท่านมีอยู่ สภาวะจิตจะสะบัดตัวออก ซึ่งท่านเรียกมันว่า “สะดุ้ง”
และนี่คือข้อเสียของลักษณะของสมถะ ที่ข้าพเจ้าได้ประสบรู้มาจากตัวเอง สภาวะอย่างนั้นเป็นสภาวะ ที่คนส่วนใหญ่พยายามจะตะกายมาให้ถึงด้วยซ้ำ โดยที่ไม่ได้รู้เลยว่า มันไม่ได้มีอะไรวิเศษเลย นอกจากความสงบในระยะเวลาช่วงหนึ่ง มันจะดิ่งสงบมากขึ้นมากขึ้น แต่ไม่มีทางสงบได้ตลอดชีวิต เพราะท่านเป็นสิ่งมีชีวิต
และมันจะต้องใช้กำลังอย่างมาก ที่จิตจะตะกายเข้าไปรู้สภาวะอย่างนั้น ซึ่งมันต่างกันอย่างมากกับการให้ตัวรู้ที่มีอยู่แล้ว ในสิ่งมีชีวิตทุกสิ่ง ได้แสดงตัวของมันออกมาชัดๆ ไม่ต้องทำตัวรู้ขึ้นมา สิ่งที่ท่านต้องทำคือ หมั่นฝึกให้รู้ ตัวที่รู้สึกขึ้นเองนี่อยู่เสมอ แล้วตัวรู้มันจะพัฒนาตัวขึ้นมาเอง
ส่วนการ “รู้” คือขั้นตอนที่พัฒนาตัว ต่อมาจากการทำให้รู้
รู้นี้ รู้อะไร มันคือการ “รู้” สิ่งที่ “ชีวิตมันรู้สึก” ไม่ต้องไปทำให้มันรู้ เพราะถ้าท่านเป็นสิ่งมีชีวิต ท่านจะรู้สึกอยู่แล้ว “ให้มันรู้ ให้ตัวรู้มันอยู่ที่นั้น ที่ที่มันรู้สึก”
ท่านต้องไปอยู่กับการรู้ที่ชีวิตมันมีอยู่แล้ว ..... ไม่ใช่ไปอยู่กับการรู้ที่ท่านสร้างขึ้นมา
การรู้ความรู้สึกนี้ ท่านไม่ต้องไปพยายามทำให้มันต่อเนื่อง เพราะมันต่อเนื่องของมันอยู่แล้ว ยิ่งท่านไปพยามจะรู้ ท่านจะไม่รู้ เพราะมันเป็นการรู้ในสิ่งที่ท่านสร้างขึ้นเอง ไม่ใช่รู้ในสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ ท่านแค่ต้องให้มันรู้ในสิ่งที่มันรู้สึกออกมาเอง ซึ่งสิ่งๆนี้จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่อยู่นิ่ง สลับไปๆมาๆอยู่เสมอ มันมีอะไรให้ท่านรู้ เป็นร้อยเป็นพันอย่าง ไม่ใช่รู้อยู่แค่อย่างเดียว อย่างที่ท่านส่วนใหญ่ยึดเอาลมหายใจมาใช้กำกับตัวเอง
ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ปัญญาเกิดแล้ว ท่านจะสามารถเข้าใจบทความนี้ได้ว่า เจ้าบ้านี่กำลังพูดอะไร มันเป็นอะไรที่ต่างกันมาก จะเรียกว่า คนละขั้นก็ได้ การรู้ในลักษณะที่รู้อยู่บนความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง อันเป็นลักษณะตามธรรมชาติของไตรลักษณ์นี่เอง ความสามารถในการรู้ของท่านจะเร็วมากมาก เพราะไตรลักษณ์มันเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว มันไม่ได้ชากระด้างอยู่แค่อะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
อะไรจะเกิดขึ้นก็ได้ ให้มันรู้เท่านั้น ไม่มีการเลือกรู้ ไม่มีจริต ไม่มีการบอกตัวเองว่า ชั้นเกิดราศีนี้ ชั้นถูกโฉลกกับการฝึกแบบนั้นแบบนี้ และด้วยการรู้แบบนี้นี่เอง สิ่งที่ท่านรู้ จะจบตัวเองลงไปโดยธรรมชาติ ไม่ใช่การพยายามกดข่มมันไว้ แต่มันเกิดไม่ได้ มันไปไม่ได้ เพราะเป็นกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ ที่มันเป็นอย่างนั้น
ยกตัวอย่างเช่น อาการสะดุ้ง เมื่อท่านเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกถึงทุกอาการที่เกิดอยู่อย่างเสมอ อาการสะดุ้งที่เกิด จะมาพร้อมกับการรู้เสมอ ให้ท่านเข้าไปรู้ เข้าไปเข้าใจอาการขณะที่ท่านไปรู้อาการสะดุ้ง ตรงนั้นนั่นล่ะ ท่านจะไม่สะดุ้งอีกเลย
จับจุดตายนี้ให้ดี
ท่านรู้อาการสะดุ้งได้ เพราะท่านมีชีวิตใช่หรือไม่ ให้ท่านไป “รู้” ตัวที่รู้อาการสะดุ้งนั่นล่ะ (จริงๆ แล้วมันเป็น รู้ ตัวเดียวกัน แต่ข้าพเจ้าอธิบายด้วยภาษาได้แค่นี้) แต่คนส่วนใหญ่ใช้การรู้ไม่เป็น มันช้าการรู้ไป 2-3 ก้าวแล้ว มันไปติดอยู่ที่อาการที่เกิด เพราะมันไม่ทันสภาวะที่รู้พร้อมอาการปรมัตถ์
จงรู้สภาวะปรมัตถ์แรกของมันให้ชัด ให้ชิน เมื่ออะไรก็ตามเกิดขึ้น แล้วมีตัวรู้ไปรู้อยู่ด้วย สิ่งนั้นจะจบตัวเองลงในทันที มันหยุดตัวเองโดยความเป็นธรรมชาติของมัน ไม่ใช่ว่าไปพยายามทำให้มันหยุด ถ้าท่าน “เป็น” ท่านไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น มันทำหน้าที่ของมันเอง
คนที่เข้าใจ ธรรม จึงเป็นคนที่รู้จักใช้หลักลักษณะตามธรรมชาติ ไม่ใช่ไปพยายามสร้างธรรมชาติขึ้นมา สิ่งที่ท่านสร้างขึ้นมาจะไม่มีวันเป็นธรรมชาติ
และขอโทษด้วยที่ท่านจะไม่มีวันเข้าใจบทความเฉกเช่นนี้ได้ ถ้าท่านยังไม่เป็น ก่อนที่ท่านจะเป็น ปัญญาจะต้องเกิดขึ้นกับท่านก่อน และปัญญาอันนี้ไม่ใช่เกิดแล้ว ท่านจะรู้ทุกขั้นทุกตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ท่านจะรู้ทีละเรื่อง ทีละอย่างซึ่งจะร้อยต่อเป็นเรื่องเดียวกันเอง และเมื่อปัญญาเกิดกับท่านมากเข้ามากเข้า ท่านจะไม่เชื่อถืออะไรทั้งนั้น แต่ไม่ใช่การปฏิเสธคอยขัดโน่นขวางนี่ไปเรื่อย หาเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง มันเป็นการไม่เชื่อในลักษณะของ การไม่ยึดถือไม่สนใจหรือเฉยๆ และนี่คือ หลักทั้งหมดของกาลามสูตร ที่ท่านทั้งหลายท่องกันได้ติดปาก แปลกันเอาเองตามชอบใจแต่ไม่เข้าใจและทำไม่ได้
ถ้าปัญญายังไม่เกิดกับท่าน ท่านก็จะเดาเอาส่งเดชว่า มันคงจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะความรู้มันท่วมหัว มีอะไรบ้าง ที่ท่านกล้าบอกตัวเองว่า ท่านรู้ขึ้นมาเอง โดยปราศจากอิทธิพลจากการอ้างอิงจากตำรา หรือคำพูดของคนอื่น เป็นการรู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง ใช้เองล้วนๆ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียกว่า ธรรม ถ้านั่นเป็นสิ่งที่ท่านรู้แจ้งขึ้นเอง ข้าพเจ้าเรียกสิ่งนั้นว่า “ปัญญา”
ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่ง ที่อ่านหนังสือออกมากกว่าหนึ่งภาษา แต่ข้าพเจ้าแทบจะไม่สนใจความรู้จากการอ่านและการฟัง ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้านี่มันอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ถึงได้ปฏิเสธการเรียนการสอน ธรรม จากตำรา ข้าพเจ้าพูดได้เลยว่า สำหรับข้าพเจ้าตำราไม่มีความหมายอะไรเลย เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการฝึกฝน ไม่มีประโยชน์ต่อการชี้แนวทางใดๆ นอกจากจะทำให้หลงผิดมากขึ้นๆ แต่มันไม่ใช่ความผิดของตำรา แต่เป็นเพราะท่านใช้ความคิดของท่านเข้าถอดรหัสมันต่างหาก เมื่อท่านเป็น ท่านก็จะเข้าใจว่า อะไรกันแน่คือสิ่งที่ตำราพยายามจะบอก และเมื่อท่านเข้าใจ ท่านก็จะไม่สนใจมันอยู่ดี เพราะมันกระด้างเหลือเกิน
ถ้าปัญญาเกิดกับท่านแล้ว ท่านจะเป็นคนหนึ่งที่ “ตอบได้” ว่า “ทำไม” และ “อย่างไร” ไม่ใช่เป็นการตอบได้เพราะไปท่องพระสูตรมา หรือ ไปลอกคำพูดใครมา แต่เป็นการตอบได้เพราะว่า ท่านผ่านมา หลุดมา
ข้าพเจ้าจะถามท่านเล่นๆก็ได้ ถ้าท่านมีปัญญาจะตอบได้นะว่า
“ทำไมต้องรู้ล้วนๆ ?”
“ทำไมต้องทิ้งสิ่งที่รู้ ?”
“ทำไม การรู้ ถึงเป็นหัวใจของการฝึกฝน ?”
สำหรับคนที่ “เอาจริง” และเป็น “คนจริง” ท่านจะสามารถค้นพบ “วิถีของท่าน” ด้วยตัวของท่านเอง จงยืนด้วยขาตัวเองบนทางของท่านเอง
สุดท้ายนี้ ถ้าท่านกำลังคิดจะตอบคำถามของข้าพเจ้าข้างบน ข้าพเจ้าเข้าใจเอาเองว่า ท่านเป็นคนหนึ่งที่ไม่รู้เรื่อง และอย่าไปพยายามแสดงภูมิของท่านออกมาเลย
สำหรับข้าพเจ้า ผู้ที่เข้าใจจะไม่พยายามหาคำตอบต่อคำถามข้างบนนั่นให้ตัวเอง มันรู้โดยที่ไม่ต้องตอบ “มันเป็นคำถามโง่ๆ ที่ไม่น่าถาม”
และมีแต่คนโง่อย่างข้าพเจ้าเท่านั้น ที่เที่ยวตอบคำถามโง่ๆ ให้กับคนอื่น
ขอวันนี้ของท่านสวยงามต่อไป
จากคุณ : koknam - [ 22 ม.ค. 50 16:31:10 ]
..................................
ถ้าท่านเป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าท่านจะขยับเขยื้อน ไม่ว่าท่านจะคิดอะไร ไม่ว่ากิเลสมันจะเกิดหรือไม่ ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นด้วยเสมอ มันเป็นธรรมชาติที่ท่านจะต้องมีความรู้สึกเพราะท่านมีชีวิต
มันง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ มันง่ายเกินไป แต่มันจะง่ายกับท่านต่อเมื่อ ท่าน “ข้ามความคิด” ของท่านได้ เพราะสิ่งที่ท่านคิด จะบดบังความรู้สึกลักษณะนี้ของท่านเอาไว้ เมื่อท่านข้ามไม่พ้นความคิดของท่านขณะไหนเวลาใด ท่านจะถูกความคิดของท่าน ลากไปตามสิ่งที่มันคิด และลากไปตามเรื่องตามอารมณ์ของมัน และเมื่อนั้นท่านจะล่วงลงสู่ความไม่รู้
ท่านไม่จำเป็นต้องไปสร้างตัวรู้ขึ้นมา แต่ให้เข้าไปรู้ สิ่งที่ชีวิตมันรู้สึกของมันเอง
ให้ท่านฝึกโดยการ “เข้าไปรู้” ความรู้สึกที่เกิดเองอันนี้ จงวิ่งไปรู้ ตัวรู้สึกตัวแรก ที่มันเกิดพร้อมสภาวะใดใดก็ตาม ฝึกรู้อย่างนั้น แล้วท่านจะเข้าใจเองว่า อะไรคือความหมายของ “การจบตัวเอง” หรือ “มันไปไม่ได้”
จากคุณ : koknam - [ 23 ม.ค. 50 00:28:29 ]
เรามักพูดว่า เราโชคดีที่มีพ่ออยู่หัวที่แสนประเสริฐ แต่เป็นความซวยของท่านที่ได้เหล่าประชาชนที่ตีกันเองอย่างนี้ พวกท่านไม่รู้สึกอะไรเลยจริงๆหรือ หรือว่าจิตสำนึกเกิดแว็บๆเวลาดูโฆษณา แล้วก็ลืมเลือนไป
สีขาวเป็นแถบหนึ่งของธงไตรรงค์ ถ้าข้าพเจ้าจำไม่ผิดมันหมายถึงศาสนามิใช่หรือ แต่รากฐานทางความเข้าใจของคนไทยส่วนใหญ่ต่อศาสนา กลับมิได้แสดงออกถึงความเป็นหนึ่งในสามสีนั้นเลย ขนาดคนที่ทำตัวเป็นผู้ศึกษาศาสนา ที่วนเวียนไปมาหาสู่ที่นี่ ยังมีจิตใจที่ระดับตรงนี้ คงไม่ต้องพูดถึงการถ่ายทอดสู่ เน็กเจเนอเรชั่น เลย ใครจะไปอยากเอาอย่างกัน ยิ่งศึกษาจิตใจยิ่งหันกลับ จะทำบุญสร้างวัดให้รกแผ่นดินอีกหรือ ในเมื่อมีแต่จำนวน แต่การสอนวิธียกระดับจิตใจไม่ได้ทวีตามจำนวนวัดด้วย ตัวเองยังยกระดับจิตใจตัวเองไม่ได้ จะเอาอะไรไปสอนคนอื่นได้ เมื่อมีคำสอนใดที่ดูเหมือนจะเข้าท่า เราก็พึงพอใจที่ได้ฟัง สุดท้ายเราก็ลืมและมิได้นำไปใช้
ถ้าท่านต้องการเป็นครูของคนบนถนนสายนี้ สิ่งที่ท่านจะต้องแสดงให้เห็นคือ สภาวะจิตของท่านที่เข้าทะลวงจิตใจตัวเองก่อน มิใช้คำพูดคำคมไร้น้ำหนักที่เข้าทะลวงใจคนอื่น
ถ้าธรรมเป็นการถ่ายทอดโดยตรงจากใจสู่ใจ ตามที่เซนว่าไว้ คงไม่ผิดเพี้ยนเลย ใจที่หยาบได้ถ่ายทอดสู่ใจที่หยาบให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ณ ที่นี่อย่างชัดเจน คนที่แสดงตัวเหมือนจะเป็นผู้รู้ ไม่ได้แสดงออกให้เห็นเลยว่า ใจของเค้านั้นเข้าถึงความรู้ของเค้านั้นด้วย
ท่านอาจต่อต้านลัทธิต่างๆ ที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้อง และทำทุกอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ท่านคิดนั้นถูก ผลสุดท้ายท่านอาจเป็นผู้ชนะ หรือไม่ก็อาจบาดเจ็บทั้งคู่ แต่ท่านได้หลงลืมไปแล้วว่า ผู้ที่มีใจสูงนั้น เป็นผู้ที่ข้ามพ้นความถูกผิด ดีชั่ว มิใช่หรือ
ปัญหาง่ายๆของท่านก็คือ ท่านแบกรับภาระใหญ่หลวงนัก เป็นภาระที่ท่านสร้างขึ้นเอง กำลังขาของท่านต้องแบกรับสิ่งที่ไม่มีตัวตนมานานแค่ไหนแล้ว ถ้าท่านยังไม่สามารถบังคับใจตนได้ในทุกทุกเรื่อง ท่านจะเอาอะไรไปบังคับใจคนอื่น ถุงบ้าๆหนักอึ้งนี่ไม่มีทางลงจากหลังท่านได้ ถ้าท่านไม่วางมันลงด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าได้รู้จักคนหลายคนจากที่นี่ ซึ่งนับว่าไม่เลวนัก จงสังเกตตัวท่านและมิตรของท่านให้ดี มิตรของท่านมีจิตใจที่ระดับใด มันมีแนวโน้นที่เป็นไปได้มากว่า ท่านจะมีจิตใจที่ระดับเดียวกันนั้น คุณลักษณะอย่างหนึ่งของมนุษย์ คือ มันจะดึงดูดสิ่งที่คล้ายกันเข้ามา
ถ้าท่านไม่หวนลงมองจิตใจของท่านเองโดยเร็ว แล้วทวนกระแสทุกสิ่งที่เป็นท่านทั้งหมด ห้องศาสนานี้คงพินาศก่อน ทุกวันนี้มันก็พินาศอยู่แล้ว เพียงแต่ท่านมองไม่ออกเอง ตามด้วยการล่มสลายของแผ่นดินที่ท่านอาศัย ยืน เดิน นั่ง นอน
ข้าพเจ้าไม่อาจจิตนาการได้เลยว่า มันต้องใช้ความกล้าหาญมากสักแค่ไหนนะ ที่ใครซักคนจะก้าวออกมายอมรับการกระทำของตัวเอง แล้วบอกว่าสิ่งที่ผมทำมาตลอดนั้นผิดพลาดไปแล้ว ผมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถ้าท่านขึ้นมาเหยียบบันไดขั้นนี้ได้ จะมีบันไดขั้นไหนที่ท่านก้าวข้ามไม่ได้อีก
วันนี้จะสวยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับท่านเอง
จากคุณ : koknam - [ 6 พ.ย. 50 21:38:41 ]
เครื่องเนิ่นช้า
ก่อนที่ท่านจะอ่าน ข้าพเจ้าขอถามคำถามท่านได้ไหม ขอให้ท่านตอบต่อตัวท่านเอง ก่อนที่ท่านจะอ่านต่อไป (บุคคลที่เป็นโสดาบันขอให้ข้ามไป)
คำถามคือ.....
ในฐานะที่ท่านปฏิบัตมาอย่างยาวนานเป็นสิบๆปี หรือบุคคลใดที่มากกว่า 7 ปี เหตุใดท่านจึงไม่สามารถเข้าใจธรรม แม้แต่ในระดับที่เรียกกันว่าโสดาบันได้ ทั้งที่ในตำราที่เชื่อกันหนักหนา ก็เขียนยืนยันไว้ชัดเจนว่า ถ้าปฏิบัตตามแนวทางสติปัฐฐาน4 อย่างถูกต้องและต่อกันเหมือนลูกโซ่ ภายใน 7 ปี จะมีอานิสงค์ 2 ประการ
1.คือเป็นอรหันต์ในชาตินี้
2.ถ้าพลาดจากอรหันต์ จะต้องเป็นอนาคามี แน่นอนที่สุด (ถ้าไม่ตายซะก่อน)
เหตุใดเวลานับหลายสิบปีที่ผ่านมา ท่านทุ่มเทกับมัน ท่านจึงยังไม่ถึงที่สุดของทุกข์ ท่านเคยมองหาจุดอ่อนตรงนี้ไหม ข้าพเจ้าขอร้องท่านจากหัวใจ ว่าอย่าพึ่งอ่านต่อไป ให้ท่านลองนึกตรึกตรองซัก 5 นาที
1
2
3
4
5
ต่อจากนี้ เป็นเพียงทัศนะของข้าพเจ้าเท่านั้น อย่าได้เชื่อหากท่านยังมิได้พิสูจน์
ประการที่ 1
“ รู้ผิดปฏิบัตผิด”
ท่านเข้าใจความหมายของมันใช่ไหม ประโยคสั้นๆ แต่มันคงแทงใจท่านอย่างร้ายกาจ
ท่านจะรู้ว่าที่ผ่านมามันผิดต่อเมื่อ ท่านมีการประจักษ์แจ้งถึงสิ่งที่ถูก และมองย้อนไปถึงอดีตเอาเอง เท่านั้น มิใช่ให้ใครมาบอกมาสอน ซึ่งท่านคงประสบตรงนี้แล้ว
นี่คือเหตุผลว่าทำไม โกฑัญญะ จึง เป็นโสดาบันทันที ในขณะที่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือทำไมเซนถึงนิยมสอนคนด้วยการใช้โกอาน
ประการที่ 2
“เข้ากระทำ”
สิ่งนั้นเป็นอยู่อย่างนั้น ท่านมีมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว นับตั้งแต่ที่ท่านอุบัตขึ้นมา การที่ท่านเข้ากระทำเป็นการไปบังสิ่งนั้นเอาไว้ และวิธีเปิดมันออกนั้น ไม่ใช่ไปทำอะไรขึ้นมา แต่มันคือ การ “หยุด” ต่างหาก หยุดจากการกระทำทั้งปวง หยุดแสวงหา หยุดพยายาม ให้สิ่งนั้นแสดงอานุภาพตามธรรมชาติที่เป็น
ท่านรู้ไหม ทำไมพระพุทธเจ้าจึงพูดกับองคุลีมาลว่า “เราหยุดแล้ว”
ประโยคนี้ลึกมาก ระดับสกิทาคามีขึ้นไป ฟังแล้วจะเข้าใจว่าหมายถึงอะไร (เข้าใจด้วยชีวิต มิใช่คิดตามคำพูดเอาแล้วเข้าใจ)
ประการที่ 3 สำคัญที่สุด
“เข้าไปในความคิด ทำตาม สิ่งที่เดา สิ่งที่คิด สิ่งที่เชื่อ”
วนเวียนอยู่กับสิ่งที่รู้ ติดอารมณ์ ติดประสบการณ์ ที่จบไปแล้ว ได้แล้วจะเอาอีก พยายามยื้อสภาวะนั้นๆไว้นานๆ นี่คือสิ่งที่บังหรือกั้นไว้ คนที่มีปัญหาขัดแย้งกันส่วนใหญ่ทั้งกับตัวเองและกับคนอื่น ติดอยู่ที่ตรงนี้
ทีนี้เราจะเข้าไปดูตัวอย่างให้เห็นกันจะจะไปเลย ซึ่งข้าพเจ้าขออนุญาตใช้เรื่องของท่าน ชี้ให้ท่านเห็นบางอย่าง
ท่านดูความคิด ท่านเห็นความคิด อยู่เสมอ ท่านพยายามศึกษามัน ท่านเริ่มนับว่าในหนึ่งนาที ท่านคิดกี่ครั้ง การคิดของท่านหนึ่งครั้งนั้นกินเวลาเป็นกี่วินาที ท่านเริ่มสงสัยคนอื่น ยกตัวอย่างเช่นว่า (only for example) หมอนั้นจะเร็วกว่านี้ไหมนะ หรือในหนึ่งนาทีหมอนั้นจะมีความคิดเกิดกี่ครั้งกันนะ หมอนั้นตัดความคิดได้เร็วแค่ไหนนะ
ท่านเห็นหรือไม่ ความคิดที่ท่านดูในตอนแรก มันครอบท่านไว้ตั้งแต่ที่ท่านเริ่มนับแล้ว ทีนี้มันจะเริ่มปรุง ท่านจะเริ่มหาคำตอบให้ตัวเองอย่างไม่รู้ทิศทาง คือมันเป็นทิศทางที่ความคิดมันนำไป
“กระบวนการดูความคิดที่เราฝึกกันนั้น เราผึกเพื่อที่เราจะไม่ถูกความคิดมันปรุง หรือลากไป ยิ่งรู้ได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ต้องเป็นธรรมชาติ มิใช่เพ่งเพื่อให้รู้ได้เร็วนะท่าน”
ที่นี้มาดูขั้นหนักกว่านั้น
ท่านดูความคิดอยู่ ความคิดในวัยเด็กที่เลือนลางไปนานแสนนานมากแล้วโผล่ออกมา ท่านเริ่มจินตนาการ ถึงอานุภาพของการดูความคิด ว่า อ๋อ ด้วยเหตุอย่างนี้เอง คนจึงระลึกชาติได้
ท่านก็พลาดอีกแล้ว ตั้งแต่ที่ท่านไปรู้ว่า ท่านกำลังรู้อะไร ท่านกำลังไปรู้ว่า มันเป็นความคิดเรื่องในวัยเด็ก
ที่นี้สมองของท่านจะทำงานทันที มันจะเริ่มคิดให้ตัวมันเอง “ลืมไปนานแล้วเรื่องนี้” “เรื่องสืบเนื่องที่1 ” “เรื่องสืบเนื่องที่2” และมาจบตรงที่ “ อ๋อ คนระลึกชาติได้เพราะอย่างนี้นี่เอง”
ทีนี้มาเข้าทฤษฏีกันซักนิด
มี อวิชชา จึงมี สังขาร .......................................เมื่อท่านรู้ไม่ทันความคิด ท่านก็ปรุง
มี สังขาร จึงมี วิญญาณ ....................................เมื่อท่านปรุง มันก็เกิดรู้เป็นเรื่องเป็นราว
.
.
.
.
มี ภพ จึงมี ชาติ ..........................................มันก็มาจบลงอย่างที่ท่านเข้าใจนั้นเอง
อธิบาย ปฏิจสมุปบาท แบบง่ายๆตามภาษาชาวบ้านก็คือ “เมื่อท่านเข้าไปในความคิด สิ่งต่างๆมันก็มี เมื่อท่านไม่เข้าไปในความคิด สิ่งต่างๆมันก็ไม่มี”
มันจึงเป็นที่มาของคำกล่าวว่า “ ธรรมทั้งหลายล้วนไม่มีตัวตน ”
ประเด็นด้านบนนั่นคือ จุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของความคิดของมนุษย์ ถ้าท่านเข้าใจเรื่องของความคิดอย่างแท้จริง ท่านจะพบว่า ท่านไม่สามารถคิดอะไรได้ ในสิ่งที่ท่านไม่รู้จัก แม้แต่นวัตกรรมที่มนุษย์ค้นพบใหม่ๆทุกวัน ก็เป็นการเทียบเคียงของความคิด เป็นการผสมผสานสิ่งที่เคยพบเคยเห็นเข้าด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ เป็นสิ่งใหม่ แต่มนุษย์ไม่สามารถคิดอะไร ที่ไม่มีอยู่ในระบบสมองได้
นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมบางคนเข้าใจ และบางคนไม่เข้าใจ และนี่เป็นเพียงเรื่องของคนธรรมดาสามัญ
คราวนี้มาดูเรื่องของคนไม่ธรรมดาสามัญกันบ้าง
ท่านรู้จักใครซักคนใกล้ตัวท่านไหม ที่เค้ามีความเป็นอัจฉริยะเหนือคนทั่วไป ถ้าท่านขอให้เค้าอธิบายสิ่งที่เค้ารู้ ท่านจะพบว่า เค้าอธิบายไม่ค่อยจะได้ด้วยคำพูด แต่เค้าจะแสดงให้ท่านเห็นได้ นั่นเป็นเพราะคนเหล่านั้น ไม่ได้รู้สิ่งเหล่านั้นด้วยสมอง แต่รู้ด้วยความรู้สึก และมันมีบางอย่างจากภายในที่ผลักดันให้เชื่อในสิ่งเหล่านั้น คนพวกนั้นจึงมีพลังงานเหลือเฟือในการสานต่อ และไม่สนใจต่อเสียงต่อต้านรอบข้าง
คนพวกนี้เข้าไปรู้บางอย่างด้วยญาณ แล้วจึงใช้สมองช่วยแปล เฉลยมันออกมาในรูปของความคิด และออกมาเป็นภาษาในที่สุด ท่านจะสังเกตว่า ถ้าท่านเป็นคนไทย ท่านจะไม่สามารถคิดเป็นภาษาเอสกิโมได้เลย เพราะมันไม่มีในระบบสมองของคนไทย(ส่วนใหญ่)
แต่ในระดับความรู้ของญาณ จะรู้เหมือนกัน เข้าใจเหมือนกัน เพราะมันพุ่งไปที่สภาวะที่เป็น ที่เข้าใจ แต่ถ่ายทอดออกมาไม่เหมือนกัน นั่นคือ ความหมายของคำพูดที่ว่า “ ธรรมแท้ จะรู้อย่างเดียวกัน ”
เมื่อท่านจะสอนใครเรื่องธรรม โดยใช้ภาษามันจึงยาก เพราะผู้เรียนยังไม่มีความรู้ที่เกิดจากญาณในระบบสมองของเค้า แม้ท่านจะใช้ภาษาได้เก่งกาจเพียงใด มันก็ไกลจากตัวสภาวะที่รู้ด้วยญาณนั้นมากแล้ว เพราะมันเป็นเพียงสมมต เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่รู้ด้วยญาณ
ท่านจะหลุดจากสมมตเหล่านี้ได้ ต่อเมื่อท่านประจักษ์แจ้ง ว่า สมมตในทางพุทธศาสนา คืออะไร
ข้าพเจ้าคงไม่บอกท่าน เพราะมันไม่มีประโยชน์ ที่ท่านจะไปรู้มันก่อน
เมื่อท่านถึงตรงนั้นเมื่อไหร่ ท่านคงรำพึงเบาๆว่า “เรื่องเท่านี้เอง ที่มันบังเอาไว้” และประตูของ
สกิทาคามีจะเริ่มเปิดแง้มจากที่ตรงนั้น
ขอวันนี้ของท่านสวยงามต่อไป
จากคุณ : koknam - [ 19 พ.ค. 49 15:58:01 ]